“โควิดมาราธอน: ห่างกันไว้...แต่ไปด้วยกัน”

“โควิดมาราธอน: ห่างกันไว้...แต่ไปด้วยกัน”

ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีเมื่อเหล่าบริษัทผลิตวัคซีนในต่างประเทศ ได้เปิดเผยผลการทดลองวัคซีนที่นำมาใช้ทดลองในมนุษย์แล้วเห็นผลมากกว่า 90%

ทว่า ต่อให้มีวัคซีนนั้น แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาให้คำแนะนำ ย้ำเตือนให้ประชาชนยังคงปฎิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเองและเว้นระยะห่างทางสังคม

HITAP (Heaith Interventien and Techmelagy Assessment Program โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) หน่วยงานวิจัยกึ่งอิสระภายใต้ กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจ ความคาดหวังที่อาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงเกี่ยวกับวัคซีน โควิด -19 ได้จัดกิจกรรมทอล์กออนไลน์โควิดมาราธอน: ห่างกันไว้...แต่ไปด้วยกัน

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ  กล่าวว่า โควิด-19 จะต้องอยู่ไปอีกสักระยะ เพราะต่อให้มีวัคซีนก็ไม่ใช่ว่าโรคนี้จะหายไปทันที อีกทั้งผลวัคซีนของทั้ง 2 บริษัท ที่ประกาศอยู่ตอนนี้ เป็นเพียงผลเบื้องต้น ซึ่งต้องมีการติดตามข้อมูลต่อไป แต่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีแนวโน้มที่จะมีวัคซีนโควิด-19 เริ่มใช้งาน ทำให้มีความหวังมากขึ้น เพราะการผลิตวัคซีนอีกหลายบริษัทมีลักษณะคล้ายๆ กัน นอกจากนั้น แม้การผลวัคซีนจะเป็นเบื้องต้น แต่มีหลายประเทศได้จองวัคซีนเหล่านั้นแล้ว โดยถ้ามีวัคซีนที่มีประสิทธิผล 100% ที่สามารถนำมาฉีดได้แก่คนทั่วโลก 7,000 กว่าล้านคน คาดว่าต้องใช้วัคซีน 9,000-10,000 ล้านโดส ซึ่งภายใน 1 ปี คงไม่สามารถผลิตวัคซีนได้

"สำหรับการนำวัคซีนมาใช้กับคนไทย 50% ในปี 2564 นั้นเป็นตัวเลขที่คาดว่าเมื่อฉีดไปแล้วจะประสบความสำเร็จ ไม่ต้องสูญเสียวัคซีน และเป็นการวิเคราะห์ว่าจะบริหารจัดการฉีดวัคซีนได้กี่คน และปีถัดไปหวังว่าจะมีวัคซีนจำนวนมาก หาได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าเป็นเหมือนตอนนี้ ต้องมีการจองล่วงหน้า และจ่ายเงินวันนี้ เนื่องจากความต้องการด้านโควิด -19 ดังนั้น เชื่อว่าถ้าวัคซีนในบริษัทต่างประเทศใช้ได้ผลมีประสิทธิภาพ รัฐบาลไทยสามารถจัดสรรหรือหางบประมาณมาจองได้  เพราะได้อนุมัติให้สธ.จองวัคซีนเรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งนี้เมื่อตอนนี้ยังเป็นเพียงผลเบื้องต้น อยากให้คนไทยทุกคนปฎิบัติตามมาตรการของสธ.อย่างเคร่งครัด เนื่องจากขณะนี้แม้จะยังไม่มีผลชัดเจน แต่มีประเทศยักษ์ใหญ่จองวัคซีนเรียบร้อยแล้วกว่า 6 พันล้านโดส  อยากให้ทุกคนรอข้อมูลให้ชัดเจน และประเทศไทยต้องพยายามผลิตวัคซีนด้วยตนเอง สร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศเอง"นพ.นคร กล่าว

คำว่า "การฉีดวัคซีนโควิด-19" ฟรีแก่คนไทยทุกคนนั้น คงต้องดูว่ามีวัคซีนให้เพียงพอหรือไม่ ซึ่งสธ.พยายามจัดสัดส่วนเบื้องต้น เพื่อทยอยในการฉีด และต้องเป็นวัคซีนที่มั่นใจว่ากระบวนการวิจัยได้มาตรฐาน

.นพ.เกียรติ  รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตามที่ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ได้มีการพัฒนาผลิตวัคซีนโควิด-19 ซึ่งมีการทดลองในมนุษย์ และเห็นผล 90 กว่าโดยขณะนี้แต่ละประเทศได้มีการจองวัคซีนเป็นที่เรียบร้อย อาทิ สหรัฐอเมริกา 100 ล้านโดส ญี่ปุ่น 120 ล้านโดส และอังกฤษ ประมาณ 100 ล้านโดส หรือน้อยกว่านั้น ส่วนประเทศไทยนั้น เบื้องต้นต้องการวัคซีนประมาณ  20-50 ล้านโดส 

ทั้งนี้ สำหรับกระบวนการผลิตวัคซีนของไทยเอง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนม..2564 และจะสามารถทดลองฉีดในคนกลุ่มแรกประมาณหลังเดือนเม.. 2564  โดยเบื้องต้น จะฉีดประมาณ 25-50 โดส แก่กลุ่มอาสาสมัครกลุ่มรวม 72 คน อายุ 18-55 ปี และอายุ 65-75 คน ซึ่งคาดว่าจะได้ผลชัดเจนว่าอาสาสมัครไทย หรือคนไทยควรฉีดโดสไหน

