ไทยเข้มระวัง'โควิด-19'สายพันธุ์แอฟริกาเตรียมเพิ่มวันกักตัว

ไทยเข้มระวัง'โควิด-19'สายพันธุ์แอฟริกาเตรียมเพิ่มวันกักตัว

ไทยเฝ้าระวังเข้ม 3 สายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19กลายพันธุ์ สธ.เตรียมเพิ่มวันกักตัวคนเข้าไทยตั้งต้นจากทวีปแอฟริกาใต้ เป็น 21 วัน ย้ำยังไม่กระทบแนวทางการรักษา แต่อาจส่งผลต่อวัคซีน  

   เวลา 15.00 น. วันที่ 15 ก.พ. 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19   รศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ  หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  กล่าวว่า  ผู้ป่วยคนไทยรายแรกที่เดินทางจากประเทศแทนซาเนียและพบว่าติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้นั้น ขณะนี้อาการดีขึ้นเรื่อยๆ การให้ออกซิเจนลดน้อยลง  ซึ่งปกติไวรัสมีการกลายพันธุ์อยู่แล้วตามธรรมชาติ  เพียงแต่การกลายพันธุ์ในมนุษย์บางที่หรือในสัวตฬซื อาจจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่เร็วกว่าการกลายพันธุ์ปกติ และการระบาดในสถานที่ต่างๆทั่วโลกอาจจะทำให้มีการคัดเลือกสายพันธุ์เฉพาะถิ่นขึ้นเป็นนธรรมชาติของไวรัส ปัจจุบันมีการรายงานสายพันธุ์ที่เจอและต้องระวังทั่วโลก โดยมีคำแนะนำว่าจะต้องเฝ้าระวัง 3 สายพันธุ์ที่อาจจะมีปัญหา คือ ไม่ใช่ไวรัสที่ปกติ แต่เป็นไวรัสที่กลายพันธุ์  ประกอบด้วย

  1. สายพันธุ์ B.1.1.7(GR,G) ประเทศที่พบครั้งแรกในอังกฤษ เมื่อเดือนกันยายน 2563 ส่วนใหญ่อยู่ในอังกฤษ มีการกระจายไปในประเทศอเมริกา และประเทศอื่นๆในยุโรxแล้ว โดยตำแหน่งที่กลายพันธุ์เป็นตำแหน่งพิเศษ อยู่บนผิวไวรัส ทำให้ไวรัสมีคุณสมบัติจับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น อีกทั้ง ในห้องทดลอง พบว่าไวรัสมีประสิทธิภาพในการแบ่งตัวดีขึ้น เพราะฉะนั้น ไวรัสในโพรงจมูกก็จะมาก ติดเชื้อง่าย นอกจานี้ ปัจจุบันมีหลักฐานจากรพ.อังกฤษหลายแห่งเห็นว่าสายพันธุ์นี้สัมพันธ์กับอัตราการป่วยและเสียชีวิตมากกว่าเดิมเล็กน้อย

        2.สายพันธุ์B.1.351(GH,G)  ประเทศที่พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2563  ทำให้ไวรัสจับตัวเซลล์ได้ดีขึ้น  ติดเชื้อง่ายขึ้น อาจจะสามารถหนีภูมุคุ้มกันได้ดีขึ้นอาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนลดลง เพราะเป็นวัคซีนที่พัฒนาโดยใช้สายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งมีหลายประเทศมีการทดสอบวัคซีน พบว่าประสิทธิภาพวัคซีนลดลงเมื่อมีผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้  ซึ่งปัจจุบันพบสายพันธุ์นี้ในหลายประเทศของทวีปแอฟริกาใต้ และ3.สายพันธุ์P.1(GR) ประเทศที่พบครั้งแรกคือประเทศบราซิล เมื่อธันวาคม 2563  โดยพบว่าพลาสมาหรือระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์จับกับไวรัสเหล่านี้ได้น้อยลงจริงๆ เมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเหล่านี้

