“ ธรรมนัส” แก้กฎหมายสปก. ทอนอำนาจ คปจ.เอื้อนายทุน เล็งยึดโรงแรม 200 แห่ง

“ ธรรมนัส” แก้กฎหมายสปก. ทอนอำนาจ คปจ.เอื้อนายทุน เล็งยึดโรงแรม 200 แห่ง

ธรรมนัส ลดอำนาจ คปจ.ใช้ดุลพินิจเกินกรอบกฎหมาย แก้ปัญหาสะสมเอื้อต่อนายทุน เปิดทางตั้งโรงงาน ร้านขายรถในเขต สปก. พร้อมเล็งยึดคืนโรงแรม 200 แห่ง พื้นที่จากนักการเมืองอีก 2 ล้านไร่

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เปิดเผยว่า  ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เรื่องรายการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกันกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯกำหนดตามมาตรา 30 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2518 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน(ฉบับที่7)พ.ศ.2532 พ.ศ.2563  ตามที่ คปก.เสนอให้ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติ

เพื่อเป็นการแก้ปัญหา การใช้ดุลพินิจที่เกินขอบเขตของกฎหมาย ที่เป็นปัญหาสะสมกันมายาวนาน เพื่อไม่ให้ มีการใช้ดุลพินิจ ตามอำเภอใจ หากตีความตามกฎหมายฉบับเก่า ที่กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติไว้กว้างมาก แบบครอบจักรวาล ผู้ปฏิบัติงาน ภายใต้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.)ต้องใช้ดุลพินิจ ทำให้แต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดตีความแตกต่างกันไป ไม่เหมือนกัน

สำหรับการแก้ระเบียบการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.ยืนยันไม่เอื้อนายทุน การเข้ามากำกับดูแล ส.ป.ก. จะน้อมนำพระราโชบาย ร.9 ที่ให้ไว้ตั้งแต่ปี 2518 มาใช้ เพื่อประโยชน์แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน

“ไม่มีไปเอื้อนายทุน มีแต่จะทำในสิ่งที่ปกปิดและกระทำผิด กฎหมาย ส.ป.ก.แก้ให้มันถูกต้องให้ตรงกับพระราชบายของพระองค์ผู้ก่อตั้ง คือ ร.9 ทั้ง 9 ข้อ โดยจะแก้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต้องทำให้ครบ”

นายวิณะโรจณ์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) กล่าวว่า เมื่อกฎหมายให้ใช้ดุลพินิจ จึงเกิดการตีความกฎหมายและผลการใช้ดุลพินิจของ คปจ.ที่แตกต่างกันไป 72 จังหวัดที่มีที่ส.ป.ก. ตีความการใช้ประโยชน์บนที่ดิน ส.ป.ก.ออกไปแตกต่างกัน 72 อย่าง เรียกได้ว่า 72 จังหวัด 72 มาตรฐาน

ดังนั้น ส.ป.ก.จึงพิจารณาแล้ว เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร จึงต้องสร้างกรอบการปฏิบัติงานขึ้นมาให้ชัดเจน เพราะสังคมมีการขยาย บ้านเมืองมีการเติบโต สิ่งอำนาจความสะดวกมีเพิ่มขึ้น ในสังคมของเกษตรกรที่มีที่ดินส.ป.ก.

ทั้งนี้ ประกาศ คปก. ลงวันที่ 28 ต.ค.2563 จึงเป็นการกำหนดกรอบกิจการที่พิจารณาอนุญาตให้ใช้ที่ดินภายใต้กรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ คือ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ เพื่อเป็นแนวทางการใช้ดุลยพินิจให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเท่านั้น

การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องฯ ยังคงต้องอยู่ภายใต้ระเบียบ คปก. ยืนยันประกาศ ล่าสุด จึงไม่ใช่กฎหมายที่จะเปิดช่อง หรือ เอื้ออำนวยการให้มีการใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ไปเพื่อกิจการอื่นที่เอื้อต่อนายทุน ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายปฏิรูปที่ดินแต่อย่างใด 160531358527

นายวิณะโรจน์ กล่าวว่า การกำหนดกรอบแนวคิดการจัดที่ดินสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน มาตรา 30 วรรคห้า เพื่อปรับปรับปรุง หรือขยายความประกาศ คปก.สมัย นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อ ปี 2543 ที่ระบุไว้ว่า

” กิจการที่เป็นการบริการหรือเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในด้านเศรษฐกิจและสังคมในเขตดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกิจการนั้นต้องอยู่ในพื้นที่ที่ คปก. กำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อการนี้โดยเฉพาะ”มันกว้างมาก คปจ.ใช้ดุลพินิจออกได้มากมายหลากหลาย ดังนั้นประกาศล่าสุดจึงเป็นกรอบ หรือแนวทางในการปฏิบัติ ให้เกิดความชัดเจน