"การผลิตวัคซีน ไม่ใช่หมายความว่ามีแล้วจะสามารถฉีดได้ทันที  หรือทำให้โรคนี้หายไปได้ใน 2 ปี ดังนั้น ปกติเกณฑ์ที่จะรับรองขององค์การอนามัยโลก และอย.ในหลายประเทศ วัคซีนต้องมีผลเกิน 50% แต่ผลของทั้ง 2 บริษัทนี้ได้90กว่า% ถือเป็นข่าวดี และการฉีดวัคซีนของ 2 บริษัท ทำให้ไทยได้กำหนดเกณฑ์ในการฉีดอาสาสมัครไทยว่าเราไม่จำเป็นต้องฉีด 100 โดส ทำให้สามารถนำฉีดวัคซีนมาใช้ในการฉีดให้แก่คนไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต่อให้มีวัคซีนโควิด-19 ทุกคนจะปฎิบัติตัวเหมือนเดิมไม่ได้  ทุกคนต้องสวมใส่หน้ากาก และหมั่นล้างมือบ่อยๆ" .นพ.เกียรติ กล่าว

จากงานวิจัย พบว่า กลุ่มคนที่เหมาะสมกับการได้รับวัคซีนนั้น คงต้องดูว่าวัคซีนที่ได้รับเป็นชนิดไหน ซึ่งถ้าเป็นการป้องกันการแพรเชื้อ คงต้องฉีดให้กลุ่มคนอายุ 20-39 ปี คน เนื่องจากคนกลุ่มนี้ออกจากบ้าน และมีโอกาสติดเชื้อหรือนำเชื้อไปสู่ผู้อื่น แต่ถ้าเป็นวัคซีนเพื่อลดความรุนแรง ต้องฉีดให้แก่กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มผู้สูงอายุ

ผศ.ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย หัวหน้าโครงการและนักวิจัยอาวุโสของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ ไฮแทป (HITAP)กล่าวว่าประเทศไทยแม้จะมีมาตรการหลายอย่างในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่โควิด-19 เป็นเสมือนการวิ่งมาราธอน ที่มีการระบาดไปเรื่อยๆ อยู่กับคนไทยและคนทั่วโลกไปอีกนานเท่าใดก็ไม่มีใครรู้  เพราะต่อให้มีวัคซีนก็ใช้ว่าโรคโควิด-19 จะหายไปทันที ซึ่งในส่วนของHITAP เป็นหน่วยงานที่มีการศึกษาวิจัยต้านโควิด-19  โดยมีงานวิจัยจำนวน 2 ผลงานที่สำเร็จเรียบร้อย คือ Covid-19 Multi-Model  Comparison Collaboration (CMCC)เป็นการพัฒนาแนวทางการใช้แบบจำลองการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์สูงสุดและคำนวณผลกระทบจากมาตรการป้องกันโรค และการพัฒนาแนวทางแบ่งปันทรัพยากรทางกรแพทย์ที่ขาดแคลนในช่วงโควิด-19 เป็นต้น

ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้ก่อตั้งโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ นักวิจัยหลักในโครงการประเมินวัคซีนโควิด-19 และกรรมการที่ปรึกษาด้านการวิจัยเกี่ยวกับวัคซีน องค์การอนามัยโลก กล่าวถึงทางเลือกในการป้องกันตัวเองด้วยวัคซีน ที่เรามีอยู่กับตัว แต่หลาย คนอาจคาดไม่ถึง นั่นคือ Social vaccine (โซเชียล วัคซีน) หรือ วิธีการป้องกันตัวเองง่าย 3 วิธี ได้แก่ การล้างมือ, การใช้หน้ากาก และการเว้นระยะห่าง ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้สามารถช่วยให้เราป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ได้ระหว่างที่วัคซีนจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หรือแม้แต่หลังจากทุกคนได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม เพราะท้ายที่สุดเมื่อฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่อาจไม่ได้ผล 100%

ฉะนั้น เราสามารถป้องกันเชื้อร้ายนี้ได้ด้วยตัวเอง เริ่มที่ การเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร แต่หากเป็นไปได้ควรเว้นระยะห่าง 2 เมตรขึ้นไป ประสิทธิภาพในการป้องกันก็จะดีกว่า ในเรื่องหน้ากาก การใช้หน้ากากแต่ละแบบต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของสถานที่ที่จะไป และเลือกใช้ให้ถูกต้อง โดยหน้ากาก N95 จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) และหน้ากากผ้าตามลำดับ ในส่วนของการสวมแว่นตากันลมต้องดูบริบท หากเราอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมากจำเป็นต้องใส่ เพราะใส่หน้ากากอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันการรับเชื้อเข้าทางตาได้ และทำให้ติดเชื้อโควิด-19 ในที่สุด และในเรื่องสุดท้ายคือการล้างมือซึ่งควรทำไปตลอด แม้โควิด-19 จะถูกกำจัดไปแล้วก็ตาม เพราะว่าการหมั่นล้างมือสามารถช่วยลดการเกิดโรคอื่น ได้