ท่องเที่ยวฯ-สธ.ลุยชง ศบศ.ดึงต่างชาติกักตัวในสนามกอล์ฟ 11 พ.ย.นี้

ท่องเที่ยวฯ-สธ.ลุยชง ศบศ.ดึงต่างชาติกักตัวในสนามกอล์ฟ 11 พ.ย.นี้

กระทรวงท่องเที่ยว-สธ.ลุยชง ศบศ.ดึงต่างชาติกักตัวในสนามกอล์ฟ 11พ.ย.นี้ ตั้งเป้าดูดนักกอล์ฟจาก 4 ชาติเอเชีย “เกาหลี-ญี่ปุ่น-จีน-ไต้หวัน” ด้าน “อนุทิน” เสนอสนามกอล์ฟ “แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ทแอนคันทรีคลับ” อ.ปากช่อง เป็น 1ใน5 สนามแรกของไทยที่ตอบรับเป็นALSQ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯและกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ร่วมกันผลักดันให้มีการกักตัวชาวต่างชาติที่สนามกอล์ฟซึ่งมีห้องพักรองรับเป็นไปตามมาตรฐานของโรงแรมกักตัวทางเลือกทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด (ASQ/ALSQ) เนื่องจากมีดีมานด์ของนักกอล์ฟชาวต่างชาติ อาทิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน แสดงความประสงค์ต้องการเดินทางมาไทย เช่น กลุ่มนักกอล์ฟเยาวชนจากเกาหลีใต้ต้องการเดินทางหนีหนาวมาเก็บตัวช่วงปลายปีที่สนามกอล์ฟในประเทศไทย โดยทั้ง 2 กระทรวงจะร่วมกันเสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ.ในวันพุธที่ 11 ..นี้ ก่อนนำเสนอต่อ ครม.ในสัปดาห์ถัดไป

สัปดาห์ที่แล้วทูตเกาหลีมาเข้าพบผม ทางท่านทูตฯได้เสนอว่าทำไมไม่เอาสนามกอล์ฟเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก เพราะปกติทุกปีจะมีนักกอล์ฟเยาวชนจากเกาหลีใต้กว่า 1,000 คนเดินทางมาอยู่ไทย 3 เดือนเพื่อเก็บตัวช่วงปลายปี

โดยรูปแบบการกักตัวที่สนามกอล์ฟจะแตกต่างจากโรงแรม ASQ และ ALSQ ทั่วไป เพราะนักกอล์ฟสามารถออกจากห้องพักมาเล่นกอล์ฟได้ในพื้นที่กว้างซึ่งสามารถรักษาระยะห่าง ที่สำคัญต้องไม่ปะปนกับสมาชิกหรือผู้เล่นรายอื่นๆ ของสนามกอล์ฟ 

เบื้องต้นมีสนามกอล์ฟ 5 แห่งทั่วประเทศตอบรับสนใจเข้าร่วมเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก ALSQ แล้ว ได้แก่สนามกอล์ฟแรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ทแอนคันทรีคลับ .ปากช่อง .นครราชสีมา ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ซึ่งทางนายอนุทินได้เสนอให้เป็นสถานที่รองรับนักกอล์ฟต่างชาติของโมเดลนี้ ส่วนสนามกอล์ฟอีก 4 แห่งตั้งอยู่ที่ .เชียงใหม่.ลำพูน.สระบุรี และ .กาญจนบุรี ขณะนี้ทาง สธ.เริ่มดำเนินการตรวจประเมินทั้ง 5 สนามแรกแล้ว

ทั้งนี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯตั้งเป้าเพิ่มสนามกอล์ฟเข้าร่วมเป็น ALSQ ที่จำนวน 20-30 แห่งกระจายทั่วประเทศ จากจำนวนสนามกอล์ฟในไทยที่มีอยู่รวม 238 แห่ง มีจำนวนห้องพักให้บริการราว 5,000 ห้อง

สำหรับสนามกอล์ฟที่สนใจเข้าร่วมเป็น ALSQ จะต้องเจรจากับสมาชิกของสนามกอล์ฟเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการแบ่งพื้นที่สนามระหว่างสมาชิกกับนักกอล์ฟต่างชาติที่มากักตัวในสัดส่วนพื้นที่ 50:50 หรือทางผู้บริหารสนามกอล์ฟอาจต้องรับผิดชอบจัดหาสนามแห่งอื่นและค่าใช้จ่ายแก่สมาชิกแทนในช่วงที่จะใช้สนามกอล์ฟของตัวเองเป็น ALSQ