กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (15 ก.พ.64)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (15 ก.พ.64)

15-19 กุมภาพันธ์: ฟื้นตัว ปัจจัยต่างประเทศยังหนุนสินทรัพย์เสี่ยง

สรุปภาวะตลาด และมุมมองตลาดสัปดาห์นี้:

ในสัปดาห์ที่แล้ว (8-11 กุมภาพันธ์) ตลาดหุ้นไทยผันผวนอย่างหนักก่อนที่จะปิดท้ายสัปดาห์ที่ระดับแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยในช่วงต้นสัปดาห์ ดัชนี SET ขยับขึ้นอย่างแข็งแกร่งสะท้อนถึงความคาดหวังด้านบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรับ และราคาน้ำมันที่วิ่งขึ้นแรง ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ ทำให้เกิดกระแสเงินทุนไหลจากต่างชาติไหลกลับเข้ามาให้หุ้นไทย และทำให้หุ้นเชื่อมเศรษฐกิจโลกปรับตัวได้ดีกว่าตลาด อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นตลาดก็ย่อกลับลงมาจากแรงขายในประเทศ นำโดยการขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มธนาคาร ในขณะเดียวกัน ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในกรุงเทพก็ยังคงอยู่ในระดับสูง และนักลงทุนบางคนก็รอดูสถานการณ์ก่อนถึงกำหนดการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หุ้น OR เริ่มเข้าซื้อขายใน SET ก่อนจะปิดสูงกว่าราคา IPO ถึง 62.5% และมีการประกาศออกมาว่าจะนำ OR เข้าคำนวณดัชนี MSCI Thailand large cap ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

สำหรับภาพในสัปดาห์นี้ เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะปรับตัวได้แข็งแกร่งมากกว่าสัปดาห์ที่แล้ว และมองว่าตลาดน่าจะขยับขึ้นได้แบบ sideways up โดยการเมืองสหรัฐมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากที่อดีตประธานาธิบดี Trump รอดจากการถูกวุฒิสภาลงมติถอดถอน ในขณะที่การเจรจามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐก็ยังคงเดินหน้าต่อไป ทั้งนี้ วุฒิสมาชิก 57 จาก 100 คนลงมติให้ถอดถอน Trump ซึ่งยังไม่พอเพราะการถอดถอนต้องใช้ 67 เสียง ประเด็นดังกล่าวบวกกับการที่ค่าเงินดอลลาร์ฯ ที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าลงในสัปดาห์ที่แล้วน่าจะเป็นปัจจัยที่หนุนให้เกิดกระแสเงินทุนไหลเข้าหุ้นในภูมิภาค ในขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นจีนก็จะกลับมาเปิดทำการในวันพฤหัสบดีนี้หลังหยุดยาวช่วงตรุษจีน และมีแนวโน้มจะปรับตัวได้ดีเนื่องจากเศรษฐกิจจีนน่าจะหลุดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดจาก COVID-19 ได้เร็วกว่าเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ อย่างมาก

ธีมการลงทุน ปัจจัย และกระแสข่าวสำคัญที่จะมีผลกับตลาดในสัปดาห์นี้:

(0) ข้อมูล GDP ใน 4Q63 และปี 2563 ของไทยที่จะประกาศออกมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ สศช. จะรายงานตัวเลข GDP 4Q63 ในวันนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่า GDP ใน 4Q63 จะหดตัว 5.5%YoY เนื่องจากฐานที่สูงใน 4Q62 (ก่อนที่ COVID-19 จะระบาด) และได้รับผลกระทบบางส่วนจากการระบาดระลอกใหม่ในเดือนธันวาคม 2563 ทั้งนี้ หากประมาณการของเราถูกต้อง GDP ปี 2563 ก็จะหดตัว 6.1% ซึ่งตลาดการเงินของไทยน่าจะตอบรับในเชิงกลาง ๆ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดยังต้องติดตามประมาณการ GDP ปี 2564 ของ สศช. ซึ่งเราคาดว่า GDP ปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 3.9%

(0) ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญของสหรัฐในเดือนมกราคม และรายงานการประชุม FOMC ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ สหรัฐจะประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของเดือนมกราคมออกมา อย่างเช่น ยอดค้าปลีก และการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดย Consensus คาดว่าดัชนีทั้งสองรายการนี้จะดีดตัวขึ้น MoM ซึ่งเมื่อบวกกับความคาดหวังของตลาดต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งน่าจะมีวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ แล้ว โมเมนตั้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐก็น่าจะยังเป็นไปตามคาด

เลือกลงทุนใน value big caps และ mid caps ที่มีธีมการลงทุนแข็งแกร่ง

เนื่องจากเรามองว่าตลาดจะขยับขึ้นแบบ sideways up เราจึงแนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนผสมกันระหว่างกลุ่ม value big caps อย่างเช่น BBL*, KBANK* และ PTTGC* กับหุ้น mid caps ที่มีธีมการลงทุนแข็งแกร่งดังต่อไปนี้ ธีมแรกคือหุ้นกลุ่มที่ผลประกอบการ 4Q63 ออกมาแข็งแกร่ง และจะยังคง
แข็งแกร่งต่อเนื่องในปี 2564 ได้แก่ SPALI*, JMT*, RS*, DOHOME* และ COM7* ธีมที่สอง คือกลุ่มที่จะได้อานิสงส์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจแบบมีเงื่อนไขตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเรามองว่า CPN*, SPA และ AU จะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น