สรุปครบ มาตรการช่วยลูกหนี้ 7 สถาบันการเงิน ‘เยียวยาโควิด’ รอบใหม่

สรุปครบ มาตรการช่วยลูกหนี้ 7 สถาบันการเงิน ‘เยียวยาโควิด’ รอบใหม่

ส่องมาตรการ "ช่วยลูกหนี้" ของ 7 สถาบันการเงินภายใต้การกำกับของ "กระทรวงการคลัง" ที่ขยายเวลา "พักชำระหนี้" "ลดดอกเบี้ย" "ให้สินเชื่อ" กับประชาชน และผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19"

การกลับมาของ "โควิด-19" ระบาดรอบใหม่ในประเทศ ส่งผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากการระบาดครั้งแรก ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และเงินในกระเป๋า

ล่าสุด การประชุม ครม. วันที่ 12 ม.ค. 64 มีมติให้สถาบันการเงินภายใต้กำกับกระทรวงการคลัง 7 แห่ง ขยายมาตรการช่วยเหลือประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย หรือที่เล็กกว่ารายย่อย เช่น การลดดอกเบี้ย พักหนี้ พักชำระหนี้ รวมไปถึงการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19 รอบใหม่"

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมมาตรการที่มีการขยายเวลาออกไปถึงช่วงเวลาต่างๆ ของปี 2564 จาก 7 สถาบันการเงิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 1. ธนาคารออมสิน 

แบ่งมาตรการ ออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ

- มาตรการ "ลด-พักชำระหนี้ สำหรับลูกค้าสินเชื่อในพื้นที่สีแดง 28 จังหวัด" เสี่ยงโควิด-19 ซึ่งผู้ที่เป็นลูกค้าออมสิน และอยู่พื้นที่เหล่านี้สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการนตามช่องทางที่ปรากฏในภาพได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 64  

161044987954

- ส่วนที่ 2 คือมาตรการขยายเวลา "สินเชื่อ" 5 โครงการ สำหรับประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยสามารถสมัครขอสินเชื่อโครงการต่างๆ ได้ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 64 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงิน

161044988039

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารธนาคารออมสิน หมายเลข 1506

 2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่ม "เกษตรกร" ที่ได้รับผลกระทบจาก "โควิด-19" ระลอกใหม่ โดยแบ่งเป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาภาระหนี้และค่าใช้จ่ายด้วยการ "พักชำระหนี้" (สำหรับประชาชนทั่วไป และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ 28 จังหวัดพื้นที่สีแดง) "ลดภาระหนี้" และ "ขยายเวลาและลดภาระชำระหนี้" 

ขณะเดียวกันก็ดำเนินการฟื้นฟู และปรับโครงการสร้างหนี้ ด้วยการปล่อย "สินเชื่อ" ต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ณ เวลานี้

 

161044988012

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: call center ธ.ก.ส. หมายเลข 0 2555 0555

 3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ "ธอส." เปิดเผยข้อมูลมาตรการการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบแรก (มาตรการที่ 1-8.5) และรอบใหม่ (มาตรการที่ 9-12) ซึ่งแต่ละมาตรการจะมีระยะเวลาในการลงทะเบียนเข้าร่วม และระยะเวลาในการช่วยเหลือแตกต่างกันออกไป ดังนี้

161044988148

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ ธอส. หมายเลข 0 2645 9000

 4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) 

EXIM BANK ขยายเวลามาตรการในการช่วยเหลือลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออก นำเข้า และกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการของกิจการ ดังนี้

1. มาตรการส่งเสริม สำหรับผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มเติบโตได้ มีการเสริมสภาพคล่องโดยให้วงเงินเพิ่มเติม 

2. มาตรการผ่อนปรน สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ลดลง แต่ยังดำเนินกิจการได้ จะช่วยขยายการชำระหนี้ออกไประยะหนึ่ง และเมื่อชำระได้หมดจะเพิ่มสภาพคล่องบางส่วน

3. มาตรการขยายระยะเวลา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายเวลาในการชำระหนี้คืน โดยให้ขยายการชำระหนี้ออกไปได้ไม่เกิน 2 ปี

และ 4. มาตรการประคับประคอง สำหรับผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ตามสภาพธุรกิจ

161044988198

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: EXIM BANK หมายเลข 0 2271 3700, 0 2278 0047 หรือ 0 2617 2111

 5. ธนาคารอิสลาม 

ธนาคารอิสลาม ขยายเวลา 3 มาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคาร ทั้งจากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ "โควิด-19" และ "ภัยธรรมชาติ" ดังนี้

161044988266

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารอิสลามหมายเลข 1302

 6. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) 

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ "SME D BANK" ออกมาตรการ "พักหนี้อุ่นใจ เติมเงินใหม่ ไปต่อ" เพื่อช่วยเหลือลูกค้าจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ โครงการพักชำระหนี้เงินต้น และ โครงการเติมทุนใหม่ ผ่านการปล่อยสินเชื่อในอัตราพิเศษต่างๆ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

161044988275

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คอลเซนเตอร์ SME D BANK หมายเลข 1357 

7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

นอกจากธนาคารต่างๆ แล้ว บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ "บสย." ก็ยังได้อัพเดทมาตรการช่วยเหลือ SMEs สู้ภัย "โควิด-19" ระลอกใหม่ ด้วยเช่นกัน

โดยมาตรการในการช่วยเหลือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ "มาตรการช่วย SMEs วงเงินค้ำประกันรวม 100,000 ล้านบาท" ที่จะช่วยเหลือทั้ง SMEs และผู้ประกอบการรายย่อย ตามเงื่อนไขที่กำหนด

ส่วนที่ 2 คือ "มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs บสย." ที่แบ่งออกเป็น 4 มาตรการย่อย ที่จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือไปตามความเหมาะสมของลูกค้าแต่ละราย

   161044988283

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: บสย. 0 2890 9999