สหพัฒนพิบูล แนะออกอาวุธเร็ว ปิดเกมการขายสินค้าอุปโภคบริโภค Q4

สหพัฒนพิบูล แนะออกอาวุธเร็ว  ปิดเกมการขายสินค้าอุปโภคบริโภค Q4

ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคไตรมาส 2 ติดลบหนักสุดรอบ 40 ปี แต่โค้งสุดท้าย ไตรมาส 4 ผู้ประกอบการหวังกำลังซื้อผงกหัว ดันตลาดฟื้นตัว บิ๊กสหพัฒนพิบูล แนะ ยุคนี้ทำตลาดต้อง Agile ว่องไว ให้ทันความต้องงการผู้บริโภค ป้องกันใช้เงินสูญเปล่า

ดัชนีค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภค(Fast Moving Consumer Goods : FMCG)ของไทยที่ประเมินมูลค่าราว 9 แสนล้านบาท ปีนี้นีลเส็นเผยตัวเลขตลาดติดลบรุนแรงในรอบ 40 ปี เพราะโดนพิษโควิด-19 เล่นงานจนอ่วม แม้ช่วงมีนาคม-เมษายน จะเห็นพฤติกรรมการซื้อสินค้าข้าวของเครื่องใช้จำเป็นไปตุนไว้ มาม่า-ปลากระป๋อง ขายดีเป็นพิเศษ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม โตมากทางภาคอิสาน เป็นต้น

ทว่า ปรากฏการณ์หยิบสินค้าด้วยความตระหนก(Panic) ทำให้มีของกินใช้ยาว จนไมต้องซื้อไปอีกหลายเดือน และบางสินค้าอาจยังกินไม่หมดจนวันนี้

แล้วสถานการณ์ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี 2563 จะเป็นอย่างไร   เวทิต   โชควัฒนา   กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด(มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายและทำตลาดรายใหญ่ในเครือสหพัฒน์วิเคราะห์ทิศทางตลาดว่า สิ่งที่เลวร้ายสุดเกิดขึ้นในไตรมาส 2 และถือว่าผู้ประกอบการผ่านไปได้แล้ว จึงคาดการณ์ว่าไตรมาส 4 แนวโน้มการค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภคจะปรับตัวดีขึ้น

แรงส่งในเชิงบวก คือไตรมาส 4 มีเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ ประเพณีลอยกระทง ใกล้ช่วงปีใหม่ ผู้คนเริ่มเดินทางท่องเที่ยว แม้จะยังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ได้เต็มที่ มาแล้วตัองกักตัว 14 วัน เหล่านี้ช่วยปลุกบรรยากาศการใช้จ่ายเงิน ให้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ดีขึ้นนั่นเอง

ส่วนมาตรการพักชำระหนี้ให้ผู้ประกอบการรายต่างๆ แม้จะสิ้นสุดลง แต่เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินจะมีมาตรการดูแลบริหารจัดการลูกหนี้ เพื่อประคองให้อยู่ได้ไปด้วยกัน ทุกอย่างน่าจะผงกหัวขึ้นได้

ทั้งนี้ 9 เดือน ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคติดลบไป 6.6% แต่เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่ติดลบราว 10% ถือเป็นอัตราที่ติดลบลดง จนถึงสิ้นปีจึงคาดการณ์ติดลบเพียง 5-% เท่านั้น โดยขณะนี้สินค้าอุปโภคบริโภคบางหมวดเติบโตเป็นบวกเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1.8% ปลากระป๋อง และอาหารหมวดอื่นๆ

โค้งสุดท้าย จะทำตลาดอย่างไรภายใต้สถานการณ์เปราะบางรอบด้าน เวทิต บอกว่า นาทีนี้ไม่ใช่การแตะเบรกหรือ ต้องเหยียบคันเร่ง แต่ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ละเอียด เพื่อผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละพื้นที่ เช่น ภาคอิสาน ภาคเหนือ กำลังซื้อ การจับจ่ายใช้สอยฟื้นตัว ขณะที่ภาคกลาง และภาคใต้ยังคงชะลอตัว เพราะเศรษฐกิจในพื้นที่พึ่งพาการท่องเที่ยว เป็นต้น

ต้องไม่ยึดติดกระบวนการทำงานแบบเดิม เราต้องว่องไว ปรับตัวในการทำตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

ทั้งนี้ การทำตลาดหลังโควิด ยังต้องมีโปรโมชั่น กระตุ้นการตัดสินใจซื้อ และหนีไม่พ้นการลด-แลก-แจก-แถมแต่ต้องมีความว่องไวให้ตรงกับจังหวะความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด้วย การกำหนดกลยุทธ์อาจไม่ยาก แต่การลงมือปฏิบัติไม่ง่าย โดยเฉพาะข้อจำกัดของซัพพลายเออร์กับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่วางแผนจัดโปรโมชั่นกินเวลาค่อนข้างนาน กว่าจะหารือกับทีมงานขาย ประมาณเป้าหมายยอดขาย เมื่อปล่อยออกมาบางครั้งอาจไม่ทันการณ์

ยุคนี้ต้อง Agile ความว่องไวในการจัดโปรโมชั่นสำคัญมาก และต้องดูจังหวะ หากจัดโปรโมชั่นตอนคนไม่ออกจากบ้าน หรือทำโปรโมชั่นตอนที่ลูกค้ามีความต้องการซื้ออยู่แล้ว จะกลายเป็น Thamk you promotion ละลายเงินในแม่น้ำ

  สหพัฒนพิบูล ไม่ได้มีแค่การจัดจำหน่ายกระจายสินค้าและทำตลาด แต่บริษัทยังการร่วมทุนกับธุรกิจอื่นๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ลอว์สัน108 ซึ่ง เวทิต ฉายภาพผลกระทบช่วงโควิดมีอยู่ต่อร้านไม่น้อย แต่ปัจจุบันยอดขายพฟื้นตัวกลับมา 82% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน นั่นหมายความว่าอีก 12% ยังคงหายไป

ส่วนธุรกิจจำหน่ายสินค้าผ่านตู้อัตโนมัติหรือเวนดิ้งแมชชีน ฟื้นตัวได้ 2 เดือนแล้ว จากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบ เพราะตู้ถูกวางจำหน่ายในโรงงานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย และศูนย์การค้า ซึ่งถูกล็อกดาวน์ไปพร้อมกับห้างร้านนั่นเอง ปัจจุบัน เครือสหพัฒน์มีตู้อัตโนมัติทั้งสิ้น 13,000 ตู้ เป็นผู้นำตลาด ส่วนคู่แข่ง เช่น เวนดิ้งพลัสมีราว 5,000 ตู้ เซเว่นอีเลฟเว่น 3,000 ตู้ ที.จี. เวนดิ้งฯ ราว 2,000 ตู้ และบลูเพย์ ราว 2,000 ตู้ เป็นต้น โดยแนวโน้มตลาดีการเติบโตตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เคลื่อนตัวไปยังที่ต่างๆหรือ On the move 

สำหรับครึ่งปี สพัฒนพิบูล สร้างรายได้ 16,647 ล้านบาท กำไรสุทธฺ 921 ล้านบาท ขณะที่ปี 2562 ปิดรายได้ราว 33,412 ล้านบาท กำไรสุททธิกว่า 1,709 ล้านบาท ซึ่งจนถึงสิ้นปียังต้องจับตาดูโมเเมนตัมกำลังซื้อที่เริ่มผงกหัวขึ้น จะผลักดันรายได้ทั้งปี 2563 ให้บวกมากน้อยแค่ไหน