โควิดฉุด ยอดขายรถสะดุด ม.ค.ร่วง 21%

โควิดฉุด ยอดขายรถสะดุด ม.ค.ร่วง 21%

หวังมาตรการรัฐ กิจกรรม แคมเปญค่ายรถ ดันตลาดเดือนกุมภาพันธ์

สุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ยอดขายที่ลดลง เป็นการหดตัวทุกตลาด ทั้งรถยนต์นั่ง ที่มียอดขาย 1.61 หมื่นคัน ลดลง 44.2% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 3.91 หมื่นคัน ลดลง 5.4% ขณะที่ รถปิกอัพ 1 ตัน อย่างเดียว มียอดขายรวม 3.01 หมื่นคัน ลดลง 9.6% เป็นผลมาจากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นวงกว้าง และรวดเร็ว ทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน และส่งผลต่อภาพรวมของสภาวะเศรษฐกิจประเทศ

“โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และการบริการต่างๆ ที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์เอง ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ยังคงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย”

ขณะที่ทิศทางของตลาดในเดือน ก.พ. นี้ แม้ว่าการแพร่ระบาดของ ไวรัส โควิด-19 จะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบในวงกว้างซึ่งไม่เฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มองว่า ตลาดน่าจับตามอง จากความพยายามในการแก้ปัญหา และกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงกำลังซื้อของผุ้บริโภค หลายอย่างที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้

ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ ล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วยโครงการ คนละครึ่ง, เราเที่ยวด้วยกัน, ช้อปดีมีคืน และ เราชนะ เพื่อลดความเดือดร้อนให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น รวมถึงชวยสร้างกระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการรถยนต์เอง ก็พยายามกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ ข้อเสนอพิเศษต่างๆ ทั้งแคมเปญส่งเสริกมาขายหรือเงื่อนไขทางการเงิน จึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าจับตามองสำหรับตลาดรถยนต์ในเดือนนี้ ว่าาจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีแค่ไหน

ทั้งนี้ตลาดรถยนต์ปี 2563 ที่ผ่านมา มียอดขายรวม 7.92 แสนคัน แม้ว่าจะลดลง 21% จากปีก่อนหน้า แต่ถือว่าเป็นตัวเลขที่ดีกว่าที่คาดหมายที่เคยประเมินว่าเลวร้ายที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วงต้นๆ ว่าอาจติดลบ 50% และประเมินว่าระดับที่แย่ที่สุดที่อุตสาหกรรมสามารถรับได้คือ คือ ติดลบ 30%

อย่างไรก็ตามตลาดรวมปี 2563 ติดลบอย่างรุนแรงช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. เริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นมา และเริ่มเห็นภาพชัดเจนในช่วงปลายปี เช่น เดือน พ.ย. ที่ยอดขายกลับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า 2.7% ขณะที่สุดท้ายของปี สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 1 แสนคันเป็นครั้งแรก ด้วยยอด 1.04 แสนคัน และเพิ่มขึ้นถึง 11% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพรวมปีที่แล้ว ติดลบแค่ 21%

ภาพรวมยอดขายเดือน ม.ค. ปีนี้ 3 อันดับแรกที่มียอดขายสูงสุด ได้แก่ โตโยต้า ทำได้ 1.77 หมื่นคัน ลดลง 12.2% และส่วนแบ่งตลาด 32.2% ขณะที่ อันดับที่ 2 อีซูซุ มียอดขาย 1.52 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 27.6% อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,657 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.2%

161404956515

รถยนต์นั่ง 3 อันดับแรกประกอบไป โตโยต้า 5,073 คัน ลดลง 26.4% ส่วนแบ่งตลาด 31.5% อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,526 คัน ลดลง 52.3% ส่วนแบ่งตลาด 28.1% อันดับที่ 3 มาสด้า 1,779 คัน ลดลง 43.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

161404956519

สำหรับตลาดรถยนต์นั่งปี 2563 ที่ผ่านมา โตโยต้าที่ครองตลาดมานาน มียอดขาย 6.8 หมื่นคัน เสียตำแหน่งผู้นำให้กับคู่แข่งอย่างฮอนด้าที่มียอดขาย 7.7 หมื่นคัน แต่เริ่มต้นปี 2564 โตโยต้าสามารถกลับมาขึ้นนำตลาดได้อีกครั้ง

ขณะที่ตลาดรถปิกอัพ 1 ตัน อีซูซุ ที่ปี 2563 ที่ผ่านมา สามารถแซงหน้า โตโยต้า ขึ้นเป็นผู้นำตลาดได้ ยังคงสามารถประเดิมปี 2564 ด้วยการมียอดขายสูงสุด 1.27 หมื่นคัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1.1% ส่วนแบ่งตลาด 49.4% ตามมาด้วย อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,519 คัน ลดลง 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 33% และอันดับ 3 ฟอร์ด ตามาห่างๆ ด้วยยอดขาย 1,962 คัน แต่เพิ่มขึ้น 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

161404956564

ส่วนรถปิกอัพดัดแปลง หรือพีพีวี มียอดขาย 4,294 คัน นำโดย โตโยต้า 1,975 คัน อีซูซุ 1,434 คัน มิตซูบิชิ 522 คัน –ฟอร์ด 343 คัน และ นิสสัน 20 คัน