เจาะความเห็น 'ศูนย์วิจัยกสิกรไทย' ต่อมาตรการ 'คุมเงินบาท' ของแบงก์ชาติ

เจาะความเห็น 'ศูนย์วิจัยกสิกรไทย' ต่อมาตรการ 'คุมเงินบาท' ของแบงก์ชาติ

"ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" ให้ความเห็นกรณี ธปท.ออกมาตรการดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เน้นเป้าหมายสร้างสมดุลให้กับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายขาเข้า-ขาออก เพื่อเตรียมรับมือกับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2563) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดบทวิเคราะห์ให้ความเห็นกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท โดยในรอบน้ีมุ่งเน้นที่การเสริมสร้างกลไกในระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน โดยแบ่งมาตรการออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่

1.การคลายเกณฑ์สำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD) สำหรับคนไทย

2.การขยายวงเงินและประเภทหลักทรัพย์ต่างประเทศที่นักลงทุนไทยสามารถลงทุนได้

และ 3.การกำหนดให้มีการลงทะเบียนแสดงตัวตนเพื่อซื้อ-ขายตราสารหนี้ (Bond Pre-trade Registration)

ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการของหลายประเทศในเอเชีย อาทิ เกาเหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน ซึ่งเปิดรับเงินทุนเคลื่อนย้ายและนักลงทุนสามารถซื้อ-ขายตราสารหน้ีได้อย่างเสรี แต่ต้องมีการระบุตัวตนท่ีชัดเจน

เนื่องจากตลาดเงินตลาดทุนของไทยตลอดปี 2563 ที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบมากขึ้นจากแนวโน้มความผันผวน และปัจจัยเสี่ยงในตลาดการเงินโลก ซึ่งล่าสุดมีการกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมท้ังไทย ภายหลังจากท่ีการเลือกต้ังประธานาธิบดีสหรัฐส้ินสุดลง และมีความหวังมากข้ึนต่อการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยหากนับระหว่างวันที่ 1-19 พ.ย.2563 พบว่ามีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นและพันธบัตรรวมกันเป็นจำนวน 6.97 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือน ขณะท่ีเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 10 เดือนท่ี 30.14 ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวท่ีระดับ 30.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในปัจจุบันสถานการณ์เงินบาทดังกล่าวเป็นหนึ่งในประเด็นที่น่ากังวล เพราะการแข็งค่าของเงินบาทในเวลาน้ีอาจกระทบต่อ เส้นทางการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจไทยในภาพรวม

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการดูแลค่าเงินบาทของ ธปท. เน้นเป้าหมายในการสร้างสมดุลให้กับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายขาเข้า-ขาออก เพื่อเตรียมรับมือกับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่อาจจะมีโอกาสไหลเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินไทยมากขึ้นในระยะข้างหน้า ขณะที่ในฝัเงินดอลลาร์ฯเองก็ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าตามสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ทั้งนี้มาตรการในส่วนที่เป็นการปรับเกณฑ์ของ FCD และการผ่อนคลายข้อกำหนดการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทยนั้น มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นแรงซื้อเงินตราต่างประเทศ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเงินทุนขาออก ซึ่งอาจชะลอ-ลดแรงกดดันด้านแข็งค่าของค่าเงินบาท

ขณะที่การกำหนดให้มีการลงทะเบียนแสดงตัวตนเพื่อซื้อ-ขายตราสารหนี้นับเป็นการยกระดับการติดตามข้อมูลพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยให้เข้มงวดมากขึ้น ตั้งแต่การเริ่มทำธุรกรรมซื้อ-ขายตราสารหนี้ เมื่อเทียบกับเกณฑ์เดิมที่กำหนดให้มีการส่งรายงานชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (Ultimate Beneficiary Owners : UBO) ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ หรือ NR ที่เป็นเจ้าของที่แท้จริง และ/หรือผู้ที่มีอำนาจทั้งในทางตรงและทางอ้อมในการตัดสินใจทำธุรกรรมเพื่อถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ 

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการสรุปมาตรการ และมีข้อสังเกตต่อมาตรการในรอบนี้ ดังนี้

160587419142

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อาจต้องใช้เวลาอีกระยะเพื่อติดตามประสิทธิผลของมาตรการดังกล่าวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการเพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้กับนักลงทุนไทย (เพื่อเพิ่มแรงซื้อเงินตราต่างประเทศชะลอเงินบาทแข็งเนื่องจากการกระจายพอร์ตการลงทุนยังขึ้นอยู่กับจังหวะและสภาพตลาดต่างประเทศ ผลตอบแทนเปรียบเทียบเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศสำหรับกรณีนักลงทุนรายย่อย ขณะที่การกำหนดเกณฑ์ยืนยันตัวตนก่อนการซื้อขายตราสารหนี้ อาจช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากการพักเงินระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะมีผลกับการเคลื่อนไหวของเงินบาทในบางช่วง แต่ไม่ใช่มาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้า

นอกจากนี้ปัจจัยพื้นฐานจากแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอาจหนุนให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ก็อาจจะโน้มอ่อนค่าลงเพิ่มเติมในช่วงปีข้างหน้าตามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ และสัญญาณการยืนดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อเนื่องของธนาคารสหรัฐฯ

ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าผ่านระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในปี 2564 (โดยธนาคารกสิกรไทยประเมินค่าเงินบาทที่ระดับ 29.00-29.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ สิ้นปี 2564) ดังนั้น ธปท.อาจจำเป็นต้องเข้าดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อลดความผันผวนในระยะสั้นและประเมินความจำเป็ของการปรับใช้มาตรการดูแลเงินบาทเพิ่มเติมอีกในระยะต่อๆ ไป