ไขปมร้อน 'ม.34' 'ดาบสองคม' เขย่าพรรคการเมือง

ไขปมร้อน 'ม.34' 'ดาบสองคม' เขย่าพรรคการเมือง

หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า "มาตรา 34" จะเป็นหนึ่งใน "ข้อร้องเรียน" ที่นักการเมืองท้องถิ่นและระดับชาติเตรียมเก็บหลักฐานไว้ยื่นร้องเรียนกับ กกต.เพื่อรอสอยฝ่ายตรงข้าม

จากผลการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติสั่ง "ห้าม" ข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ช่วยหาเสียงผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) และสมาชิกสภาจังหวัด(สจ.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กลายเป็น "กฎเหล็ก" ข้อสำคัญส่งสัญญาณไปถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง นายก อบจ.-สจ.กว่า 7 พันคน ต้องขีดเส้นแผนหาเสียงของตัวเองให้ชัดเจนอีกครั้งก่อนถึงวันเลือกตั้ง 20 ธ.ค.2563

เมื่อเนื้อหาในข้อกฎหมายถูกกำหนดให้เป็นไปตาม "มาตรา 34" ในพระราชบัญญัติ(พรบ.) การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นปี 2562 ซึ่งเป็น "ข้อบังคับใหม่" ไปถึงข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถ่ินหรือเจ้าหน้าที่อ่ืนของรัฐกระทาการใด ๆ โดยมิชอบ ด้วยหน้าท่ีและอานาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด หรือดาเนินการใด ๆ ท่ีเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ผู้สมัคร

แตกต่างจาก พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นปี 2545 ซึ่งกำหนด "ห้าม" เฉพาะข้าราชการการเมืองเท่านั้น แต่ข้อห้ามครั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงการหาเสียงผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ บุคคลข้างต้นไม่สามารถกดไลค์-กดแชร์ได้ หากกระทำถือว่าผิดเป็นความผิดตามกฎหมายทันที

สำหรับเจตนารมณ์ "มาตรา 34" ต้องการสร้างความ "เสมอภาค" ระหว่างผู้สมัครนายก อบจ.กับอิทธิพลการเมืองระดับประเทศ เพื่อปิดช่องว่างความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้สมัครด้วยกันเอง แต่อีกด้านเป็นประเด็นที่พรรคการเมืองเชื่อว่า จะกระทบต่อพรรคการเมืองในกลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครในนามพรรค ปิดช่องไม่ให้ "กลุ่มต้องห้าม" ช่วยผู้สมัครหาเสียง ไม่เว้นวันหยุดราชการหรือเวลานอกราชการในนามพรรคตาม "ข้อกำหนด" ของ พรบ.ฉบับนี้ได้

ถึงแม้ในทางการเมืองจะทราบดีว่าการสนับสนุนผู้สมัครต่อกระแส-กระสุนในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าพรรคการเมืองใดๆ แต่อีกด้านใน "มาตรา 34" กลับเป็นยาแรงที่สะเทือนต่อผู้สมัครเลือกตั้ง เพราะหากพบความผิดคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) หรือกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้อำนวยการการเลือกต้ังประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ กกต.มอบหมายจะมีอำนาจ "ส่ังให้ยุติ" หรือระงับการกระทำนั้นทันที 

โดยเฉพาะนำมาเป็นเหตุให้การเลือกตั้งไม่สุจริต-เที่ยงธรรม เข้าข่ายตาม "มาตรา 69" ห้ามมิให้เจ้าหน้าท่ีรัฐใช้ตำแหน่งหน้าท่ีกระทำการใดๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร ซึ่งมีบทลงโทษตรม "มาตรา 126" วรรคสอง "ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาทถึง 2 แสนบาท หรือท้ังจำท้ังปรับ และให้ศาลส่ังเพิกถอนสิทธิเลือกต้ังของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี" 

ส่วนบทลงโทษของพรรคการเมือง ถูกกำหนดใน "มาตรา 118" หากพบว่าผู้สมัครกระทำความผิดใส่ร้าย-กลั่นแกล้งผู้สมัครรายอื่น โดบพบว่าได้รับการสนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจของ "หัวหน้าพรรคการเมือง" ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งมีบทลงโทษรุนแรงที่สุดถึงขั้นยุบพรรค

ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า "มาตรา 34" จะเป็นหนึ่งใน "ข้อร้องเรียน" ที่นักการเมืองท้องถิ่นและระดับชาติเตรียมเก็บหลักฐานไว้ยื่นร้องเรียนกับ กกต.เพื่อรอสอยฝ่ายตรงข้าม หลังประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ 30 วันนับตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.2564 

จาก "ข้อห้าม" มาตรา 34 ซึ่งโยงไปห้ามไปถึง ส.ส.ซึ่งสังกัดพรรคการเมือง ในทางกลับกันจาก "ระเบียบคณะกรรมการการเลือกต้ัง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น 2563" ข้อ 7 พรรคการเมืองสามารถช่วยผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งได้ โดยพรรคการเมืองนั้นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบน้ี และให้ถือเป็นการโฆษณาหาเสียงเลือกต้ัง ท้ังนี้ให้นับรวมค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครน้ันด้วย

ส่วนใน "ข้อ 9" วรรคสอง ได้เขียนถึงกรณีผู้สมัครจะนำข้อมูลเกี่ยวกับพรรคการเมืองหรือนำภาพไปใช้หาเสียง จะต้อง "ได้รับความยินยอม" จากบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น และไม่ขัดต่อมาตรา 34 แห่งพรบ.เลือกตั้งท้องถิ่น 2562 ทำให้ประเด็นนี้บรรดาพรรคการเมืองทั้งหลาย ไม่มั่นใจว่า "เส้นแบ่งแดน" การช่วยหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้จะทำได้แค่ไหนอย่างไร 

"รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย" อาจารย์ประจำสาขา วิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช บอกกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า จุดดีของพรบ.ฉบับนี้ยังไม่เห็นชัดเจน เนื่องจากมีการขัดกันของตัวเองจากที่ไม่มีข้อจำกัดให้พรรคการเมืองสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่นรูปแบบใดก็ตาม แต่ก็ย้อนแย้งตรงที่การห้ามบรรดาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างฝ่ายข้าราชการประจำ จะไปเกี่ยวข้องทั้งทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้สมัครและกลุ่มการเมืองได้ 

หรือกระทั่งมาตรา 38 (2) ที่พูดเรื่องอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังเป็นปัญหาจากแนวทางในการนับอายุกัน จนเป็นหนึ่งประเด็นที่เข้าสู่ กกต.เพราะในเขียนในมาตรา 38 (2) ไว้ว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง แต่กลับมีหนังสือเวียนจากกระทรวงมหาดไทยให้รวบรวบทะเบียนราษฎร ที่เกิดก่อนวันที่ 22 ธ.ค.2545 ก็เท่ากับว่าเป็นการนับเกินซึ่งก็เป็นผลมาจาก พรบ.ฉบับนี้เช่นเดียวกัน

"กฎหมายพรบ.เลือกตั้งท้องถิ่นปี 2562 เกิดขึ้นจากมุมมองของรัฐ ซึ่งในมาตรา 34 รัฐมองในเรื่องมุ่งการเสมอภาคให้กับบรรดาผู้สมัครและกลุ่มการเมือง แต่ไม่ได้มองในสภาพความเป็นจริงว่า กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามนิติสังคมหรือไม่ และคงไม่สามารถใช้กฎหมายมาเป็นตัวกำกับความสัมพันธ์ทางสัมคมการเมืองของมนุษย์ได้"

"รศ.ดร.ยุทธพร" ประเมินให้เห็นว่า ในทางกลับกันกฎหมายในลักษณะนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อเป็น "เครื่องมือ" ในทางการเมืองกันอย่างมาก จึงเป็นสิ่งที่ต้องสะท้อนภาพให้เห็นถึงปัญหาว่ากระบวนการต่างๆ ในการบังคับใช้กฎหมายหลังจากนี้จะเกิดปัญหาในการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ ดังนั้นควรจะต้องมองในมุมอื่นๆ ว่ากฎหมายฉบับนี้ควรจะปรับอย่างไรให้สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมวิทยา และไม่ให้เป็นอุปสรรคและปัญหาต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น

"เพราะอย่าลืมว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้จะมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายอย่างมีสาระสำคัญหลายเรื่อง จนกลายเป็นสิ่งที่ต้องหยิบยกมาพูดกันมากมาย"รศ.ดร.ยุทธพร ระบุ