LINE BK-FSMART ลงสนาม แข่งปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์

LINE BK-FSMART ลงสนาม แข่งปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์

"นอนแบงก์" แห่ ปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์ ด้านไลน์บีเค จ่อเปิดให้บริการ พ.ค.นี้ หวังรีเทิร์นเพิ่ม ด้าน เมืองไทยลิสซิ่ง คาดยอดให้สินเชื่อโต 20% จากพอร์ตคงค้าง 7 พันล้าน ขณะที่"ฟอร์ทสมาร์ท"ลงสนามเต็มตัวปีนี้

     นายธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกสิกรไทย ที่ลงทุนผ่านบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด หรือ เควิชั่น) และบริษัท ไลน์ ไฟแนนเชียล เอเชีย กล่าวว่า ราวพ.ค.ปีนี้ บริษัทจะมีแผนเปิดตัวสินเชื่อใหม่ คือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น
      ทั้งนี้ยอมรับว่า แม้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์มีความเสี่ยงสูงกว่าสินเชื่อทั่วไป แต่ก็เชื่อว่าเป็นโอกาสของบริษัทในการสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย โดยสามารถคิดดอกเบี้ยได้ถึงกว่า 30% หากเทียบกับสินเชื่อบุคคลที่คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยได้ไม่สูงสุดกว่า 20%เท่านั้น ดังนั้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นก็น่าจะช่วยบริษัทในการรองรับความเสี่ยงได้มากขึ้นด้วย
     ส่วนการปล่อยกสินเชื่อผ่าน LINE BK ปัจจุบันยอดสมัครใช้บริการทางการเงินอยู่ที่ 2 ล้านบัญชีแล้ว ขณะที่การขอสินเชื่อปัจจุบันเข้ามาเกือบ 2ล้านบัญชีแล้ว และได้ผ่านการอนุมัติแล้วราว 1.5 แสนบัญชี 10,000 ล้านบาทได้ จากปัจจุบันที่ปล่อยแล้ว 4-5 พันล้านบาท

    นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC กล่าวว่า ในส่วนของสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ของบริษัท เชื่อว่ายังมีโอกาสเติบโตอยู่ โดยตั้งเป้าเห็นการเติบโตสินเชื่อระดับ 20% หรือเพิ่มขึ้นตาว 1.4 พันล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อคงค้างที่มีราว 7 พันล้านบาท เนื่องจากบริษัทเชื่อว่าสินเชื่อจะเติบโตได้ดีจากฐานลูกค้าเก่า
     โดยเฉพาะสามารถขยายการให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ไปยังกลุ่มลูกค้ากลุ่มอื่นๆได้ เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเช่าซื้อมอร์ไซด์ ที่มีความต้องการสินเชื่อเพิ่มได้
      อีกทั้งที่ผ่านมาบริษัทสามารถควบคุมหนี้เสียได้ระดับดี โดยเอ็นพีแอลทรงตัวอยู่ที่ 1.3-1.4% ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า เรพาะเน้นการปล่อยกู้ไปที่ลุกค้าประวัติดีเท่านั้น
      ด้านนายณรงค์ศักดิ์ เลิศทรัพย์ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART กล่าวว่า ปีนี้บริษัทเตรียมให้บริการสินเชื่อสินเชื่อบุคคลและนาโนไฟแนนซ์ หลังจากปีที่ผ่านมาได้เริ่มทดลองปล่อยสินเชื่อดังกล่าวในกลุ่มตัวแทนไปแล้ว แม้จะไม่ได้เป็นตามแผน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ก็สามารถสร้างกำไรได้ และสามาถควบคุมหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลได้ต่ำไม่ถึง 3%

     นางสาวณญาณี เผือกขำ ดำรงตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการ สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์แบรนด์ “สินเชื่อเถ้าแก่ทันใจ” กล่าวว่า     สำหรับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ขณะนี้บริษัทต้องหยุดแผนการเปิดโปรดักท์ใหม่

     สำหรับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ไปก่อน จากเดิมมีแผนเปิดให้บริการในปีนี้ แต่จากผลกระทบโควิด-19 ทำให้บริษัทเลื่อนการออกโปรดักต์ใหม่ไปก่อน และเน้นให้การช่วยเหลือลูกค้าเป็นหลักไปก่อน

    ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มีการเปิดเผยสถิติสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ หรือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ สิ้นปี 2563 โดย หากดูจำนวนบัญชีสินเชื่อคงค้างพบว่า ของสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์พบว่า ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

     โดย สิ้นปี 2563 จำนวนบัญชีอยู่ที่ 774,316 ล้านบาท ซึ่งลดลง ราว 398,573 บัญชี หรือ 33.9% หากเทียบกับปีก่อนหน้า ที่บัญชีคงค้างอยู่ที่ 1,172,889 บัญชี
     สอดคล้องกับพอร์ตสินเชื่อคงค้าง ที่ล่าสุดปรับลดลงมาอยู่ที่ 17,441 ล้านบาท ลดลง 1,878 ล้านบาท หรือ 9.72% จาก ปี2563 ที่พอร์ตคงค้างอยู่ที่ 19,318 ล้านบาท
     เช่นเดียวกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล พบว่าปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นระดับสูงสุด ล่าสุดอยู่ที่ 1,061 ล้านบาท ลดลง 425 ล้านบาท หรือ 28.5% หากเทียบกับปีก่อนหน้าที่ หนี้เสียอยู่ที่ระดับ 1,485 ล้านบาท