ปมรัฐบาลแก้คำสั่ง กทม. พิษโควิด VS เศรษฐกิจ

ปมรัฐบาลแก้คำสั่ง กทม. พิษโควิด VS เศรษฐกิจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การตัดสินใจที่ไม่เป็นเอกภาพระหว่างรัฐบาล-กทม. ส่งผลถึงความไม่มั่นใจของประชาชนว่า รอบสองนี้ ศบค.จะเอาอยู่

จากคำสั่งที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ฉบับ 16 ออกมาล่าสุด เมื่อวันที่ 4 ..2564 หนึ่งในนั้นสรุปมาตรการควบคุมเวลาให้บริการรับประทานในร้านตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 . จากเดิมที่ ...พงศกร ขวัญเมือง โฆษก กทม.ออกมาแถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ มีมติขีดเส้นร้านอาหารทุกประเภทต้องให้บริการนับประทานที่ร้านถึง 19.00 .เท่านั้น

แต่แล้วคำสั่งที่มาจาก พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งตรงถึง กทม.ให้ขยายเวลากำหนดมาตรการนี้ไปถึงเวลา 21.00 . เป็นที่มาของเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ว่าเหตุใดทั้ง 2 หน่วยงานรัฐไม่สื่อสารระหว่างกันก่อนประกาศมาตรการสำคัญออกมา

โดยเฉพาะผลกระทบจากการเปลี่ยนคำสั่งใหม่ กระทบไปถึงผู้ประกอบการร้านอาหารต่างๆ ต้องปรับเวลา ปรับจำนวนพนักงานและปรับการสั่งวัตถุดิบเพื่อให้บริการลูกค้า ซึ่งหมายถึงผลกระทบไปถึงต้นทุนของร้าน และอาชีพพนักงานประจำ-รายวันที่ต้องนับชั่วโมงงานเพื่อคำนวณออกมาเป็นรายได้ในแต่ละวัน

ก่อนหน้านี้ 23 ..2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกมาเปิดเผยผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่นี้ ไม่ใช่แค่ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ที่อาจได้รับความสูญเสียจากการระบาดรอบใหม่ราว 45,000 ล้านบาทในกรอบเวลา 1 เดือนอย่างเดียว แต่อาจสร้างผลกระทบด้านอื่นๆ ที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้อย่างชัดเจน ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการ ที่ค้าขายสินค้าอื่นๆในตลาดไปด้วย

ยิ่งมาตรการที่เปลี่ยนไปมานอกเหนือจากมีผลถึงผู้บริโภคแล้ว แต่ทุกมาตรการจากรัฐบาล และกทม.มีกระทบไปถึงภาคธุรกิจร้านอาหารทั่วกรุงเทพฯ อีกครั้ง เพราะหากยังจำกันได้ในสถานการณ์ระบาดโควิดรอบแรกในต้นปี 2563 ในช่วงการออกมาตรการยาแรง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด จากกรณีที่นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น เคยออกมาเปิดเผยถึงกระแสข่าวที่ถูกแชร์เป็นจำนวนมากว่า กทม.จะมีการปิดห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในวันที่ 22 มี..2563 ซึ่งเป็นวันเดียวที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม.ประชุมเพื่อหาข้อสรุปในมาตรการนี้

160985849158

ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดความสับสนอยู่ที่ห้วงเวลา ของข่าวที่ออกมา เพราะก่อนที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม.จะมีมติเป็นทางการว่าจะมีการปิดห้างหรือไม่ แต่เป็นช่วงเดียวกับที่โฆษกรัฐบาลออกมาให้สัมภาษณ์ประเด็นนี้ในเวลา 12.12 .ของวันที่21 มี..2563 ว่า อำนาจการสั่งปิดห้างอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด กำลังมีการหารือมาตรการต่างๆ แต่ขอให้รอแถลงอย่างเป็นทางการขอให้ประชาชนรอฟังประกาศหรือความคืบหน้าจากราชการ และหยุดการแพร่ข่าวที่ไม่มีที่มาที่ไป ที่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ นอกจากความแตกตื่นที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

แต่แล้วมีการตีความจากข้อมูลที่ถูกส่งต่อในสังคมออนไลน์ ไปถึงประเด็นที่โฆษกรัฐบาลออกมาอธิบายขณะนั้นว่า กระแสที่ออกมาไม่ใช่ข่าวจริง จนกระทั่งผ่านมาไม่กี่นาทีที่ พล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ออกมาแถลงข่าวในเวลา 12.23 . หลังเสร็จสิ้นประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม.มีคำสั่งให้ปิด 26 จุดเสี่ยงทั่วกรุง รวมถึงห้างสรรพสินค้า ยกเว้นโซนซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยาหรือสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ทำให้ประชาชนสับสนในข้อมูลว่า สุดท้ายควรเชื่อควรมูลจากแหล่งใดมากที่สุด

เช่นเดียวกับสถานการณ์การให้ข่าวระหว่างกทม.-รัฐบาล เมื่อวันที่ 4 ..2564 ถูกเสียงวิจารณ์จากคนในสังคมอีกครั้งว่า เหตุใดสองหน่วยงานรัฐถึงไม่สื่อสารระหว่างกันก่อนประกาศคำสั่ง เพราะสิ่งที่โฆษก กทม.ได้แถลงในเวลา 12.10 .ว่าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม.ออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อกำหนดแนวทางสำหรับร้านอาหารทุกประเภทต้องให้บริการรับประทานอาการในร้านยุติแค่เวลา 19.00-06.00 .เท่านั้น

