'ฆ่าตัวตาย' ปัญหาต้องแก้! ชัยภูมิยอดพุ่งต่อเนื่อง140รายต่อปี สูงสุดของภาคอีสาน

ถกด่วนปมร้อน "ฆ่าตัวตาย" ปัญหาต้องแก้ ชี้จังหวัดชัยภูมิยอดพุ่งต่อเนื่อง140รายต่อปี สูงสุดของภาคอีสาน ติงสื่อไม่ควรตีข่าววิธีการฆ่าตัวตายอย่างละเอียด

เวทีประชุมเครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดชัยภูมิ ทุกแขนงที่ห้องประชุมชั้น 2 ของสำนักงาน สสจ.ชัยภูมิ วันนี้ (27 พ.ย.) นพ.วชิระ บถพิบูลย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นจากสื่อมวลชนในพื้นที่ ในการนำไปเป็นแนวทางการจัดการบริหารแก้ไขป้องกันปัญหาสุขภาพให้กับชาวชัยภูมิ ทั้งในด้านโครงการคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ประชาชนดูแลด้วย 3 หมอ การดำเนินงาน 30 บาท ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ และปัญหาสุขภาพสู่ประชาชน ทั้งสถานการณ์โควิด – 19 โรคที่มาตามฤดูกาล สถานการณ์โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ RSV สถานการร์ผู้ป่วยเอดส์ สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศซึ่งเมื่อช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากแล้วกว่า 4 ราย

โดยเฉพาะปัญหาที่พบล่าสุดของสถานการณ์การฆ่าตัวตายสำเร็จของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มี 2559 ต่อปีมีผู้ฆ่าตัวตาย 52 ราย ปี 2560 มีผู้ฆ่าตัวตาย 93 ราย ปี 2561 มีผู้ฆ่าตัวตาย 105 ราย ปี 2562 มีผู้ฆ่าตัวตาย 125 ราย และมาในปี 2563 ที่อีกไม่อีกเดือนก็จะขึ้นปีใหม่ของปี 2564 แล้ว ล่าสุดมียอดรวมมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จไปแล้วรวมสูงกว่า 140 ราย/คน เป็นตัวสูงสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) สาธารณสุขเขตที่ 9

ปัญหาที่เป็นต้นเหตุ 

ส่วนใหญ่มาจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาชีวิตในครอบครัว ปัญหาสุขภาพ และจากสิ่งเสพติด และนำไปสู่การมีอาการซึมเศร้า ที่ทุกวันนี้เป็นการเลียนแบบมาจากสื่อต่างๆที่มีการนำเสนอวิธีการฆ่าตัวตาย ซึ่งในส่วนของจังหวัดชัยภูมิ มีตั้งแต่การผูกคอ การใช้ฆ่าสารเคมีอันตราย การใช้อาวุธ และที่มีการเลียนล่าสุดเป็นรายแรกของจังหวัดชัยภูมิ คือการลมควัน ที่ส่อไปในทางที่มีการเลียนแบบวิธีต่างๆตามกันมามากขึ้น

ติงสื่อเสนอข่าว 

ซึ่งในเวทีสื่อมวลชนสร้างสรรค์ในครั้งนี้ได้มีแนวทางที่สื่อเองจะต้องช่วยกันเปลี่ยนวิธีการรายงานข่าวที่จะเป็นแนวทางในการช่วยลดปัญหานี้ลงได้มากขึ้น ที่ไม่ควรนำเสนอวิธีการฆ่าตัวตายอย่างละเอียด โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ไม่ควรฉายภาพเหตุการณ์เป็นหลัก

แนะ 10 สัญญาณเตือน

แต่วิธีการที่ควรช่วยกันนำเสนอควรจะเป็นเรื่องที่เป็นสัญญาณเตือนของบุคคลที่เสี่ยงจะฆ่าตัวตาย เพื่อให้คนใกล้ชิด คนในครอบครัว ประชาชนใกล้เคียงได้ช่วยกันตระหนักช่วยกันป้องกันช่วยกันให้มากขึ้น ที่มี 10 สัญญาณเตือน เสี่ยงตั้งแต่ 1.ประสบปัญหาชีวิต เช่นล้มละลาย สูญเสียคนรักกะทันหัน ป่วยพิการจากอุบัติเหตุ 2.มีประวัติการใช้สุราและยาเสพติด 3.มีประวัติคนในครอบครัวเคยฆ่าตัวตาย 4.แยกตัวไม่พูดกับใคร 5.นอนไม่หลับเป็นเวลานาน 6.พูดจาด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล 7.ชอบพูดว่าอยากตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ 8.มีอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าหรือมีอาการหงุดหงิดมานาน เปลี่ยนเป็นสบายใจ อย่างผิดสังเกต 9.เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน และ10.มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า พูดจาฝากฝังคนข้างหลัง จัดการงานและทรัพย์สินให้เรียบร้อย และแจกจ่ายของรักให้คนอื่น

ครอบครัวตัวช่วยดีสุด

หากคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด พบว่ามีลักษณะดังกล่าว ต้องช่วยเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด พูดคุยและให้กำลังใจ และ จ.ชัยภูมิ ล่าสุดก็ได้เปิดศูนย์พญาแลค้ำจุนจังหวัดชัยภูมิ ขึ้นเพื่อจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะเข้าไปบริการให้คำปรึกษาสุขภาพของกลุ่มคนที่เสี่ยงและมีสัญญาณดังกล่าวขึ้น ที่สายด่วนสุขภาพจิต โทร 1323 ตลอด 24 ชั่งโมง ที่ปัญหาดังกล่าวในวันนี้เชื่อว่าสื่อมวลชนและชาวชัยภูมิทุกคนจะช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกันได้ดีมากขึ้นจากนี้ไป