“สำนักงานส.ป.ก.เตรียมส่งข้อมูลและประกาศถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ว่าการพิจารณาใช้ที่ดินส.ป.ก.ที่เดิมเคยเป็นอำนาจของ คปจ. จะดึงกลับมาพิจารณาใหม่ภายใต้ คปก.ภายใต้กรอบปฏิบัติใหม่ที่เพิ่งประกาศ และจะดำเนินการตามระเบียบใหม่ เพื่อความโปร่งใสและชัดเจน และระหว่างนี้ ก็จะหารือกับมูลนิธิกฤษฎีกาเพื่อปรับปรุงกฎหมาย ส.ป.ก.ให้ทันสมัย เข้ากับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไปทั้งพื้นที่และสังคม คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ”

ส่วนกรณีที่สังคมมองว่า ประกาศของส.ป.ก. กำหนด กิจการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่นที่อยู่อาศัย ที่พัก หอพัก นั้น ขณะนี้บ้านเมืองเจริญ ชุมชนขยาย เมื่อปี 2536 มีชุมชนอยู่ประมาณ 5,000 แห่ง แต่ขณะนี้มีมากกว่า 10,000 แห่ง ต้องเข้าไปดูการเติบโตของชุมชน ว่า การมีบ้าน รีสอร์ท หรือหอพัก มันเข้าเกณฑ์ กิจการต่อเนื่องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรหรือไม่

สมมุติว่า มีการทำสวนยางพารา จำเป็นต้องมีบ้านพัก หอพัก เพื่อให้เกษตรกร คนกรีดยางอยู่ ถือว่าหอพักนั้นเป็นกิจการเกี่ยวเนื่องกับเกษตร ส่วน หอพัก นักศึกษา ต้องเข้าไปดูว่าหอพักนั้น ทำเพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรอยู่หรือไม่ ทั้งหมดในรายละเอียดนี้ต้องนำกลับไปหารือใน คปก.อีกครั้ง เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติ

“กรอบปฏิบัติยังต้องใช้ ดุลพินิจของ คปก. แต่ต้องว่ากันตามกฎหมาย เข้าเกณฑ์ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ก็สามารถทำได้ เช่น การทำโฮมสเตย์ เล็กๆ ที่ปลูกผักในพื้นที่ ทำเกษตรเพื่อป้อน โฮมสเตย์นั้นๆ ก็สามารทำได้ เพราะเข้าเกณฑ์ ทำกิจการเกี่ยวเนื่องการเกษตร”

                สำหรับบัญชีรายละเอียดกิจการอื่นๆ ตามประกาศ คปก.ลงวันที่ 28 ต.ค.2563 มีดังนี้ ข้อ1.กิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้หมายถึงกิจการดังนี้ 1.1 กิจการทางวิชาการเกษตร การสาธิตการทดลอง เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ให้หมายถึงสถานีกิจการทดลอง/วิจัย/พัฒนาพันธุ์พืช/สัตว์/ประมง แปลงสาธิต ศูนย์พัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์/พันธุ์พืช/ศูนย์การเรียนรู้

1.2 กิจการที่ส่งเสริมหรือประกันราคาพืชผลการเกษตรหรือลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร เช่นสถานที่รับซื้อ รวบรวม จัดเก็บผลผลิตการเกษตรทั้งพืชและสัตว์ ลานตากผลผลิตทางการเกษตร สถานที่ผลิต แปรรูป จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร 1.3 กินการที่เป็นข้อตกลงร่วมกับ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในการดำเนินการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร ให้หมายถึง ที่ทำการของเอกชนต่างๆตามโครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงารปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ภาคเอกชนและเกษตรกร เช่น ปลูกกาแฟ พืช ผัก ไม้ผล

1.4 กิจการที่เป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตการจำหน่ายและการตลาดให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ให้หมายถึง ศูนย์ผลิต จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้อาชีพเกษตรกรรม สถานที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ /เคมี สถานที่เคลือบผิวส้ม สถานที่รับรมควันยางพารา ที่ทำการสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ตลาดกลางจำหน่ายผลผลิตทาการเกษตร/แปรรูปสินเกษตร ร้านจำหน่ายปุ๋ย/วัสดุและอุปกรณ์การเกษตร ร้านซ่อมแซมเครื่องจักรกลการเกษตร

1.5 กิจการที่เป็นการบริการหรือเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในด้านเศรษฐกิจและสังคมในเขตดำเนินการปฏิรูปที่ดินซึ่งกิจการนั้นต้องอยู่ในพื้นที่ที่ คปก.กำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อการนี้โดยเฉพาะ