160985852377

ทำให้ตลอดช่วงบ่ายหลายภาคธุรกิจอาหารทั้งในห้างและสถานที่ต่างๆ ออกมาโพสต์แจ้งลูกค้าขอปรับเวลาให้บริการและลดการให้บริการอาหารบางประเภท เพื่อปฏิบัติตามคำแถลงของโฆษก กทม. แต่แล้วช่วงเวลา 16.30 . พล..ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานประชุม ศบค.สั่งให้ กทม.ยกเลิกมาตรการให้ร้านอาหารยุติให้บริการรับประทานในร้านที่ 19.00 . แต่ให้ขยายไปถึงเวลา 21.00 .จากข้อเรียกร้องจากสมาคมภัตตาคารที่เสนอเข้ามา

นับเป็นอีกครั้งที่เห็นช่องโหว่ในการตัดสินใจเรื่องมาตรการจากรัฐบาลกลาง ขณะที่มีการมอบอำนาจผู้ว่าฯ ให้สามารถพิจารณาออกมาตรการป้องกันแก้ไขได้ตามสถานการณ์ เพราะเห็นว่าเป็นผู้ที่รู้สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตัวเองได้ดีที่สุด แต่หาก ศบค.ซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่ของการแก้ปัญหาโควิดไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือมาตรการที่ทางจังหวัดออกมาได้

มีรายงานว่าในการประชุม ศบค. เมื่อ 4 ..2564 ว่า ได้มีการพิจารณามาตรการของ กทม.โดยรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องบางคน ให้ข้อสังเกตว่า การให้นั่งรับประทานในร้านได้ถึง 19.00 .อาจจะเร็วเกินไป และนายกฯ ห่วงว่า เวลาดังกล่าวประชาชนจะทำอะไรไม่ทันในช่วงเวลานั้น ที่ประชุมได้พิจารณาผลกระทบแล้วเห็นว่า หากขยายเวลาออกไป ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากเท่าไหร่ จึงผ่อนปรนขยายไปเป็น 21.00 .

จากคำสั่งตรงที่มาจากทำเนียบรัฐบาลขณะนั้นเอง ทำให้ฝ่ายบริหาร กทม.ต้องหารือเป็นการภายในอีกครั้ง เพื่อปรับเปลี่ยนเนื้อหา ที่ประกาศออกไปในช่วง 12.12 . โดยจะยึดจากคำสั่งจาก พล..ประยุทธ์ ให้ขยายเวลารับประทานอาหารไปถึง 21.00 . แต่ขอให้ผู้ประกอบการต้องคุมเข้มมาตรการป้องกันการระบาดให้เคร่งครัด ตั้งแต่การคัดกรองอุณหภูมิ การเว้นระยะห่าง 1.5 เมตร

โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญที่ กทม.มีอยู่ในมือถึงลักษณะการติดเชื้อจะมีโอกาสสูง หากมีการนั่งรับประทานอาหารใกล้ชิดกันและเป็นเวลานาน ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการระบุว่า การนั่งรับประทานอาหารนานกว่า 5 นาทีมีโอกาสจะมีการระบาด โดยเฉพาะช่วงเวลา 19.00-06.00 .เป็นช่วงที่ผู้คนจะใช้เวลานั่งรับประทานอาหารร่วมกันนานที่สุด หากจำเป็นต้องลดโอกาสเสี่ยง

160985854353

จึงเป็นที่มาของคำสั่งแรกให้หยุดบริการรับประทานอาหารในร้านถึงเวลา 19.00 .เท่านั้น เพื่อลดระยะเวลาการรวมกลุ่ม เพราะหากไม่มีมาตรการที่เข้มข้น กทม.เป็นห่วงการแพร่ระบาดจะรุนแรง แต่ระหว่างนั้นที่ กทม.ต้องปรับเวลาใหม่ตามคำสั่งนายกฯ โดยมีประกาศฉบับที่ 16 ออกมาอย่างเป็นทางการในเวลา 20.10 . ซึ่งกำหนดชัดเจนให้การรับประทานอาหารในร้านขีดเส้นไปถึงเวลา21.00 . และกำหนดมาตรการป้องกันโควิดอย่างละเอียดไปถึง 3 กลุ่มเจ้าของ-ผู้ให้บริการ-ผู้ใช้บริการ

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดระลอกใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายอยู่ในภาวะตื่นตัวจากรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ยังพุ่งสูงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้นายกฯ ทั้งในฐานะผู้นำรัฐบาลและ ผอ.ศบค. ใช้อำนาจทบทวนคำสั่ง กทม.

แม้จะเป็นความจำเป็นในด้านเศรษฐกิจ เพราะคำสั่งภาครัฐที่ชัดเจนว่ารอบนี้รัฐบาลห่วงภาคธุรกิจต่างๆ ที่โควิดสร้างผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในเมืองหลวงอย่างสาหัส

แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การตัดสินใจที่ไม่เป็นเอกภาพระหว่างรัฐบาลกับผู้บริหาร กทม. ย่อมส่งผลถึงความไม่มั่นใจของประชาชนว่า รอบสองนี้ ศบค.จะเอาอยู่!