ถอดรหัสแฮชแท็ก ‘ไม่รับปริญญา’ สู่ ‘บิ๊กเซอร์ไพรส์’ 31 ตุลา

ถอดรหัสแฮชแท็ก ‘ไม่รับปริญญา’ สู่ ‘บิ๊กเซอร์ไพรส์’ 31 ตุลา

กว่า 8 ทศวรรษของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานที่แห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถาบันศึกษา หากแต่เป็นแลนด์มาร์คแห่งเสรีภาพ และการเรียกร้องทางการเมือง รวมทั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์แห่งการเคลื่อนไหวในหลายยุคหลายสมัย

จากที่เริ่มต้นด้วยแฮชแท็ก #ไม่รับปริญญา ซึ่งถูกเปิดประเด็นครั้งแรกผ่านเวทีชุมนุมกลุ่มนักศึกษาที่บริเวณสกายวอล์กแยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 8 ..2563 ตามมาด้วยเสียงตอบรับจากกลุ่มนักศึกษาต่อประเด็นดังกล่าว โดยมีการหยิบยกเหตุผลที่ไม่ควรนำชุดครุยไปผูกติดกับพิธีกรรมรวมถึงเป็นการปฏิเสธการให้อำนาจของสถาบัน

ลามไปถึงการยกระดับการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาเครือข่ายแนวร่วมคณะราษฎร 63” 

ล่าสุด เพจบัณฑิตธรรมศาสตร์ของราษฎรซึ่งถูกตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักศึกษาที่สนับสนุนการไม่เข้ารับปริญญาบัตร กระจายข่าวขอให้จับตาบิ๊กเซอร์ไพรส์ในวันที่ 31 ..2563 นี้ ในเวลา 17:00

พวกเขาบอกใบ้อีกว่าบิ๊กเซอร์ไพรส์ที่ว่า จะมีขึ้นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อให้จะมีกองกำลังตำรวจ ทหารมากแค่ไหน จะยกมาสักกี่ร้อยกองพัน กี่หมื่นกองพล ก็ไม่มีวันหยุดบิ๊กเซอร์ไพรส์ครั้งนี้ได้

ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากฝ่ายความมั่นคงได้ระบุถึงสถานการณ์และจำนวนนักศึกษาที่จะรับพระราชทานปริญญาบัตรในปีนี้ว่า มี 51% ของจำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมดในปีที่ผ่านมา ขณะที่นักศึกษาคณะหนึ่ง แสดงเจตจำนงไม่ขอรับพระราชทานปริญญาบัตรทั้งหมด

และแม้ฝ่ายความมั่นคงจะมองว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิดปกติเพราะทุกปี จะมีนักศึกษาที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรอยู่ในระดับประมาณ 50-54% อยู่แล้ว

160407325735

จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ได้เกิดที่ธรรมศาสตร์เป็นที่แรก มีการประเมินกันว่า เกิดจากหลายเหตุปัจจัยทั้ง มาตรการที่เข้มงวดในสภาวะ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้บัณฑิต รวมถึงญาติไม่สะดวกในการเดินทางมา อีกทั้งระยะเวลาระหว่างการจบการศึกษา และการรับปริญญาที่ในครั้งนี้ ทิ้งระยะห่างนานกว่า 1 ปี ซึ่งถือว่านานกว่าปกติที่จะทิ้งช่วงเพียงแค่ไม่กี่เดือน อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บัณฑิตตัดสินใจไม่เข้ารับปริญญาในครั้งนี้

และอีกปัจจัยสำคัญและมองข้ามไม่ได้คือการเมืองในขณะนี้ ที่อยู่ในห้วงที่กำลังสุกงอม ด้วยเงื่อนไข 3 ข้อของผู้ชุมนุม ทั้งการแก้รัฐธรรมนูญ การให้นายกฯ ลาออก รวมไปถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับการตอบรับ ขณะที่บางฝ่ายยังคงมองว่าเกิดขึ้นได้ยาก เหล่านี้จึงอาจทำให้บัณฑิตจบใหม่ในปีนี้ เลือกที่จะแสดงออกด้วยวิธีดังกล่าว เพื่อส่งสัญญาณไปยังผู้มีอำนาจว่า ถึงเวลาต้องตัดสินใจได้แล้ว

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ระยะเวลากว่า 8 ทศวรรษ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานที่แห่งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นแลนด์มาร์คแห่งเสรีภาพ และการเรียกร้องทางการเมืองในหลายยุคหลายสมัย

160407405737

ทั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ” ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นวันมหาวิปโยคที่มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อเรียกร้องในการตัดอำนาจระบอบทหาร และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนสร้างชื่อ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" และนำมาสู่การลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร ในท้ายที่สุด

เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519” ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง อาทิ การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือแม้แต่เหตุการณ์ชุมนุมในช่วงปี 2549 เป็นต้นมา ทั้งการก่อตัวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุลซึ่งธรรมศาสตร์ถูกใช้เป็นเวทีวิชาการ เพื่อเป็นดีเบตทางการเมือง ขณะนั้น

นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งก่อตั้งโดยแนวคิดริเริ่มของปรีดี พนมยงค์หัวหน้าสมาชิกคณะราษฎร สายพลเรือน และเป็นหนึ่งในมรดกของคณะราษฎร2475ที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน

จึงไม่แปลกที่แม้ผ่านไปกว่า8ทศวรรษ แต่กลุ่มแนวร่วมที่เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร63" จะเลือกใช้ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะที่ "ลานปรีดี พนมยงค์"  เป็นจุดยุทธศาสตร์  ในการประกาศ "บิ๊กเซอร์ไพรส์" ในวันที่31ต.ค.

 "บิ๊กเซอร์ไพรส์" ดังกล่าวจะกลายเป็นจุดพลิกผันทางการเมืองได้หรือไม่ต้องติดตาม...