เปิด 7 แผนมท.1 สั่งผู้ว่าฯ ระดมช่วยเหลือ 'น้ำท่วม' หนักภาคใต้

เปิด 7 แผนมท.1 สั่งผู้ว่าฯ ระดมช่วยเหลือ 'น้ำท่วม' หนักภาคใต้

"อนุพงษ์" สั่ง "กอปภ.จังหวัด" ยึด 7 แผนเผชิญเหตุ-ช่วยเหลือ ปชช .รับมือน้ำท่วมหนักภาคใต้

พล..อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่ากองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ..) กล่าว่า จากการติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้พบว่าอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 25 ..ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัย น้ำไหลหลาก และวาตภัย ในหลายจังหวัดภาคใต้และคงมีสถานการณ์ในหลายพื้นที่ต่อเนื่อง ขณะนี้ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่มีพื้นที่ประสบภัยดำเนินการ 7 ด้าน ประกอบด้วย

1.ปรับแผนเผชิญเหตุอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่ โดยหากประเมินสถานการณ์แล้วมีความรุนแรง ให้ระดมสรรพกำลังและบูรณาการกำลังพล อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรสาธารณภัย จากหน่วยราชการ หน่วยทหาร ตำรวจ มูลนิธิ อาสาสมัครประชาชนจิตอาสา เป็นชุดปฏิบัติการ พร้อมแบ่งมอบพื้นที่เข้าช่วยเหลือประชาชนให้ชัดเจนและทั่วถึง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ถูกตัดขาดตลอดจนการดูแลพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สำคัญต่างๆ

2.ให้ความสำคัญกับการสำรวจพื้นที่ประสบภัยและดำเนินการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในกรณีฉุกเฉินโดยทันที เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และทั่วถึงโดยถือปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

3.ให้จัดสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพและจัดตั้งโรงครัวพระราชทานประกอบเลี้ยงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึงจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ในทุกพื้นที่ที่ประสบภัยโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการอพยพประชาชน  และในการแจกจ่ายถุงยังชีพและสิ่งของรับบริจาค ให้ดำเนินการด้วยความละเอียดรอบคอบและทั่วถึง โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพตลอดจนหลักปฏิบัติของผู้นับถือศาสนาต่างๆ ด้วย

4.กรณีเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหายหรือถูกน้ำท่วมขังจนไม่สามารถใช้สัญจรผ่านได้ ให้เร่งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อแขนงต่าง ทุกช่องทาง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร จัดทำสัญลักษณ์หรือป้ายเตือน แนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย ตลอดจนมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบจัดยานพาหนะที่เหมาะสมให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยเร็ว

5.กำชับหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยในการเดินเรือ ด้วยการออกประกาศห้ามนำเรือเล็กออกจากฝั่งในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืนให้ดำเนินการทางกฎหมายในทุกกรณี

6.เน้นย้ำสร้างการรับรู้ให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจสถานการณ์เป็นระยะ รวมทั้งวิธีปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ช่องทางรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และแนวทางแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

7.ให้ความสำคัญกับการสรุปรายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือให้กระทรวงมหาดไทยผ่านกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

"ได้เน้นย้ำไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดพื้นที่ประสบภัยเร่งสำรวจพื้นที่ประสบภัยและตรวจสอบซ้ำ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง พร้อมช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด หากเกินอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เร่งเสนอมายังส่วนกลาง เพื่อพิจารณาตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป"พล..อนุพงษ์ กล่าว