ทั้งนี้ ข้อ 1.5 เกิดจากการรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ส.ป.ก.ทั่วประเทศ ที่ คปจ.ได้ดำเนินการอนุมัติให้กิจการต่างๆสามารถทำได้ในพื้นที่ ส.ป.ก.ก่อนมีการประกาศ ซึ่งเกิดขึ้นจากการเติบโตของสังคมเมือง ส่งผลให้ต้องมีกิจการเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆขึ้น โดยการอนุมันภายใต้ คปจ.ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานนั้น

ทางส.ป.ก.เห็นว่า กิจการต่างๆเหล่านี้ เกิดความความเจริญและเติบโตของสังคม จึงให้มีไว้ในบัญชีรายละเอียดการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ มีดังนี้ 1.กิจการปั๊มน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม แก๊สแอลพีจีและอู่ซ่อมรถ เช่นปั๊มน้ำมัน ปั๊มน้ำมันชุมชน สถานีน้ำมัน ประเภทปั๊มหลอด ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก ระบบผลิตไบโอแก๊ส ปั๊มน้ำมันและซ่อมจักรยานยนต์ กิจการอู่ซ่อมรถ(เงื่อนไขต้องเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการเกษตร)

2.กิจการผลิตน้ำและน้ำแข็ง เช่นโรงงานผลิตน้ำดื่ม โรงงานผลิตน้ำดื่มระบบอาร์โอ โรงงานน้ำแข็ง ,3.กิจการตลาดจำหน่ายสินค้า เช่นตลาดกลางชุมชน ตลาดสด ตลาดนัด ,4.กิจการจำหน่ายรถยนต์และเครื่องกลทางการเกษตร เช่นร้านจำหน่ายเครื่องกลทางการเกษตร ร้านจำหน่ายรถแทรกเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้อง

5.กิจการร้านค้า เช่น ร้านจำหน่ายของชำ ร้านโชห่วย ร้านค้าปลีก ร้านจำหน่ายไฟฟ้าเครื่องใช้ในครัวเรือน ร้านตัดผม ทำผม ร้านตัดเย็บ จำหน่ายเสื้อผ้า เครื่องนอน ,6.กิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เช่นร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ร้านจำหน่ายฟอร์นิเจอร์7.กิจการไปรษณีย์ เช่น สถานที่รับส่งวัสดุภัณฑ์ และไปรษณียภัณฑ์, 8.กิจการสุขภาพ เช่นคลินิก สถานพยาบาล ทันตกรรม ร้านจำหน่ายยา/เวชภัณฑ์

9.กิจการคมนาคม เช่น สถานีขนส่ง รถรับจ้าง ,10.กิจการร้านอาหาร เช่น ร้านจำหน่ายข้าวแกง อาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยว ,11.กิจการสาธารณะที่เอกชนขอใช้ เช่นโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก และ 12.กิจการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่นที่อยู่อาศัย ที่พัก หอพัก

ในส่วนข้อ 2.กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งใช้ผลผลิตทางการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นหลัก 1.โรงงานน้ำตาล 2.โรงงานผลไม่กระป๋อง-สับปะรด/เงาะ/ลำไย/ลิ้นจี่/หรือผลไม้อื่นๆ 3.โรงงานน้ำมันพืช-ปาล์ม/ทานตะวัน 4.โรงงานหรือสถานที่สำหรับแปรรูปไม้ ผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆในเขตปฏิรูปที่ดิน 5.กิจการโรงงานผลิต/กลั่น/จำหน่ายสุราพื้นบ้าน ชุมชน และ 6.โรงเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ส.ป.ก.ได้ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ของโรงแรม รีสอร์ต ในจังหวัดภูเก็ตกระบี่ สุราษฎร์ธานี วังน้ำเขียว เชียงราย พบมีโรงแรม รีสอร์ต กว่า 300 แห่ง แต่ในจำนวนนี้มีจำนวนประมาณ 200 แห่งที่อยู่บนที่ ส.ป.ก. ต้องดำเนิน ยึดคืน และรื้อถอน แต่ต้องผ่านกระบวนการ ฟ้องร้อง จนสิ้นสุดก่อน

ส่วนที่ดิน ส.ป.ก.ประมาณ 2 ล้านไร่ ที่มีผู้มีอิทธิพลทางท้องถิ่นและนักการเมืองถือครอง ก็อยู่ระหว่างการรังวัด และเรียกเจ้าของมาเพื่อขอดูเอกสาร ที่ถือครอง ว่าเข้าเกณฑ์ ตามระเบียบของกฎหมาย ส.ป.ก. หรือไม่ ซึ่งระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง นักการเมืองท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) สมาชิกสภาท้องถิ่น (สท.) ที่ถือครองที่ ส.ป.ก.ไม่ถูกต้อง ได้ขอคืนที่ดินจำนวนมากกว่า 10,000 ไร่แล้ว