CP ระดม 'ซิโนแวค' เพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนป้อนทั่วโลก 300 ล้านคน

CP ระดม 'ซิโนแวค' เพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนป้อนทั่วโลก 300 ล้านคน

ซีพี ร่วมระดมทุนซิโนแวค ร่วมกับกองทุนจากสหรัฐ และจีน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนโควิด19 สองเท่า เข้าถึงวัคซีน 300 ล้านคนทั่วโลก

รายงานข่าวจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ระบุว่า ในช่วงเวลายากลำบากนี้ วัคซีน เป็นสิ่งที่ขาดแคลนอย่างมาก และเป็นการแข่งกับเวลา ทำให้ทุกประเทศในโลกเร่งผลิตวัคซีนให้ได้มากที่สุด ซึ่งซีพี ทำธุรกิจด้านเวชภัณฑ์มากว่า 20 ปีในประเทศจีน รวดเร็วและ มองการณ์ไกล เข้าซื้อหุ้น Sinovac Life Sciences บริษัท บริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่ชื่อว่า CoronaVac จากประเทศจีน เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2563 ในจำนวนเงิน 515 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15,427.85 ล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อแลกกับการเข้าไปถือหุ้น 15.03% ในบริษัท Sinovac Life Sciences เพื่อขยายกำล่งการผลิตให้ประชากรโลกเข้าถึงยาได้มากขึ้น นอกจากกลุ่มซีพีแล้ว นอกจากบริษัทซีพีแล้ว ยังมีกองทุนของจีน “แอดวานซ์เทค แคปิตอล” และ กองทุนของสหรัฐ” วีโว่ แคปิตอล” ที่ได้ร่วมลงทุนกับทางซิโนแวค ไลฟ์ ไซเอนซ์ โดยเข้าผู้หุ้นส่วนบริษัทละ 6.3%

สำหรับการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้กลุ่มซีพี ซื้อหุ้นในนามของกลุ่ม CP Pharmaceutical Group ดำเนินธุรกิจยาในประเทศจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกง โดย Sinovac Life Sciences มีศักยภาพในการผลิตวัคซีน 300 ล้านโดสต่อปีในปีที่ผ่านมา และเพิ่มเป็น 600 ล้านโดสต่อปีในปีนี้

นอกจากประเทศจีนแล้ว CoronaVac ยังเป็นวัคซีนที่นำมาฉีดให้กับประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย ตุรกี บราซิล และชิลี เป็นต้น

การระดมทุนเพิ่มในครั้งนี้ ซิโนแวคระบุว่า จากเดิมสามารถผลิตวัคซีนได้ปีละ 300 ล้านโดส หากสร้างโรงงานผลิตแห่งที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนให้ได้ปีละ 600 ล้านโดส เพิ่มโอกาสการเข้าถึงวัคซีนให้กับประชากรโลก โดยปัจจุบัน โคโรนาแวคเป็นวัคซีนทดลอง 1 ใน 3 ตัวของจีนที่ฉีดให้ประชาชนราว 1 ล้านคนตามโครงการเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม มีการเชื่อมโยงไปยังประเด็นการเมืองว่า ภาครัฐสั่งซื้อวัคซีนจากซิโนแวค จำนวน 2 ล้านโดส จะมีความเชื่อมโยงกับการลงทุนของกลุ่มซีพีในบริษัทซิโนแวค หรือไม่ ซึ่งหากดูจากยอดการผลิต 600 ล้านโดสต่อปี กระจายไปทั่วโลก กับยอดการสั่งซื้อ 2 ล้านโดสของประเทศไทย เทียบได้กับ 0.33% ของกำลังการผลิต คงไม่ใช่เป็นเหตุผลที่ซีพีไปลงทุนในครั้งนี้

แต่รายงานจากซิโนแวคระบุว่า ปัจจัยหลัก เป็นการขยายการเข้าถึงวัคซีนของประชากรโลก ปัจจุบันซิโนแวคทำสัญญาจัดหาวัคซีนโคโรนาแวคให้กับหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ตุรกี บราซิล ชิลี และกำลังเจรจากับฟิลิปปินส์ ซึ่งหากพูดถึงกำลังการผลิต 600 ล้านโดส ต่อปี จะเท่ากับครอบคลุมประชากรประมาณ 300 ล้านคน หรือเท่ากับ 3.94% ของประชากรโลกเท่านั้น จึงเป็นภารกิจของทุกประเทศในโลก ในการขยายการผลิต การสร้างโอกาสในการเข้าถึงยาและวัคซีน และถือเป็นเรื่องของสุขภาพและความมั่นในชีวิตอีกด้วย เพื่อตอบเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติอีกด้วยในด้านสุขภาพ (Health & Well Being)

โดยองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยจะจัดซื้อวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค บริษัทเภสัชภัณฑ์ของจีน จำนวน 2 ล้านโดส

ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขของไทยคาดการณ์ว่า วัคซีนของบริษัท ซิโนแวค ชุดแรก 200,000 โดส จะขนส่งมาถึงไทยช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และชุดที่สอง 800,000 โดส จะมาถึงช่วงสิ้นเดือนมีนาคม และอีก 1 ล้านโดส จะมาถึงช่วงสิ้นเดือนเมษายน ซึ่งถือเป็นส่วนน้อย เมื่อเทียบกับการสั่งจองซื้อ วัคซีน จำนวน 61 ล้านโดสจากบริษัท Astra Zeneca คาดว่า ล้อตแรกจะนำเข้ามาได้เพื่อให้คนไทยได้ใช้ประมาณ กลางปี 2564 จำนวน 26 ล้านโดสไปแล้ว

และวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา ทางนายกฯได้อนุมัติเพิ่มเติมจัดหาซื้อวัคซีนอีก 35 ล้านโดส เพื่อคุ้มครองคนไทยได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เท่ากับว่ารวมแล้วเราจะมีวัคซีนจากประเทศอังกฤษ 61 ล้านโดสให้ประชาชน และมีวัคซีนที่จองซื้อจาก ซิโนแวคจากประเทศจีนเพียงแค่ 2 ล้านโด้สเท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่เลือกสองรายนี้เพราะวัคซีน สามารถเก็บได้ในตู้เย็นมาตรฐานที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างต่ำ 6 เดือนนี้เอง ที่จะทำให้ง่ายต่อการขนส่งและกระจายวัคซีนในประเทศกำลังพัฒนา

นอกจากนี้ การซื้อวัคซีน ประเทศไทยต้องไปต่อคิว เพราะทั่วโลกขาดแคลน ดังนั้น การจองซื้อล่วงหน้า ถือเป็นเรื่องของความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศ เพื่อความปลอดภัยของคนไทยทุกคน

นอกจากนี้ บนเส้นทางธุรกิจกลุ่มเวชภัณฑ์ของกลุ่มซีพีกว่า 20 ปี อาจไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้างในประเทศไทย เพราะเมื่อพูดถึงกลุ่มซีพี อาจทำให้นึกนึกกลุ่มธุรกิจเกษตร หรือไม่ก็เซเว่น อีเลฟเว่น แต่ข้อเท็จจริงเครือซีพี ได้ถือว่าเป็นบริษัทไทยที่ก้าวสู่การเป็นบริษัทระดับโลกไปแล้วโดยรายได้มากกว่าครึ่งก็มาจากตลาดในต่างประเทศ ที่ผ่านซีพี กรุ๊ป มีการลงทุนใน 22 ประเทศทั่วโลก

บริษัทในเครือทำธุรกิจครอบคลุมหลากหลายสาขา ครอบคลุม 8 กลุ่มธุรกิจ แต่ที่คนไทยคุ้นเคย 3 ธุรกิจเสาหลัก ได้แก่ ซีพี ฟู้ดส์ ดูแลธุรกิจด้านอาหารครอบคลุมธุรกิจเกษตร ธุรกิจฟาร์มเลี้ยง ไปจนถึงอาหารแปรรูปพร้อมบริโภค ซีพีออลล์ ดูแลธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-11 และทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่อันดับสองของไทย นอกจากนี้ กลุ่มซีพียังมีธุรกิจอื่นในต่างประเทศอีกมากมาย อาทิ กลุ่มเวชภัณฑ์ ที่ครอบคลุม กลุ่มธุรกิจของซิโนไบโอฟาร์มานั้น ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2000 หรือประมาณ 22 ปีมาแล้ว และที่ติดอันดับท็อป 50 บริษัทในธุรกิจยาของโลก ที่จัดอันดับโดยนิตยสาร Pharm Exe ของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2019

นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับโดยฟอร์บส์ Forbes ให้เป็น สุดยอด 100 บริษัท ในเอเซียอีกด้วย ดังนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ในการเข้าสู่ธุรกิจเวชภัณฑ์ของกลุ่มซีพี ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 22 ปี โดยทำการผลิต และทำการตลาดยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบ และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและสมองในประเทศจีน

ทั้งนี้บริษัทชิโนไบโอฟาร์มา ทำรายได้ในปี 2019 สูงถึง 4200 ล้านหยวน หรือ 112,000 ล้านบาท และการลงทุนในบริษัทชิโนแวค ถือเป็นการลงทุนปกติของกลุ่มซิโน ไบโอฟาร์มาเอง ที่ดำเนินการเป็นประจำในอุตสาหกรรมยา ที่ต้องเน้นการลงทุนในบริษัทที่ทำการวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีทั่วโลก และถือว่า การลงทุน 515 ล้านดอลลาร์ ในครั้งนี้ เป็นการลงทุนเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้สองเท่า โดยการลงทุนครั้งนี้ทำให้ซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอลมีหุ้นส่วนน้อย เพียง 15.03% ในซิโนแวคไลฟ์ไซน์ส และดีลนี้เกิดขึ้นหลังจากซิโนแวคขยายข้อตกลงจัดหาวัคซีนโคโรนาแวค และทดลองกับหลายประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลการทดลองทางคลินิกเฟส 2 เป็นไปด้วยดี ทำให้การลงทุนเป็นไปตามเวลาที่เหมาะสม