‘ประยุทธ์' จะตกเก้าอี้ไหม!? อ่านไทม์ไลน์คดี ‘บ้านพักทหาร’ ก่อนลุ้นศาลรธน.ชี้ชะตา วันนี้!

‘ประยุทธ์' จะตกเก้าอี้ไหม!? อ่านไทม์ไลน์คดี ‘บ้านพักทหาร’ ก่อนลุ้นศาลรธน.ชี้ชะตา วันนี้!

เปิดไทม์ไลน์สรุปครบ! ก่อนฟังคำวินิจฉัย "ศาลรัฐธรรมนูญ" ชี้ชะตา "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" จะพ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีจากคดี "บ้านพักทหาร" หรือไม่? รู้ผล 2 ธ.ค.63 พร้อมย้อนรอยที่ผ่านมา "นายกฯ" รายไหนบ้างที่ถูกศาล รธน.ตัดสินจนต้องตกเก้าอี้!!

ความร้อนระอุของการเมืองยิ่งเพิ่มดีกรีมากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะการชุมนุมของประชาชน การประชุมสภา ฯลฯ โดยเฉพาะที่ถูกจับตามากที่สุด ก็คือ การตัดสินคดีการพักอาศัยใน "บ้านพักทหาร" ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยในวันที่ 2 ..63 

สำหรับรายละเอียดโดยย่อของคดีการพักอาศัยใน "บ้านพักทหาร" ดังกล่าว คือ เกิดจากกรณีการพักอาศัยอยู่ในบ้านพักทหารของ พล..ประยุทธ์ ทั้งที่เกษียณอายุราชการแล้ว จึงถูกจุดประเด็นว่า การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

โดยการตัดสินคดีในครั้งนี้ แม้หลายๆ กูรูจะเก็งไปในทางเดียวกันว่า "น่าจะรอด" แต่ก็ยังต้องเกาะติดห้ามกะพริบตา เพราะคำตัดสินครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลโดยตรงต่อ นายกฯ ประยุทธ์ เท่านั้น หากยังจะถูกใช้เป็น "บรรทัดฐาน" ต่ออดีตผู้นำเหล่าทัพคนอื่นๆ ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

นอกจากนี้ หากคำวินิจฉัยศาล รธน. ครั้งนี้เป็นในทางลบต่อพลเอกประยุทธ์ สิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่แค่ส่งผลต่อการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น เพราะยังอาจจะทำให้พลเอกประยุทธ์ต้องเว้นวรรคทางการเมือง รวมไปถึงคณะรัฐมนตรีอาจต้องยกชุดออกไปพร้อมๆ กัน!

ก่อนถึงเวลา 15.00 . นาทีแห่งการตัดสินชะตา พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ข้อกล่าวหาที่ ..เพื่อไทย ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคุณสมบัตินายกฯ มีรายละเอียดอย่างไร..

  

  • จุดเริ่มต้นและรายละเอียดของ "คำร้อง"

สำหรับคำร้องที่พรรคเพื่อไทย ยื่นศาลรัฐธรรมนูญคือ การอาศัย 'บ้านพักหลวง' ภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (.1ทม.รอ.) ของ 'พล..ประยุทธ์' เข้าข่ายความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 3 ประกอบ มาตรา 186

โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 (3) ประกอบมาตรา 186 กำหนดว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และรัฐมนตรี ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ

กล่าวอย่างสั้นๆ คือ เมื่อ “พล..ประยุทธ์” อาศัยในบ้านพักทหารโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าอาจจะเข้าข่ายที่ถือว่าเป็นการรับประโยชน์ใดจากหน่วยงานราชการ จึงขัดรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หรือไม่

  

  • บ้านพักทหาร ใครอยู่ได้บ้าง

และเมื่อเราเปิดระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการเข้าพักของข้าราชการและลูกจ้างประจำในกองทัพบก ..2553 ก็จะพบว่า ระเบียบได้กำหนดให้ ข้าราชการประจำการ หรือลูกจ้างประจำ สังกัดกองทัพบก ที่ไม่มีบ้านพักอาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือของคู่สมรส และไม่ได้รับการสงเคราะห์จากทางราชการให้มีอาคารหรือบ้านพัก มีสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของราชการ แต่สิทธิดังกล่าวจะหมดไปเมื่อผู้นั้นเสียชีวิตหรือออกจากราชการ

