'สมศักดิ์'เตือน พืชกระท่อมยังใช้เสรีไม่ได้ คาดมีผลสมบูรณ์มิ.ย.

'สมศักดิ์'เตือน พืชกระท่อมยังใช้เสรีไม่ได้ คาดมีผลสมบูรณ์มิ.ย.

"สมศักดิ์" เตือน พืชกระท่อมยังใช้เสรีไม่ได้แม้ผ่านสภาแล้ว คาดมีผลสมบูรณ์ตามขั้นตอนประมาณเดือน มิ.ย. ให้ ป.ป.ส. เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับเยาวชน และชาวบ้าน ชี้ ที่สำเร็จเพราะทำการบ้านอย่างหนัก-บูรณาการกับทุกหน่วยงานอย่างครบถ้วน

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงร่าง ...ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่...)     ..... ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วว่า ... ฉบับนี้หลักสำคัญคือการนำพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดและยกเลิกโทษทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ต้องใช้เวลาอีกเล็กน้อยเพราะ ต้องผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาและส่งให้รัฐบาลนำขึ้นทูลเกล้าฯ และโปรดเกล้าฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจาฯ 90 วัน ซึ่งตรงนี้เพื่อให้การร่างกฎหมายรอง คือ ...พืชกระท่อมเสร็จสมบูรณ์ด้วย        

ซึ่งขณะนี้ ...พืชกระท่อม ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เชื่อว่าอีกไม่นานน่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาได้ ซึ่งตนยังตอบไม่ได้อย่างชัดเจนว่ากฎหมายปลดล็อกพืชกระท่อมจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อใด แต่หากประเมินคร่าวๆตามขั้นตอนน่าจะประมาณ         เดือน มิ.. และหากทำกฎหมายรองไม่ทัน ประชาชนจะไม่สามารถใช้พืชกระท่อมได้อย่างเสรี ซึ่งกฎหมายรอง       จะกำหนดว่าจะใช้ได้อย่างไรบ้าง และจะมีข้อกำหนดที่ห้ามเด็กและเยาวชนนำไปใช้ด้วย และหากใครจะปลูกต้องแจ้งให้ผู้นำชุมชนหรือภาครัฐทราบ โดยตั้งใจให้ปลูกได้ไม่เกินครัวเรือนละ 3 ต้น ให้ใช้ตามวิถีชีวิต ซึ่งพี่น้องประชาชนน่าจะพอใจ

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า หากประชาชนจะปลูกเยอะๆ ก็ทำได้ แต่ต้องขออนุญาต เพราะมีพืชเกษตรหลายชนิด

ถ้าปลูกแล้วปริมาณความต้องการน้อยกว่าปริมาณที่ปลูกจะทำให้ราคาตก และหากจะปลูกแล้วขายไม่ได้ จะมาเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนคงไม่ได้ เราอาจจะทำเป็นยาสมุนไพร ยาแก้ปวดแทนมอร์ฟีน ที่หลายประเทศผลิตออกขายเป็นได้เงินถึง 5 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งพืชกระท่อมจากการศึกษามีผลระงับอาการปวดที่ดีกว่ามอร์ฟีนหรือนำมาผลิตเป็นยาชูกำลัง มาทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด แต่วันนี้เรายังไม่แน่ใจว่าปลูกแล้วส่งออกจะทำได้ดีขนาดไหน ดังนั้นเราต้องมีการควบคุมการปลูกไม่ให้มากเกินเหมือนยางพาราที่ปลูกกันมากจนทำให้ยางพารามีราคาถูก เกษตรกรเดือดร้อนมาก ที่ผ่านมาตนลงพื้นที่พบชาวบ้านหลายแห่ง

โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้..หลายท่านบอกว่ากระท่อมเป็นพืชประจำถิ่น และเป็นที่นิยมของเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานจะใช้เครื่องดื่มชูกำลังก็ราคาแพง อย่างบ้านนาสาร .สุราษฎร์ธานี ปลูกกันมากและเป็นพื้นที่ตัวอย่างว่ากระท่อมเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิต และผู้คนที่ใช้กันมา 20-30 ปี ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อร่างกาย

จึงคิดว่าเป็นพืชที่อยู่ใกล้ชิดกับวิถีของชุมชน การทำกฎหมายกระท่อม  ไม่น่าจะยาก และจากการได้พบอดีตประธานศาล อดีตอัยการ ท่านก็บอกว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นคดีที่รกศาล เพราะปีๆ หนึ่งมีเป็นหมื่นคดี ค่าใช้จ่ายในคดีเป็นร้อยๆ ล้าน ตรงนี้จะช่วยลดคดีและค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างมาก

"...กระท่อม ที่กำหนดขึ้นมา ให้มีข้อบังคับเพื่อความเป็นระเบียบ เรารับฟังความเห็นของประชาชน รับทราบข้อห่วงใยมาโดยตลอด จึงต้องหาทางป้องกันให้ดีที่สุดในส่วนของเยาวชนที่ผมให้ความสำคัญเป็นอย่างมากซึ่งเวลานี้ได้ให้ ... เร่งวางแผนทำความเข้าใจกับชาวบ้านในทุกชุมชนของภาคใต้ ทุกอย่างไม่ได้มีข้อดีหรือข้อเสีย 100% ที่ผ่านมามีการพยายามปลดล็อกหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในครั้งนี้ผมทำการบ้านอย่างหนักและทำงานอย่างบูรณาการอย่างครบถ้วน และผมเห็นว่าประโยชน์ที่ได้กับประชาชนจริงๆ ผมจึงพยายามเดินหน้าอย่างเต็มที่ ขอฝากบอกพี่น้องประชาชน ในช่วงที่กฎหมายยังไม่เรียบร้อย หากใช้อาจจะถูกปรับ ถูกจับ ต้องอธิบายว่ากฎหมายผ่านสภาไปแล้ว

แต่ต้องรอหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน ถึงจะใช้ได้โดยไม่ถูกจับ ดังนั้นตอนนี้อย่าพึ่งไปขยับอะไรมาก

แต่หากมีต้นที่ปลูกอยู่แล้วคงต้องพูดคุยกัน หากตำรวจเข้าใจอาจจะมีการผ่อนปรนให้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาจากสถิติอุบัติเหตุหรือการทะเลาะวิวาท ไม่เคยมีพืชกระท่อมเข้าไปเกี่ยวข้อง แม้ว่าปีหนึ่งจะมีคดีที่เกี่ยวกับกระท่อมเป็นหมื่นๆคดีก็ตาม" นายสมศักดิ์ กล่าว