ตอบชัด! ทำไมถึงไม่ 'ล็อกดาวน์'? แต่เลือกใช้ 'ขอความร่วมมือสูงที่สุด'

ตอบชัด! ทำไมถึงไม่ 'ล็อกดาวน์'? แต่เลือกใช้ 'ขอความร่วมมือสูงที่สุด'

โฆษก ศบค.ตอบชัด ทำไมถึงไม่ 'ล็อกดาวน์'? แต่เลือกใช้ยาแรงรับมือโควิด-19

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน และมาตรการในการควบคุม ป้องกันโควิด-19 ว่า เมื่อเช้านี้ เลขา สมช. ในฐานะประธานที่ประชุม มีการยกตัวอย่างการล็อกดาวน์แบบมีเคอร์ฟิว ถ้าย้อนกลับไปดูตัวเลขในขณะนั้น (ปี 2563) จำได้ชัดเจนว่า มีรายวานว่ายังมีคนที่ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว ถูกจับเล่นการพนันก็มี ถูกจับโดยการออกมาแม้ไม่มีธุระ ฯลฯ เราเห็นตัวเลขนี้อยู่ตลอดเวลา 

เพราะฉะนั้นถึงแม้จะมียาแรงใช้ตรงนี้ขึ้นมามากมาย ก็ไม่สามารถจัดการกับคนที่ส่อเจตนากับการที่จะทำไม่ถูกต้อง แต่คนที่เดือดร้อนกลายเป็นคนดีๆ ที่ต้องลำบากไปทั้งหมด เพราะฉะนั้นตรงนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องของ "การขอความร่วมสูงที่สุด" การใช้กฎหมายอะไรทั้งหลาย ไม่ได้ 100% แน่นอน จะบอกว่าใช้ยาแรงก็ไม่ใช่เป็นผลบวกกับเรา ภาพรวมของทางเศรษฐกิจกลับมีผลกระทบมากมาย

"ฉะนั้น ตอนนี้ เจ็บไข้ที่ไหนใช้ยาแรงตรงนั้น ฉีดยาตรงนั้น ทำให้เราสามารถที่จะใช้ประสบการณ์การเรียนรู้ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ในศึกครั้งนี้อันใหม่"

อย่างไรก็ตามมีการแบ่งพื้นที่เป็น 3 ระดับ คือ 

1.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 28 จังหวัด

2.พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 11 จังหวัด

3.พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) ทั้งหมด 38 จังหวัดที่เหลือ

โดยมาตรการที่กำหนดให้ดำเนินการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) แบ่งเป็น 2 ขั้น ดังนี้

  • เริ่มจากขั้นที่ 1 

- จำกัดเวลาเปิด-ปิดสถานประกอบการ

- ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

- ค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วุมทำผิดกฎหมาย

- หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก

- ขอความร่วมมือไม่เดินทางข้ามจังหวัด

- สถานการศึกษาหยุดเรียนการสอนหรือใช้รูปแบบออนไลน์

- ให้มีการทำงานแบบ Work from Home ทั่วทั้งพื้นที่ที่ ศบค.กำหนด

- มีมาตรการควบคุมการเดินทางของบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด

- เร่งการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกและการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อและพื้นที่เชื่อมโยงที่ได้ข้อมูลจากการสอบสวนโรคของ สธ.

  • หากควบคุมไม่ได้ ใช้ขั้นที่ 2

- จำกัดเวลาเปิด-ปิดสถานประกอบการเพิ่มมากขึ้น (รวมทั้งจำกัดการเปิดกอจการบางประเภทด้วย)

- ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

- เพิ่มความเข้มข้นในการเร่งค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วสุมทำผิดกฎหมาย

- งดจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก

- เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการควบคุมเดินทางข้ามจังหวัด

- สถานศึกษายังคงหยุดการเรียนการสอนเว้นกิจกรรมที่มีความจำเป็น

- เร่งรัดการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก และการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่เสี่ยง กิจกรรม/กิจการที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลเสี่ยง

- จำกัดเวลาออกนอกเคหะสถาน ในพื้นที่ที่ ศปก. จังหวัดกำหนด

ห้วงเวลาดำเนินการ ตามที่ นรม. / ผอ.ศบคเห็นชอบ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายมาตรการ ในกรอบเงื่อนไขที่ ศบค.กำหนด

ทั้งนี้จะต้องนำความเห็นนี้เรียนต่อ นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค.ต่อไป