โดยผู้ย้ายออกนอกกองทัพบก หรือออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด  ต้องย้ายออกจากอาคารบ้านพักอาศัยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งย้ายออกจากกองทัพบก

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีข้อยกเว้น ตาม "ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก ปี 2548" ระบุไว้ว่า การจะได้อยู่อาศัยต่อในบ้านพักหลวงจะสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อ อดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบกซึ่งทำคุณประโยชน์ให้กับกองทัพบก และประเทศชาติ และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมาแล้ว มีสิทธิเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก

โดยที่ผ่านๆ มา เราก็จะพบว่า ผู้นำเหล่าทัพหลายต่อหลายคนก็ยังคงอยู่ในบ้านพักหลวง ถึงแม้ว่าจะเกษียณอายุราชการไปแล้ว และในสมัย พล..อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็น ผบ.ทบ. ก็เคยปรากฏข้อมูลว่า นายทหารที่เกษียณราชการแล้ว เช่น นายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, คณะรัฐมนตรี, สมาชิกวุฒิสภา (..) และองคมนตรี สามารถอาศัย 'บ้านพักหลวงได้ เพราะทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ รวมถึงอดีตผู้นำกองทัพอย่าง พล.ประยุทธ์ ด้วย

หลังจากที่พรรคเพื่อไทยได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยแล้ว ทางพล..ประยุทธ์ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ได้อยู่ในบ้านพักทหารจริง ส่วนที่ไม่ได้ไปอาศัยบ้านพักรับรอง ที่บ้านพิษณุโลก เพราะอยู่ระหว่างการซ่อมแซมปรับปรุง ขณะเดียวกันทีมรักษาความปลอดภัยประจำตัว ให้คำแนะนำว่าบ้านพักทหารที่อาศัยอยู่สะดวกในเรื่องการดูแลความปลอดภัยมากกว่า

ด้านอดีต ผบ.ทบ. อย่าง พล..อภิรัชต์ คงสมพงษ์  ก็ทำหนังสือชี้แจงว่า ตามระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักบ้านพักทหารปี 2555 พล..ประยุทธ์อยู่ใน บ้านพักรับรอง ไม่ใช่บ้านพักสวัสดิการ และในฐานะที่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ ทำให้เข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบบ้านพักทหาร ให้สามารถอาศัยอยู่ต่อได้

  

  • เทียบข้อแตกต่างระหว่างบ้านพักหลวง-บ้านพักรับรอง

มาถึงตรงนี้ เราจึงต้องมาดูกันว่า ความแตกต่างระหว่าง "บ้านพักหลวง" และ "บ้านพักรับรอง" นั้น มันต่างกันอย่างไร?

ในประเด็นดังกล่าวมีการระบุประเภทของบ้านพักหลวง หรือ บ้านพักทหาร เอาไว้ดังนี้

1.บ้านพักทหาร : ใช้สำหรับเป็นที่พักของทหารตามตำแหน่ง เช่น จ่า.., ..

2.บ้านพักรับรอง : ใช้สำหรับ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ เช่น นายพล, 5 เสือทบ., ผบ.ทบ., อดีตผบ.ทบ., อดีต 5 เสือ ทบ.

