ครม.อนุมัติโครงการ 'ศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าเชียงของ' รูปแบบลงทุน PPP Net Cost

ครม.อนุมัติโครงการ 'ศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าเชียงของ' รูปแบบลงทุน PPP Net Cost

ครม.อนุมัติโครงการ 'ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ" จ.เชียงราย รูปแบบลงทุน PPP Net Cost ให้เอกชนร่วมลงทุน

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 20 เมษายน 2564 ว่า ครม.ได้เห็นชอบอนุมัติโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก ที่คณะกรรมการ PPP เสนอมา

ซึ่งเป็นโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์สำนักงาน และส่วนประกอบ และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ และรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา หรือ Operation และ Maintenance ทั้งหมด รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้กับภาครัฐ ตลอดระยะเวลา 15 ปี นับจากปีที่เปิดให้บริการ

โดยโครงการนี้ได้ดำเนินงานโครงการในกรอบวงเงินรวม สำหรับค่างานที่เกี่ยวข้องกับค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ระยะที่ 2 จำนวน 660.43 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายจริง ซึ่งกรอบวงเงินค่าตอบแทนในการใช้ประโยชน์ที่ดินในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก. ของโครงการ ก็มีจำนวน 34.22 ล้านบาท และเป็นเงินหลักประกันตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องอีก 2 แสนบาท

นอกเหนือจากนี้ในเรื่องของโครงการที่เป็นการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า หรือ Truck Terminal มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานีปรับเปลี่ยนการขนส่งระหว่างประเทศ ไปสู่ภายในประเทศ หรือเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่ระบบรางผ่านเส้นทางรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ รวมทั้งเป็นศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดยโครงการตั้งอยู่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ประชิดด่านพรมแดนเชียงของจังหวัดเชียงรายฝั่งเหนือ โดยมีเหนือที่รวมประมาณ 335 ไร่ 53.5 ตารางวา

ซึ่งการก่อสร้างโครงการนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ

1.ทางกรมขนส่งทางบกได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างื้นฐาน ระยะที่ 1 แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา และทางขนส่งทางบกจะเป็นผู้เปิดให้บริการและบริหารเองในเดือนพฤษภาคม 2564 ไปพลางๆ ก่อนในระยะเวลาดำเนินการที่ให้เอกชนเปิดให้บริการโครงการอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2565 

2.การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ระยะที่ 2 ที่คณะกรรมการ PPP เสนอมาในครั้งนี้ เป็นการก่อสร้างขยายให้ส่วนพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น อาคารเปลี่ยนถ่ายและบรรจุสินค้าและลายกองเก็บตู้สินค้า เป็นต้น เพื่อรองรับเส้นทางรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่จะกำหนดก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2568

ทั้งนี้ในส่วนของกรมการขนส่งทางบกได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าโครงการมีความคุ้มค่า ทั้งทางด้านการเงิน เฉพาะในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา และทางด้านเศรษฐศาสตร์