สธ. ตั้งเป้า รพ.สนามอย่างน้อย 1,000 เตียง ในเขตสุขภาพที่มีการระบาด

สธ. ตั้งเป้า รพ.สนามอย่างน้อย 1,000 เตียง ในเขตสุขภาพที่มีการระบาด

สธ. ร่วมกับ รร.แพทย์ จัดตั้ง รพ.สนาม รองรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ ลดความเสี่ยงนำเชื้อไปติดผู้ป่วยโรคอื่นในโรงพยาบาล มีทีมแพทย์หมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่ ระบบดูแลรักษา ส่งต่อตามมาตรฐาน ตั้งเป้าในเขตสุขภาพที่มีการระบาดให้สำรองอย่างน้อย 1,000 เตียง

วานนี้ (8 มกราคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข โดยมี นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และรศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานเครือข่ายโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ UHOSNET แถลงข่าวในประเด็น ความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์ให้การบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด

นพ.วีรวุฒิ กล่าวว่า ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิดรอบใหม่ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล และลดความเสี่ยงที่จะมีการนำเชื้อโควิด 19 ไปแพร่ให้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งการตั้งโรงพยาบาลสนามจะตั้งในจังหวัดหรือพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยเฉพาะในจุดเริ่มต้นของการระบาดคือจังหวัดสมุทรสาคร และใน 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ในขณะเดียวกันได้มีแผนการเตรียมเตียงเพิ่มตลอดเวลา โดยกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายว่าในเขตสุขภาพที่มีการแพร่ระบาดจำนวนมากจะให้มีการสำรองเตียงสนามไว้อย่างน้อย 1,000 เตียง และได้มีการเตรียมเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุก
เพื่อความปลอดภัยของชุมชน

ทั้งนี้โรงพยาบาลสนามแต่ละแห่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมอนามัย ในการบริหารจัดการพื้นที่ให้ได้ตามมาตรฐาน โดยมีโรงเรียนแพทย์ (UHosNet) ร่วมสนับสนุน รวมถึง กระทรวงกลาโหม ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายปกครอง เอกชน ประชาชนในพื้นที่ และความพร้อมของแต่ละจังหวัด สถานที่ตั้งต้องห่างชุมชนให้มากที่สุด มีการบริหารจัดการตามมาตรฐาน ทั้ง ระบบสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะติดเชื้อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบความปลอดภัยทางกายภาพ และการรักษาความปลอดภัย ในส่วนการดูแลผู้ป่วยมีการลงทะเบียน และใช้ระบบสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยง และการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อดูความปลอดภัย ทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นจะมีแผนการส่งตัวไปที่โรงพยาบาล

“ขอทำความเข้าใจและขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ที่ตั้งโรงพยาบาลสนามว่า โรงพยาบาลสนามเป็นสถานที่ที่นำผู้ป่วยไม่มีอาการมารวมกัน ไม่ให้ออกไปในสังคมหรือในชุมชนเพื่อควบคุมและสกัดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุม ป้องกันการติดเชื้อที่ดีได้มาตรฐาน มีการควบคุมการติดเชื้อเพื่อป้องกันการระบาดสู่คนและชุมชน” นายแพทย์วีรวุฒิกล่าว

ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานเครือข่ายโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ UHosNet กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์ มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด 19 ตั้งแต่เดือนมกราคมของปี 2563 มีการแบ่งบทบาทหน้าที่รักษาผู้ป่วย ร่วมวางแผนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สร้างห้องไอซียู สนับสนุนห้องปฏิบัติการ เป็นต้น ทำงานส่งเสริมกันจนทำให้สถานการณ์การระบาดในระลอกแรกสามารถควบคุมได้

161016464819

สำหรับการระบาดระลอกใหม่ได้ยกระดับการทำงานโดยแบ่งพื้นที่จับคู่สถานพยาบาล เพื่อสนับสนุน
ซึ่งกันและกัน เช่น เขตสุขภาพที่ 4 มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดูแลคู่กับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ใช้พื้นที่บริเวณหอพักจัดเป็นโรงพยาบาลสนาม, เขตสุขภาพที่ 5 โรงพยาบาลศิริราช ดูแลคู่กับ โรงพยาบาลวชิระพยาบาล และเขตสุขภาพที่ 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยดูแลร่วมกับ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น

โดยสนับสนุนทั้งด้านการดูแลผู้ป่วย แลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษา ยา เวชภัณฑ์ จัดช่องทางการปรึกษาแพทย์ทางไกล เพื่อการส่งต่อที่เร็วขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัยและลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึงจัดทีมแพทย์ลงไปหมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่เพื่อแบ่งเบาการทำงานของแพทย์และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดความอ่อนล้าจากการปฏิบัติงาน ที่ไม่ได้หยุดพัก ถือเป็นการนำจุดแข็งโรงเรียนแพทย์