ผ่าเศรษฐกิจทั่วไทย ต.ค. หลายภาคส่งสัญญาณฟื้น

ผ่าเศรษฐกิจทั่วไทย ต.ค. หลายภาคส่งสัญญาณฟื้น

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ เริ่มส่งผลดัชนีเศรษฐกิจไทยทั่วประเทศ ในเดือนตุลาคม 2563 หลายๆตัวบ่งชี้ว่าดีขึ้น แต่โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2563 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนตุลาคม 2563 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า


จากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน โดยในเดือนตุลาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 11.0 และ 2.5 ต่อปี ตามลำดับ


ด้านการลงทุนภาคเอกชน พบว่าจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถยนต์บรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -31.0 และ -4.3 ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -32.7 และ -17.0 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงที่ร้อยละ 776.2 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 573 ล้านบาท จากโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี

160646050226

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยในเดือนตุลาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 22.9 ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์นั่ง
เศรษฐกิจภาคใต้ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม โดยในเดือนตุลาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 27.6 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี

นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 227.6 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 433 ล้านบาท จากการผลิตสระ อุปกรณ์ประกอบสระสำเร็จรูป และเครื่องตกแต่งภายในอาคารในจังหวัดภูเก็ต เป็นสำคัญ นอกจากนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากการขยายตัวของรายได้เกษตรกร
เศรษฐกิจภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะด้านการบริโภคภาคเอกชน โดยในเดือนตุลาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค


ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 52.5 จาก 51.6 ในเดือนก่อนอีกด้วย สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน พบว่า เงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ ขยายตัวได้ร้อยละ 55.7 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 2.3 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ ในจังหวัดลำปาง เป็นสำคัญ สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ -1.0 ต่อปี


เศรษฐกิจภาคตะวันออกปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะด้านการลงทุนภาคเอกชนและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม โดยในเดือนตุลาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งสะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 15.0 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 29.3 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 5,315 ล้านบาท ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 647.5 ต่อปี จากโรงงานการเพาะเห็ดในจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นสำคัญ


เศรษฐกิจภาคตะวันตกทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนตุลาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ซึ่งกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -5.3 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนัยสนุนจากการขยายตัวของรายได้เกษตรกรที่ร้อยละ 11.3 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 27.8 ต่อปี

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนตุลาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ที่ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ -7.1 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -14.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ กลับมาขยายตัวร้อยละ 339.6 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ชะลอตัวร้อยละ -6.8 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 21.8 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 ต่อปี อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวร้อยละ -24.5