'เลือกตั้ง อบจ.' 2563 ตรวจแถวผู้สมัคร ‘นายก อบจ.' ศึกวัยเกษียณ!?

'เลือกตั้ง อบจ.' 2563 ตรวจแถวผู้สมัคร ‘นายก อบจ.' ศึกวัยเกษียณ!?

อุ่นเครื่องศึก "เลือกตั้งท้องถิ่น" ปี 2563 เปิดสถิติ "ผู้สมัคร อบจ." พบผู้สมัครหน้าเดิม เคยเป็นอบจ.มาแล้ว 15% แถมกว่าครึ่ง ยังมีอายุเกิน 50 ปี!!

ประเทศไทยห่างเหินไปจากการ 6 ปี เลือกตั้งท้องถิ่น หรือเลือกตั้ง นายก อบจ. และถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีกจนในที่สุดก็เพิ่งได้เลิกเคาะวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 ธันวาคม 2563

แต่ก่อนที่จะไปถึงวันเลือกตั้ง "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ทำการรวบรวมสถิติข้อมูลพื้นฐานของผู้ลงรับสมัครเลือกตั้ง นายก อบจ. ที่ได้ทั้งจากเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดต่างๆ และโทรสอบถามในหลายจังหวัดที่ไม่ปรากฏข้อมูลบนเว็บไซต์

ตามไปดูกันว่า ศึก "เลือกตั้งท้องถิ่น" ครั้งนี้ มีอะไรน่าสนใจบ้าง!

  • ผู้สมัครกว่าครึ่ง อายุเกิน 50 ปี

ถึงแม้ว่า ตามกฎหมายมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น .. 2562 และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด .. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 .. 2562 (กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง อบจ.) ได้กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น .อบจ. โดยข้อหนึ่งระบุไว้ว่า "ผู้สมัครจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง" แต่กลับกลายเป็นว่าในสนามเลือกตั้งท้องถิ่นรอบนี้ "อายุเฉลี่ย" ของผู้สมัคร นายก อบจ. กลับสูงถึง 55 ปี!!

โดยจากการรวบรวมของ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ เราพบว่า จากจำนวนผู้สมัคร "นายก อบจ." ทั้งสิ้น 331 คน หากแยกตามช่วงอายุ พบว่า

- ช่วงอายุ 51-60 ปี มีมากที่สุด คือ 115 คน คิดเป็น 34.75%
- ช่วงอายุ 61 ขึ้นไป ตามมาเป็นอันดับสอง คือ 105 คน คิดเป็น 31.72%
- ช่วงอายุ 41-50 ปี มีมากเป็นอันดับสาม ที่จำนวน 81 คน คิดเป็น 24.47%
- ช่วงอายุ 35-40 ปี มีน้อยที่สุด คือ มีเพียง 30 คน คิดเป็น 9%

โดยผู้อายุผู้สมัครน้อยที่สุดคือ 35 ปี มีเพียง 4 คน และผู้สมัครที่อายุมากที่สุดในครั้งนี้คือ 81 ปี 1 คน คือ นายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครนายก อบจ. ของจังหวัดปราจีนบุรี และเคยดำรงตำแหน่งเป็นอดีต รมช.สาธารณสุข มาแล้วในอดีต

เมื่อลองเฉลี่ยอายุออกมาแล้วก็จะพบว่า อายุเฉลี่ยของผู้สมัครในครั้งนี้อยู่ที่ 55 ปี เห็นสถิตินี้ก็อาจจะเรียกได้ว่า ศึกการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ คือศึกของวัย(เตรียม)เกษียณที่แท้!

