เอกชนขานรับแผนแบงค์ชาติ คุมค่าเงินบาทหนุนส่งออก

เอกชนขานรับแผนแบงค์ชาติ คุมค่าเงินบาทหนุนส่งออก

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท.....มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในหลายส่วน โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีทุกการแข็งค่าของเงินบาทในทุกๆเปอร์เซ็นต์ หมายถึงผลกำไรที่ลดลง หรือ ผลอาจรุนแรงขนาดขาดทุนเลยก็เป็นไปได้

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท.....มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในหลายส่วน โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีทุกการแข็งค่าของเงินบาทในทุกๆเปอร์เซ็นต์ หมายถึงผลกำไรที่ลดลง หรือ ผลอาจรุนแรงขนาดขาดทุนเลยก็เป็นไปได้ เพราะอัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่แค่การเอาเงินที่ขายของได้ไปแลกเงินบาท แต่หมายถึงแต้มต่อการแข่งขันที่ลดน้อยถอยลงไป เพราะทันทีที่บาทแข็งค่าราคาสินค้าไทยก็จะเเพงขึ้นในทันที

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (ศุุกร์ 13 พ.ย.) ค่าเงินบาทแตะระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบ 10 เดือน ที่ 30.25 บาทต่อดอลลาร์  หรือ แข็งค่า 1.39% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งอยู่ที่ 31.68 บาทต่อดอลลาร์ นับเป็นการทุบสถิติการแข็งค่าที่เริ่มส่งสัญญาณไม่ดีแต่เศรษฐกิจต่อเนื่องแล้ว 

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อยู่เฉยไม่ได้แล้ว โดยธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเข้าดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยนต่อเนื่องเพื่อลดความผันผวนของเงินบาท นอกจากนี้ เพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทและแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างให้กับตลาดอัตราแลกเปลี่ยนช่วยให้เงินทุนคลื่อนย้ายมีความสมดุลมากขึ้น ธปท. จึงเห็นควรดำเนินมาตรการ ดังนี้

1. เปิดให้คนไทยฝากเงินตราต่างประเทศได้เสรี (Foreign Curency Deposit : FCD) และโอนเงินระหว่างบัญชี FCD ของคนไทยได้เสรี

2. ปรับกฎเกณฑ์และกระบวนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

3. การลงทะเบียนแสดงตัวตนเพื่อซื้อขายตราสารหนี้ (Bond Pre-trade Registration) ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ไทย

เกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมานี้ เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นมาตรการที่ผู้ว่าการ ธปท. คนที่ผ่านมาได้เคยนำมาใช้แล้ว และได้ผลพอสมควร แต่ระหว่างทางอาจจะต้องมีการปรับแก้ไขบ้าง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยมาตรการนี้จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยหันออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ทั้งการออกไปซื้อกิจการ ซื้อเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแรงจูงในให้ผู้ส่งออก หรือธุรกิจไทยที่อยู่ต่างประเทศ นำกำไรที่เกิดจากการค้าต่างประเทศไปลงทุนต่อนอกประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะได้ผลมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าปริมาณเงินภายในประเทศ จะไหลออกนอกประเทศมากหรือน้อย หากเงินบาทไหลออกไปต่างประเทศมากกว่าเงินดอลลาร์ที่ไหลเข้าประเทศ ก็จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง แต่หากเงินดอลลาร์ยังไหลเข้ามาภายในประเทศมากกว่าเงินที่ออกไป ก็คงไม่ช่วยในเรื่องการแข็งค่าของเงินบาทได้ ซึ่งอาจจะต้องมีมาตรการอื่น ๆ ออกมาเพิ่มเติม

ส่วนปัจจัย ที่ต้องระวังจากนี้ คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบ 2 ในยุโรป สหรัฐ และอีกหลายประเทศอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐ ที่จะทุ่มเม็ดเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก ซึ่งโจ ไบเน ได้ประกาศจะอัดฉัดเงินสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกู้เศรษฐกิจสหรัฐ มากกว่านโยบายของโดนัล ทรัมป์ ที่อัดฉัดเพียง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ก็จะยิ่งทำให้ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น

“การที่ ธปท. ออกมาตรการแก้ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะในขณะนี้ก็แข็งค่าไปถึงระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์แล้ว หากไม่ทำอะไรจะแข็งค่าไปมากกว่านี้ ให้การส่งออกแข็งขึ้นได้ยาก"

ขณะนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนไทยจะออกไปซื้อกิจการในยุโรป และสหรัฐ เพราะการระบาดของโควิด-19 รอบ 2 ได้ซ้ำเติบเศรษฐกิจของยุโรปลงไปมาก จนคาดว่าในไตรมาส 4 เศรษฐกิจยุโรปอาจจะติดลบไปถึง 2% ทำให้จะมีกิจการเป็นจำนวนมากที่ล้มละลาย หรือต้องเร่งขายกิจการ ซึ่งหากไทยเข้าไปซื้อเก็บไว้ ก็จะได้ทั้งเทคโนโลยี และตลาด หากโควิด-19 คลี่คลาย ก็จะเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจไทยในการเจาะตลาดยุโรป

วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) กล่าวว่า ช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกของไทยมีปัญหา ลดทอนความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเงินของคู่แข่งอ่อนค่ากว่าเรามาก ดังนั้นการที่ธปท.ออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม ซึ่งมาตรการที่ออกมาก็ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการแทรกแซงค่าเงิน ก่อนหน้าอาจจะกลัวเงินไหลออก แต่ครั้งนี้กังวลเรื่องของเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศเพื่อเป็นการปั่นค่าเงิน ที่ผ่านมาหากไม่มีโควิด-19 ธปท.ก็น่าเปิดให้มีการนำเงินไปซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้หรือไปลงทุนต่างประเทศ แต่เมื่อเจอโควิด-19 ก็ไม่สามารถทำได้

“การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเรื่อยนอกจากจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันแล้วเรายังอาจต้องเสียตลาดส่งออกให้กับคู่แข่งอีกเพราะการที่ค่าเงินคู่แข่งอ่อนก็จะส่งสินค้ามาทดแทนสินค้าเราได้เรื่อยๆและไทยคงกลับไปตลาดเดิมได้อีกก็ยากขึ้น”

สำหรับมาตรการที่ออกมาแม้ไม่เห็นผลทันทีแต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าไม่มี การปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งเรื่อยๆและให้เงินทุนไหลเข้าประเทศ แล้วใช้วิธีการแทรกแซงด้วยวิธีเดิมๆคงไม่ได้และไม่คุ้มค่า ซึ่งการออกนโยบายแบบนี้น่าจะเป็นวิธีที่ดีและต้องออกมาอย่างต่อเนื่อง หากมาตรการดังกล่าวนี้ใช้ได้และเห็นผลดีก็จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยอย่างแน่นอน เพราะจะทำให้ค่าเงินของไทยไม่แข็งค่ามากเกินไปจนน่ากังวล ประกอบการกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีการคงอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่ามาตรการทั้ง 2 ส่วนนี้จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย ทั้งนี้สรท.มองว่าค่าเงินบาทของไทยควรจะอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์จะทำให้ไทยขายสินค้าได้มากขึ้น