การเรียนรู้แห่งอนาคตตอบโจทย์โลกยุคใหม่ “Blended Learning” ยืดหยุ่นทันยุค อัพเดตทันโลก

การเรียนรู้แห่งอนาคตตอบโจทย์โลกยุคใหม่ “Blended Learning” ยืดหยุ่นทันยุค อัพเดตทันโลก

การเรียนรู้แห่งอนาคตตอบโจทย์โลกยุคใหม่ “Blended Learning” ยืดหยุ่นทันยุค อัพเดตทันโลก

         เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โลกการเรียนรู้และการทำงานย่อมเปลี่ยนไปในระดับความเร็วไม่ต่างกัน จะเห็นได้ว่าการทำงานยุคนี้หลายองค์กรปรับตัวมาใช้วิธีการทำงานแบบไฮบริดเวิร์กกิง คือ ส่วนไหนทำงานผ่านออนไลน์ได้ก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สำนักงาน  ตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลก็ใช้วิธีการทำงานรูปแบบใหม่นี้โดยกำหนดวันทำงาน 3 วันต่อสัปดาห์ที่สำนักงานอีก 2 วันทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนๆ ก็ได้

         ระบบการศึกษาและการเรียนในยุคใหม่นี้ก็เช่นกัน เราเรียกว่า Blended Learning ซึ่งสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย  มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ต่างมีการศึกษาวิจัย Blended Learning มาแล้วหลายปี นักวิชาการด้านการศึกษาต่างเชื่อมั่นว่า Blended Learning เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและสถานที่  เปิดกว้างในวิธีการเรียนรู้และการออกแบบกิจกรรมการเรียน ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าเรื่องของแหล่งข้อมูลเรียนรู้ได้หลากหลายทั่วโลก  ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

         แวดวงการศึกษาไทย มีการพูดถึง Blended Learning มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังถือเป็นแนวทางใหม่ที่สถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญและเริ่มศึกษา เนื่องจากการใช้ Blended Learning จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดของผู้สอน ต้องใช้เทคโนโลยีมาส่งเสริมการเรียนรู้  รวมถึงต้องมีการออกแบบเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนใหม่ทั้งหมดซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควรในการเปลี่ยนผ่านจากการเรียนการสอนแบบเดิมที่ผู้สอนเป็นแกนหลักและส่วนใหญ่ยังต้องเรียนในห้องเรียน

         อย่างไรก็ตาม มีโมเดลที่น่าสนใจของสถาบันการศึกษาไทยที่ก้าวล้ำนำเทรนด์อยู่เสมออย่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่มีการปรับหลักสูตรทุกคณะสาขาวิชามาใช้ Blended Learning โดยเริ่มพัฒนากระบวนการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบมาตลอดระยะเวลากว่าสามปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของวิธีการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้  มีการใช้เทคโนโลยีทันยุคสมัย และอัพเดตข้อมูลความรู้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

161881402915

          ผศ.สรรเสริญ  มิลินทสูต  รองอธิการบดีอาวุโสด้านวิชาการ  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ให้สัมภาษณ์ว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เตรียมความพร้อมและลงมือพัฒนา Blended Learning มาระยะหนึ่งแล้ว การปรับตัวต้องเกิดขึ้นทั้งผู้เรียน  ผู้สอน และสถาบันการศึกษา  ซึ่งต้องใช้ growth mindset ในการรับมืออย่างเข้าใจ รวดเร็วและทันโลก ดังจะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่เคยหยุดการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใหม่ในลักษณะการผสมผสานวิธีการ   มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้ทันสมัย  สร้างองค์ความรู้ในคณะวิชาใหม่  และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถกำหนดแผนการเรียนด้วยตัวเอง  เช่นการจัดการเรียนรู้ iFIT (Individual Future Innovative Learning of Thailand) ภายใต้การดูแลของคณาจารย์ที่เปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้ให้คำชี้แนะ    

161881403046

          การเรียนรู้ในรูปแบบ Blended Learning ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือที่เรียกกันว่า “BU Blended” เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความสนใจที่แตกต่างของผู้เรียน  โดยมีขอบข่ายที่เปิดกว้างกว่า Blended Learning ทั่วไป  เนื่องจากผสมผสานการเรียนรู้ทั้งออนไลน์และออนไซต์ ที่เน้นการเรียน Active Learning ด้วยกระบวนการต่างๆ ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning/ Case Study) การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-based Learning) การจัดการเรียนรู้แบบเน้นวิจัย (Research-based Learning) เป็นต้น

          มหาวิทยาลัยกรุงเทพมุ่งเน้นให้นักศึกษาสร้างประสบการณ์เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ใช้เทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์จริงที่มืออาชีพใช้กันในแวดวงธุรกิจมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ  พร้อมการอัพเดตข้อมูลความรู้ทันยุคเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ใหม่จากทั่วทุกมุมโลก  ความพิเศษของ “BU Blended”   จึงประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่

1) Online Lecture เรียนที่ไหนก็ได้  2) Online Tutorial จัดให้ทั้งกลุ่มย่อยและรายบุคคล 3) Home Studio ทุกที่เป็นห้องเรียน ห้องแล็บในมหาวิทยาลัยยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้  แต่เมื่อเพิ่มเติม Home Studio โดยเชื่อมต่อเทคโนโลยี open platform จากมหาวิทยาลัย จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัวมากขึ้นมาใช้ในการทำโปรเจ็คไม่ว่าจะเป็นการจัดนิทรรศการด้านทัศนศิลป์  จัดแสดงโครงการศิลปะการแสดง  ถ่ายทำภาพยนตร์ ฯลฯ  4) Onsite Experience มีการเรียนที่แคมปัสและเพิ่มประสบการณ์นอกแคมปัส เช่น การทำงานร่วมกับบริษัทและองค์กรที่เป็นพันธมิตร หรือแม้แต่สถานที่ใดก็ตามที่ผู้เรียนและผู้สอนเห็นตรงกันว่าเหมาะสำหรับการเข้าไปหาประสบการณ์  5) Masterclass เพราะระยะทางในโลกถูกเชื่อมโยงด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสามารถสรรหาผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาเป็น Guess Speaker โดยอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่เป็นเมนเทอร์ร่วมกับมาสเตอร์ เปิดโลกการเรียนรู้ในมุมมองที่เปิดกว้างและเป็นสากล 

161881442390

          Blended learning จึงไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้ที่ตอบสนองความสนใจของผู้เรียนแต่ยังเป็นการเรียนรู้ที่ตอบรับรูปแบบของอาชีพในอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จึงมีการนำลักษณะงานอาชีพมาเป็นโจทย์สำคัญเพื่อออกแบบวิธีการเรียนรู้ ด้วยแนวคิดเช่นนี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปิดโอกาสให้ทุกคณะสาขาวิชาสามารถออกแบบเนื้อหาและวิธีการเรียนได้อย่างอิสระโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดชุดโมดูลรายวิชาภายในคณะและรายวิชาข้ามคณะเพื่อเสริมทักษะในการทำงานให้ผู้เรียน  ทั้งยังผสมผสานการเรียน onsite ซึ่งทุกที่ใช้เป็นที่เรียนได้ และการเรียน online ที่มีหลายรูปแบบช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างเต็มที่