แต่ “พล..อภิรัชต์” การันตีและย้ำว่า “พล..ประยุทธ์” อาศัยอยู่ในบ้านพักรับรอง ซึ่งมีสิทธิตามที่ระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักบ้านพักทหารปี 2555 ได้กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้

ถึง พล..อภิรัชต์ จะย้ำว่า พล..ประยุทธ์ อยู่ได้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังคงคาใจเรื่อง ค่าน้ำ-ค่าไฟ ซึ่งในส่วนนี้จะถูกนำมาพิจารณาว่า ใครจ่าย? ระหว่าง “พล..ประยุทธ์ควักเงินตัวเองจ่าย หรือเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้ เพราะหากตีความว่า ทางราชการจ่ายให้พล..ประยุทธ์อาจจะเข้าข่ายรับเงินหรือประโยชน์อื่นใดจาก หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ หรือไม่

ร้อนถึง พล..ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการกองทัพบก ต้องส่งหหนังชี้แจงประเด็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบ โดยระบุว่า ตามระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักบ้านพักทหารปี 2548 ข้อ 11 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ให้กองทัพบกพิจารณาความเหมาะสมในการสนับสนุนงบประมาณค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปา ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต่อการพักอาศัย

    

  • หากคำวินิจฉัยว่าถูกตัดสินว่าผิดจริง จะเป็นอย่างไร?

ถึงแม้ว่าหลายฝ่าย จะมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว ว่าการตัดสินครั้งนี้มีโอกาสสูงที่ พล..ประยุทธ์ จะรอด แต่ในเปอร์เซ็นต์เล็กๆ ที่เผื่อไว้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าผิดจริงพล..ประยุทธ์จะโดนอะไรบ้าง?

ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 170 (5) กำหนดว่า ถ้ารัฐมนตรีกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187 หรือ รัฐมนตรีกระทำการอันเป็นการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 184 ที่ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ให้ความเป็นรัฐมนตรีของบุคคลนั้นสิ้นสุดลง 

นั่นหมายความว่า ถ้าศาลมีคำวินิจฉัยว่า การที่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงพักอาศัยในบ้านพักทหารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งที่เกษียณอายุทหารมาตั้งแต่ปี 2557 แล้ว ก็จะเข้าข่ายเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีก็จะสิ้นสุดลงทันที 

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ มาตรา 167 กำหนดอีกด้วยว่า รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170

ดังนั้น ถ้า พล..ประยุทธ์ ต้องพ้นจากสถานะการเป็นนายกรัฐมนตรี เหล่ารัฐมนตรีที่พล.อ.ประยุทธ์เป็นคนเสนอชื่อแต่งตั้งก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย แต่จะให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่

นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 160 ยังกำหนดเรื่องคุณสมบัติของรัฐมนตรีไว้ด้วยว่า ต้องไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุกระทําการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187 มาแล้วยังไม่ถึง 2 ปี นับถึงวันแต่งตั้ง

สรุปคือ ถ้าพล..ประยุทธ์ ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งจากคดีพักบ้านหลวง ก็จะต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี

  

  • ย้อนดูรายชื่อ "นายกรัฐมนตรี" ที่เคยถูกตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง

ระหว่างที่รอลุ้นคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เรามาดูกันว่า ในอดีตเคยมี "นายกรัฐมนตรี" ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้มีความผิด จนต้องตกเก้าอี้นายกฯ มาแล้ว มีดังนี้..

- สมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกฯ เมื่อวันที่ 9 .. 2551 จากคดีจัดทำรายการอาหาร เผยแพร่ทางโทรทัศน์ ซึ่งถือว่ามีความผิด รธน. 2550 มาตรา 267

- สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกฯ เมื่อวันที่ 2 .. 2551 โดยศาล รธน. ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน เหตุรองหัวหน้าพรรค กระทำความผิดตาม ...การเลือกตั้ง 2550 มาตรา 68 ประกอบมาตรา 237 วรรค 2

- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ศาล รธน. วินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งนายกฯ เหตุมีความผิดตาม รธน. 2550 มาตรา 268 ประกอบ 266 (2) และ (3) กรณีโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ โดยพ้นจากตำแหน่งนายกฯ เมื่อวันที่ 7 .. 2557

160682433454

แม้ว่าหลายคนจะมีคำตอบที่รู้อยู่ในใจ แต่คงต้องไปลุ้น คำชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 2 ..นี้ จะทำให้  'พล..ประยุทธ์' หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ และถ้าไม่ออกอุณหภูมิการเมืองจะถึงจุดเดือดได้มากแค่ไหน?

อ้างอิง: (1), (2), (3), (4), (5)