0ไม่กระทบแนวทางรักษา

       “ความน่ากลัวของสายพันธุ์แอฟริกาใต้นี้ คือ มีผลต่อการตอบสนองของวัคซีนได้ลดลง แต่ไม่ใช่ประสิทธิภาพของวัคซีนจะป้องกันไม่ได้เลย ยังสามารถรป้องกันความรุนแรงของโรคได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีการพัฒนาวัคซีนปรับปรุงวัคซีนทุกๆ1 -2 ปี ลักษณะเดียวกับการทำวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนเรื่องความรุนแรงของสายพันธุ์นี้ยังไม่มีข้อมูลว่าจะรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่น ก็ต้องติดตาม  แง่ของการรักษาไม่แตกต่าง ยังไม่มีข้อมูลที่บอกว่าสายพันธุ์ใดต้องใช้การรักษามากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งนี้ ในการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อสายพันธุ์แอฟิกาใต้ใช้เวลา 3 วัน แต่กำลังเตรียมเปลี่ยนวิธีการตรวจให้เร็วขึ้นใช้เวลา 1 วัน  โดยตรวจเฉพาะจุดที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงพบ่อยไม่ตรวจทั้งสายพันธุกรรม ”รศ.นพ.โอภาสกล่าว  

0เตรียมเพิ่มวันกักตัวเป็น 21 วัน

         รศ.นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า  สำหรับในประเทศไทย มีการตรวจจับสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์จากผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ ได้หมดที่สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ จุฬาฯมีการตรวจหาสายพันธุ์ต่างๆจากประเทศที่สนใจต้องจับตา คือ จากแอฟริกาใต้ อังกฤษ และบราซิล  เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้คนไทยมีโอกาสติดเชื้อที่กลายพันธุ์ ซี่งจะมีผลต่อการใช้วัคซีนในอนาคต ทั้งนี้ สธ.มีการหารือเตรียมเพิ่มวันกักตัวของผู้ที่เดินทางตั้งต้นมาจากประเทศในทวีปแอฟฟริกาใต้เป็น  21 วันเพราะถือเป็นจุดเสี่ยง แต่ไม่สามารถเพิ่มการกักตัวทุกคนได้แม้ว่ามีการกระจายเชื้อสายพันธุ์นี้ในประเทศอื่นๆแล้ว  แต่ไทยจะนับวันเริ่มต้นเดินทางจากแอฟริกาใต้ รวมทั้ง จะต้องมีการใช้มาตรการตรวจหาเชื้อที่ควบคู่กับการกักตัว 21 วันด้วย

0ไทยยังไม่มีไวรัสกลายพันธุ์

       “ยืนยันว่าสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยยังไม่มีสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ ยังเป็นสายพันธุ์ที่มาจากเมียนมา  แต่การยับยั้งการแพร่เชื้อจากคนไปคนได้จะทำให้ไม่เกิดสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจจะเป็นสายพันธุ์ของไทยเอง ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน  ซึ่งขณะนี้ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่น่ากังวล เพราะรอบระบาดของประเทศไทยยังไม่ยาวเพียงพอที่จะทำให้เชื้อกลายพันธุ์แต่ยังมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง”รศ.นพ.โอภาสกล่าว  

0ปทุมธานีแนวโน้มดีขึ้น

      ด้านนพ.เฉวตสรร นามวาท ผอ.กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีที่เกี่ยวข้องกับตลาดพรพัฒน์ จ.ปทุมธานี ว่า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งจากการตรวจเชิงรูกผู้เกี่ยวข้อง 400 คนแรก พบการติดเชื้อ 10% และต่อมาเมื่อตรวจเชิงรุกในกลุ่มคนลำดับที่ 1,400-1,700 พบการติดเชื้อลดลง  5-9 %แสดงให้เห็นว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่กรมก็ไม่ได้วางใจ ยังเผ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

           รวมทั้งตรวจเชิงรุกในตลาด จ.เพชรบุรี ซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดพรพัฒน์ แสดงให้เห็นว่าเราติดตามตรวจสอบข้ามพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หากพบผู้ติดเชื้อก็จะมีการรายงานต่อสาธารณชนอย่างตรงไปตรงมา ขอให้ประชาชนวางใจ ส่วนกรณีการติดเชื้อของบุคลากรกลุ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ก็ไม่มีการรายงานการติดเชื้อเพิ่มเติมต่อเนื่องมาก 4 วันแล้ว โดยรายล่าสุดพบเมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา