ระบบอัตโนมัติยุค ระบบอัตโนมัติยุค The Age of WithTM

ระบบอัตโนมัติยุค ระบบอัตโนมัติยุค The Age of WithTM

ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ที่จะทำให้ผู้คนและธุรกิจต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ นำระบบอัตโนมัติมาใช้กับกระบวนการและการทำงาน แล้วในองค์กรยุคใหม่จะตอบสนอง ฟื้นตัว และเติบโตไปในยุคของมนุษย์และเครื่องจักรได้อย่างไร?

การ “ทำงานจากที่ใดก็ได้” กลายเป็นเรื่องปกติใหม่ (new normal) ในยุค COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจอาจต้องหันมาพิจารณาการนำรูปแบบการดำเนินธุรกิจเสมือนจริงมาใช้ เช่น การเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ และนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับกระบวนการและการทำงานหลังบ้าน

เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI - Artificial Inteligent) หุ่นยนต์ และการเปลี่ยนโฉมของคลาวด์ จะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดการแปลงโฉมธุรกิจหรือไม่นั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ถึงแม้เครื่องจักรจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือการที่เทคโนโลยีและมนุษย์สามารถทำงานไปด้วยกันเพื่อประโยชน์สูงสุด และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในที่สุด ลองนึกภาพว่าแผนกบุคคลและการเงินยุคใหม่จะเป็นอย่างไร และองค์กรธุรกิจของคุณจะตอบสนอง ฟื้นตัว และเติบโตไปในยุคของ “มนุษย์และเครื่องจักร” ได้อย่างไร 

ปัญญาประดิษฐ์มาถึงจุดที่เติบโตเต็มที่ ดีลอยท์เรียกยุคนี้ว่า The Age of WithTM หรือยุค "ด้วย" กัน นั่นคือ โลกที่มีระบบอัตโนมัติเป็นตัวช่วยเสริมศักยภาพของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น พลังของระบบอัตโนมัติคือความสามารถในการค้นคิดวิธีใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ แต่นั่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเข้าใจว่า ปัญญาประดิษฐ์นั้น มีเครื่องมืออะไรบ้าง และพร้อมที่จะซึมซับและนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้

The Age of WithTM เป็นเรื่องของการที่มนุษย์ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เพราะ ทำงาน ‘ด้วย’ กันกับเครื่องจักรที่เราคิดค้นขึ้น เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแนวคิดของผู้นำธุรกิจ จาก มนุษย์ ‘ต่อ’ เครื่องจักร มาเป็น มนุษย์ ‘กับ’ เครื่องจักร ใน The Age of WithTM นี้ ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติสามารถช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการทำธุรกิจ ทำให้มนุษย์มีอิสระพอที่จะโฟกัสกับสิ่งสำคัญอื่นๆ ได้ 

ความสามารถในกระบวนการอัตโนมัติทางธุรกิจนี้ยังสามารถนำไปใช้กับงานที่มีมูลค่าสูงและงานที่ต้องใช้การตัดสินใจเพื่อช่วยให้องค์กรเติบโตต่อไปใน The Age of WithTM มันคือการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ในการทำธุรกิจเพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันและความคล่องตัวมากขึ้น ระบบอัจฉริยะอัตโนมัติ (Intelligent Automation - IA) เป็นการรวมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Inteligent - AI) เข้ากับระบบอัตโนมัติ (Automation)

เมื่อสิ่งนี้ถูกนำมารวมกับกระบวนการอัตโนมัติ (Robotic Process Automation - RPA) จะทำให้หุ่นยนต์มีความสามารถทางปัญญาและความเฉลียวฉลาด นำไปสู่ความสามารถในการเพิ่มและขยายกระบวนการทางธุรกิจ ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ในที่สุด ซึ่งโอกาสนี้มีความสำคัญมาก ด้วยความเร็ว ความแม่นยำและถูกต้องมากขึ้นของข้อมูล ประกอบกับข้อมูลใหม่ที่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะช่วยให้การตัดสินใจต่าง ๆ ดีขึ้น ลดเวลาการทำงานของพนักงานให้สามารถไปเน้นงานในระดับสูงขึ้น เพิ่มมูลค่าให้กับงานได้มากขึ้น 

จากการสำรวจ Global Robotics ล่าสุดของดีลอยท์ พบว่า 53% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้เริ่มมีการนำ RPA มาใช้ในองค์กรแล้ว แม้ว่าสิ่งที่ใช้กันแพร่หลายจะเป็น RPA แบบพื้นฐาน แต่นั่นก็ถือเป็นการปูทางไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูงในที่สุด ในจำนวนนี้ 38% เพิ่งเริ่มทดลองนำ RPA มาใช้ (1-10 ระบบ),  12% ได้มีการใช้งานแล้ว (11-50 ระบบ) และ 8% เป็นองค์กรที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติอย่างกว้างขวาง (51 ระบบขึ้นไป) ซึ่งการใช้งาน RPA เพิ่มขึ้นจากปีก่อนสองเท่า องค์กรหลายๆ แห่งเชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ บรรลุความเร็วและความแม่นยำที่สูงขึ้น จากการใช้ระบบอัตโนมัติช่วยในการตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยคาดว่าจะใช้เวลาเฉลี่ย 15 เดือนในการคืนทุน และใช้เวลาในการไต่ลำดับขึ้นไปเพียงเก้าเดือนเท่านั้น

  • ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการเดินทางไปสู่กระบวนการทางธุรกิจอัตโนมัติ มีอะไรบ้าง?

• กลยุทธ์ระดับองค์กรในการใช้งานระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ ที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการเพิ่มอัตรากำลังของพนักงาน การลดต้นทุน และเพิ่มรายได้

• องค์กรที่มีการนำ RPA และ AI มาใช้ด้วยกัน จะมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 9% เทียบกับ 3% ในกลุ่มที่ไม่ได้ใช้

• เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง  21% เมื่อเทียบกับ 13% ในองค์กรที่ขาดสิ่งเหล่านี้

• องค์กรที่มีมาตรฐานและขั้นตอนของกระบวนการที่อยู่ในระยะอิ่มตัว จะทำให้อัตรากำลังของทีมงานหลังบ้านเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 19% เทียบกับ 12% ในองค์กรที่ไม่มี

• ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการสร้างมูลค่า จะนำไปสู่การลดต้นทุนโดยเฉลี่ย  21% เทียบกับ 15% ในองค์กรที่มีความเข้าใจน้อยกว่า

  • การสนับสนุนของพนักงาน

หลายคนคิดว่าระบบอัตโนมัติอาจเข้ามาแย่งงานของมนุษย์ แต่ 74% ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่า พนักงานของเขาสนับสนุนกลยุทธ์ในเรื่องระบบอัจฉริยะอัตโนมัติขององค์กร ระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ในระหว่างที่องค์กรก้าวไปสู่การใช้กระบวนการอัจฉริยะอัตโนมัติ ผู้บริหารขององค์กรที่อยู่ในขั้นตอนทดลองใช้ระบบอัตโนมัติถึง 32% กล่าวว่าพนักงานของพวกเขาไม่สนับสนุน เทียบกับ เพียง 12% ของผู้บริหารขององค์กรที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติ

กล่าวโดยสรุปคือ ขณะที่บริษัทต่างๆ เล็งไปที่การนำระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมมาใช้จัดการกับงาน แต่ในอนาคตองค์กรเหล่านี้ ก็จะต้องนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงและปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเพื่อตอบโจทย์เพิ่มขึ้น ดังนั้น องค์กรที่มีมาตรฐานและขั้นตอนของกระบวนการที่อยู่ในระยะอิ่มตัวแล้ว และได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศนั้น จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ ในทำนองเดียวกันองค์กรที่พัฒนาทักษะในการออกแบบขั้นตอนการทำงานใหม่ และเพิ่มขีดความสามารถที่จำเป็นในการควบคุมระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า 

ในขณะที่ RPA สามารถช่วยจัดการงาน และทำให้แรงงานสามารถไปโฟกัสกับงานเชิงกลยุทธ์หรือมุ่งเน้นลูกค้ามากขึ้น บริษัทต่างๆ จึงพยายามนำระบบเหล่านี้มาใช้มากขึ้น และนำความสามารถของปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยให้ระบบฉลาดขึ้น ด้วยความได้เปรียบของเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ (R&IA) บริษัทเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ ขยายความสามารถของแรงงานจากมนุษย์ ไปเป็นแรงงานดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นได้