  • หน้าเก่า-ใหม่

นอกจากเรื่องอายุที่ค่อนไปทาง สูงวัย แล้ว เมื่อเราค้นข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็น "หน้าเก่า-หน้าใหม่" เพื่อดูว่า ในจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 331 คนนี้ มีประวัติการทำงานการเมือง โดยเฉพาะเคยดำรงตำแหน่ง นายก อบจ. มาแล้วมากแค่ไหน

ในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น 2563 ครั้งนี้ เราพบว่า ในครั้งนี้มีผู้สมัครที่เคยเป็น นายก อบจ. มาแล้วทั้งสิ้น 52 คน คิดเป็น 15.71% และผู้สมัครที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งนายก อบจ. มาก่อนมีถึง 279 คน คิดเป็น 84.29%

160673955389

  • สัดส่วน "เพศ" ของผู้สมัครผู้นำท้องถิ่น

ในเรื่องของ "เพศ"​ ถ้าดูจากสถิติการของเลือกตั้งใน สนามใหญ่ ไม่ได้ทำบาร์ไว้สูงอย่างที่หลายคนคาดหวัง เช่นกันกับการลงสมัครของเหล่าว่าที่ผู้นำท้องถิ่น เพราะจากการรวบรวมข้อมูลพบว่า มีผู้สมัครที่เป็นผู้ชายกว่า 285 คน คิดเป็น 86.10% ในขณะที่ผู้หญิงเพียง 46 คน คิดเป็น 13.90% เท่านั้น

        

  • "ขอนแก่น" ผู้สมัครมากสุด / อุทัยธานี-เพชรบุรี-กระบี่ ผู้สมัครหน้าเดิม

มาถึงการสำรวจจำนวนผู้สมัครนายก อบจ. ที่จะบ่งบอกเราได้ว่าจังหวัดนั้นมีการแข่งขันสูงกันมากน้อยเท่าไหร่ จากการสำรวจการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้เราพบว่า จังหวัดที่มีผู้สมัครมากที่สุดคือ "ขอนแก่น" โดยมีผู้สมัครถึง 10 คน

ส่วน จังหวัดที่มีผู้สมัครลงแข่งขันน้อยที่สุดต้องยกให้ อุทัยธานี เพชรบุรี และกระบี่ เพราะมีผู้สมัครลงเพียง 1 คนเท่านั้น นอกจากนี้ผู้สมัครทั้งสามยังดำรงตำแหน่งนายก อบจ. คนปัจจุบันอีกด้วย

   

  • จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีผู้สมัครเพียงคนเดียว

ก่อนจะจบสถิติสนุกๆ เรียกน้ำย่อยสนามเลือกตั้งท้องถิ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น.. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ขอทิ้งท้ายด้วย กติกาการเลือกตั้งที่หลายคนอาจจะมีคำถามในใจ ในกรณีที่จังหวัดนั้นๆ มีผู้สมัคร นายก อบจ. เพียงคนเดียว เช่น 3 จังหวัดที่กล่าวข้างต้น จะถือว่า "นอนมา" ได้เป็น นายก อบจ. แน่ๆ เลยหรือไม่ 

คำตอบก็คือ ไม่ใช่ เพราะตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 111 กำหนดเอาไว้ว่า

ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ. ได้หรือไม่นั้น นอกจากจะต้องได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดแล้ว ยังจะต้องผ่านหลักเกณฑ์สำคัญ คือ การได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด หรือ Vote No

ซึ่งในกรณีที่จังหวัดนั้นๆ มีผู้สมัครเพียงคนเดียว ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน คือ "ผู้สมัครเพียงหนึ่งเดียว" จะได้รับเลือกตั้งก็ต่อเมื่อได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด หรือ Vote No อีกทั้งคะแนนที่ได้ก็จะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีกด้วย

โดยหากว่า ผู้สมัครหนึ่งเดียวที่มีอยู่นั้น ไม่สามารถเอาชนะคะแนน Vote No หรือได้คะแนนรวมไม่ถึงร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ได้ ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดย "ผู้สมัครรายเดิม" ที่ได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 10 และได้รับคะแนนน้อยกว่าคะแนนไม่เลือกผู้ใด จะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่ขึ้นด้วย!