กมธ.ข้างน้อย ชนะโหวต! กำหนด เงื่อนไข ทำประชามติ เพิ่มสิทธิ์ให้ประชาชนเสนอเรื่องได้

กมธ.ข้างน้อย ชนะโหวต! กำหนด เงื่อนไข ทำประชามติ  เพิ่มสิทธิ์ให้ประชาชนเสนอเรื่องได้

กมธ.เสียงข้างน้อย ชนะโหวตในรัฐสภา เขียน 5 เงื่อนไข กำหนดให้ทำประชามติ เพิ่มบทบาทประชาชนเสนอเรื่องครม. ให้ออกเสียงประชามติ

        ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อเวลา 15.00 น. ได้เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.... ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว. เป็นประธาน พิจารณาแล้วเสร็จ
        ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการพิจารณาที่ประชุมได้ใช้เวลาถกเถียงต่อสาระของร่างแก้ไข มาตรา 9 อย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กมธ. ได้แก้ไข โดยเติมเนื้อหาให้ การทำประชามติ เป็นไปโดยเสรี และเสมอภาค จากเดิมที่กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจจัดและควบคุมการดูแลการออกเสียง ให้เป็นโดยสุจริต เที่ยงธรรม  และชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น และมีกมธ.ฯ เสียงข้างน้อย เสนอความเห็นให้แก้ไข
        อาทิ นายชูศักดิ์  ศิรินิล กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ขอสงวนความเห็นให้เพิ่มเงื่อนไขว่าด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการจัดให้มีออกเสียงประชามติ  คือ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ , เมื่อกรณีที่ครม.​เห็นสำควร , ตามกฎหมายกำหนด, กรณีรัฐสภามีมติว่ามีเหตุอันสมควร, กรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอ ครม. ให้ทำประชามติ  ทั้งนี้เพื่อให้มีหลักประกันต่อการทำประชามติเรื่องที่เห็นสมควร
        ทั้งนี้มีสมาชิกรัฐสภา อภิปรายสนับสนุนเพราะเห็นว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การออกเสียงประชามติสามารถทำได้จริง และเป็นไปอย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ของประเทศ
 

        อย่างไรก็ดีนายสุรชัย  ชี้แจงว่าการกำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดไว้ในกฎหมายอาจทำให้เกิดการตีความเพื่อจำกัดการออกเสียงประชามติได้ ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญ  มาตรา 166 กำหนดให้ครม. จัดให้มีการออกเสียงประชามติ ในกรณีที่มีเหตุอี่นสมควร ซึ่งข้อความที่ว่ากรณีที่มีเหตุอื่นอันสมควร เท่ากับว่าหากมีปัญหาอันมีเหตุสมควร กระบวนการออกเสียงประชามติจึงเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถตีความได้กว้างมากกว่าการกำหนดเงื่อนไข อย่างไรก็ดีในการรับฟังความเห็นของประชาชน ในกฎหมายระดับต่างๆ รองรับไว้ อาทิ การจัดรับฟังความเห็นเรื่องที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นต้น
161606557320
       
       หลังจากที่ที่ประชุมได้อภิปรายแสดงความเห็นในมาตราดังกล่าว กว่า 2 ชั่วโมง ที่ประชุมได้ปิดการอภิปราย และ ลงมติตัดสิน โดยเสียงข้างมาก  273 เสียง เห็นด้วยกับเนื้อหาที่นายชูศักดิ์เสนอ ต่อ 267 เสียง และงดออกเสียง 1.
        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเนื้อหาที่นายชูศักดิ์ เสนอนั้นมีสาระ คือ  กำหนด 5 เงื่อนไข ต่อการทำประชามติ ได้แก่ 1.การออกเสียงที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่มีบทบัญญัติกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ, 2. การออกเสียงกรณีเมื่อครม.เห็นว่ามีเหตุอันสมควร, 3.การออกเสียงตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการออกเสียง, 4.การออกเสียงในกรณีที่รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุสมควรที่จะให้มีการออกเสียงและได้ชี้แจงเรื่องให้ครม. ดำเนินการ และ 5. การออกเสียงกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อครม. เพื่อให้ความเห็นชอบการออกเสียง ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
          นอกจากนั้นได้กำหนดรายละเอียยด้วยว่า ห้ามออกเสียงประชามติเรื่องที่ผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้.