'เงินประกันรายได้เกษตรกร' ยังไม่ได้! คำตอบ ธ.ก.ส. และความคืบหน้าราคาเกษตร

'เงินประกันรายได้เกษตรกร' ยังไม่ได้! คำตอบ ธ.ก.ส. และความคืบหน้าราคาเกษตร

ตรวจสอบ "เงินประกันรายได้เกษตรกร" ยังไม่ได้ มีคำตอบ ธ.ก.ส. และความคืบหน้าราคาเกษตร

ติดตามจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบายรัฐบาล (5 ม.ค. 2564) กรณี โครงการประกันรายได้เกษตรกร หรือ "เงินประกันรายได้เกษตรกร"

กรณีเกษตรกรบางรายยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ หรือ "เงินประกันรายได้เกษตรกร" ได้สอบถามผ่านเพจเฟซบุ๊คของ ธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. baacthailand ได้คำตอบว่า เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐโดยเช็คดูก่อนได้ว่า ธ.ก.ส.โอนให้แล้วหรือไม่ เพียงกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักที่ลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/  หรือแนะนำลูกค้าติดต่อสอบถามที่เกษตรอำเภอ เช็คในแอปพลิเคชั่น A-Mobile หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ในพื้นที่

160981051513

ก่อนหน้านี้ เลขานุการ กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร แนะรัฐควรวางมาตรการชดเชยเงินส่วนต่างตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรให้ชัดเจน พร้อมหาหน่วยงานดูแลระบบที่เป็นธรรม

นายสุชาติ ภิญโญ เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา เกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 ของรัฐบาล โดยระบุว่า การช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องราคาข้าวนั้นถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปีเมื่อราคาข้าวตกต่ำ รัฐบาลจึงมีโครงการประกันราคาข้าวเปลือก 5 ชนิด ได้แก่ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้าข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว

ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากปัจจุบันชาวนาใช้รถเกี่ยวข้าวทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งปัญหาราคาข้าวที่ต่ำกว่ามาตรฐานเพราะชาวนาต้องเร่งขายข้าวที่ยังมีความชื้นสูงเพื่อนำเงินมาจ่ายค่ารถเกี่ยวข้าว สำหรับโครงการชดเชยเงินส่วนต่างของชาวนาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เกิดความล่าช้าจนทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในจำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับนั้น รัฐควรหาแนวทางและมาตรการชดเชยที่ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือประชาชน

ขณะนี้ กมธ.ได้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องราคาข้าวรวมถึงระบบของการซื้อขายข้าวว่าได้รับการดูแลที่ถูกต้องหรือไม่ อาทิ เรื่องความชื้นของข้าวที่พ่อค้าเป็นผู้พิจารณา จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลในส่วนนี้ อย่างเช่นระบบการซื้อขายอ้อยที่มีสมาคมชาวไร่อ้อยที่เข้าไปดูแลเรื่องความหวานของอ้อย ทั้งนี้ กมธ.มีแผนจะลงพื้นที่เข้าไปศึกษาปัญหาราคาข้าวในช่วงกลางเดือนมกราคมปี 2564 แต่เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จึงต้องมีการหารือในที่ประชุมอีกครั้ง เพื่อสรุปแนวทางในการลงพื้นที่ต่อไป

ขณะที่ ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรเดือนมกราคม 2564 เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2563 ชี้การระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนมกราคม 2564 ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้น ด้านน้ำตาลทรายดิบ ยางพาราดิบ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มปรับราคาลดลง

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนมกราคม 2564 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 8,542 -8,865 บาท/ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.20 - 6.07 เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 ของโลก อาจทำให้มีความต้องการข้าวขาวจากไทยเพิ่มขึ้น

ข้าวเปลือกหอมมะลิ อยู่ที่ราคา 11,683 -11,726 บาท/ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 5.38 - 5.76 เนื่องจากภาครัฐมีโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยวงเงินสินเชื่อต่อตันของข้าวเปลือกหอมมะลิใกล้เคียงกับราคาตลาด และเกษตรกรได้ผลประโยชน์หากเก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองจะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท

ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 10,325 - 10,651 บาท/ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.03 - 3.19 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง

และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.91 - 7.99 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 - 1.50 เนื่องจากสิ้นสุดช่วงเก็บเกี่ยวข้าวโพดฤดูฝนในเดือนมกราคม ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการใช้เพื่อผลิตอหารสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของการส่งออกเนื้อสัตว์

ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 13.79 - 14.22 เซนต์/ปอนด์ (9.19 - 948 บาท/กก.) ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.50 - 4.50 เนื่องจากคาดการณ์ว่าผลผลิตน้ำตาลของประเทศบราซิลจะเพิ่มขึ้นจากปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับความแห้งแล้ง ประกอบกับรัฐบาลอินเดียประกาศนโยบายอุดหนุนผู้ผลิตน้ำตาลของอินเดียเพื่อส่งออกมากถึง 6 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้สต็อกน้ำตาลของโลกปรับตัวเพิ่มมากขึ้น ยางพาราแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 56.85 –57.15 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.10 – 0.63 เนื่องจากปริมาณสต็อกยางพาราของประเทศจีนมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวลดลงและค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคายางพาราอาจได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 2.00 - 2.06 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.48 – 3.38 เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุด ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 มีประมาณ 18.47 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 61.81 ของผลผลิตทั้งปีการผลิต ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 6.80 - 6.95 บาท/กก. ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.57 - 2.72 เนื่องจากความต้องการปาล์มน้ำมันเพื่อนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลที่คาดว่าจะลดลง จากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ภายในประเทศที่จะส่งผลต่อการใช้พลังงานเพื่อการเดินทางขนส่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลง

อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมีการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ คาดว่าราคากลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ สุกร ราคาอยู่ที่ 68.83 - 70.00 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.86 –2.52 เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงในแหล่งผลิตสุกรที่สำคัญ อาทิ จังหวัดราชบุรี และเชียงใหม่ ส่งผลให้ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้บางจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงเริ่มมีมาตรการล็อคดาวน์ซึ่งอาจทำให้ความต้องการเนื้อสุกรของร้านอาหารและธุรกิจการท่องเที่ยวลดลง และกุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 140.00 – 145.00 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.97 – 7.28 เนื่องจากสถานการณ์แพกุ้งจังหวัดสมุทรสาครปิดล็อคดาวน์

ทั้งนี้ หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ผู้เลี้ยงกุ้งจำเป็นต้องหาแหล่งระบายผลผลิต ทำให้มีโอกาสถูกกดราคารับซื้อ ประกอบกับความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารทะเลอาจส่งผลให้ความต้องการในตลาดลดลง

ตรวจสอบเช็คเงินประกันรายได้เกษตรกร ได้ที่ https://chongkho.inbaac.com/ 

160881879410

หากยังไม่ได้เงินประกันรายได้เกษตรกร ติดต่อ ธ.ก.ส. ได้ดังนี้

- ติดต่อสำนักงานสาขาธนาคาร ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 15.30 น.

- ธ.ก.ส. Call Center 0-2555-0555 บริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ศุนย์บริการลูกค้า 1593 บริการ ในวันและเวลาทำการ
สำนักงานใหญ่ 0-2558-6555

E-mail : [email protected]

Website : www.baac.or.th

Facebook : Facebook ธ.ก.ส. บริการด้วยใจ