อาฟเตอร์ช็อก!! 'ช่อง 3' โละพนักงาน 300 ชีวิต

อาฟเตอร์ช็อก!! 'ช่อง 3' โละพนักงาน 300 ชีวิต

ยังคงเดินหน้า "เขย่า" บุคลากรอย่างต่อเนื่อง สำหรับ "ช่อง 3" หลังเผชิญวิกฤติซ้อนวิกฤติ พิษเศรษฐกิจซบเซา พายุดิจิทัล ดิสรัปชั่น และโควิด-19 ฉุดรายได้โฆษณาลดลง จึงต้อง "ลดคน" 300 ชีวิต เพื่อความคล่องตัว และอยู่รอด!

เป็นอีกครั้งที่เกิดอาฟเตอร์ช็อก! ย่านวิก 3 พระราม 4 หรือช่อง 3 นั่นเอง หลังจาก สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ กรรมการผู้อำนวยการสายงานธุรกิจทีวี บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน) ได้พบปะพนักงานผ่านการประชุมTown Hall เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ได้เขย่าโครงสร้างองค์กรอีกครั้งด้วยการลดพนักงานประมาณ 300 ขีวิต และมีชื่อที่เป็นเซอร์ไพรส์ของหลายๆคนคือกะลาแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ และ นีน่า กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์

สำหรับเหตุผลของการปรับลดพนักงานครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากผลกระทบโรคโควิด-19 ระบาด ทำให้ธุรกิจต่างๆหยุดชะงัก ช่วงที่มีการล็อกดาวน์ประเทศ สกัดการแพร่ระบาดของไวรัสร้าย ส่งผลต่อยอดขายสินค้าลดลง ที่สุดแบรนด์สินค้าและบริการต่างๆต้องหั่นงบโฆษณาลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

แหล่งข่าวจากวงการทีวีดิจิทัล เปิดเผยว่า การประชุมทาวน์ ฮอลล์ของช่อง 3 ล่าสุด แม่ทัพอย่างสุรินทร์ยังไม่กล่าวถึงนโยบายการขับคลื่อนธุรกิจมากนัก  เพราะต้องการให้ผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปก่อน ซึ่งยังไม่มีใครคาดเดาสถานการณ์ได้ว่าทุกอย่างจะฟื้นตัวกลับมาอย่างไร เมื่อต้องดำเนินธุรกิจท่ามกลางความเปราะบางของไวรัสเขย่าโลก บริษัทจำเป็นต้องปรับโครงสร้างให้คล่องตัว  

ไม่รู้ว่าทุกอย่างจะกลับมาอย่างไร จึงต้องปรับโครงสร้างให้ทำงานได้อย่างคล่องตัว นี่คือเหตุผลที่ต้องทำ” 

สำหรับการปรับลดพนักงานครั้งนี้ ทุกฝ่ายได้รับผลกระทบหมด หากย้อนเวลาของการปรับลดพนักงานของบีอีซี เวิลด์ ในช่วงที่ผ่านมา เป็นดังนี้ ระลอกแรก 200 คน เนื่องจากปลายปีได้มีการคืนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล(ไลเซ่นส์) 2 ช่อง ตามด้วยระลอก 2 ต้นปี เพราะต้องยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อกหลังสิ้นสุดสัมปทานกับ อสมท และล่าสุดคือระลอก 3 ลดคน 300 ชีวิต เพราะผลกระทบโควิดนั่นเอง 

แหล่งข่าว ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ กล่าวว่า การประชุมทาวน์ ฮอลล์ครั้งนี้ ไม่ได้ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าไม่ยาวนานนัก โดยการปรับโครงสร้างลดคนจะอยู่ในส่วนของฝ่ายผลิตค่อนข้างมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ที่มีการคืนไลเซ่นส์ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ทำให้มีการเขย่าคนทำงานมารวมกันจึงต้อจัดสรรกันใหม่อีกครั้ง โดยไม่มีการยึดเกณฑ์ว่าจะต้องอายุพนักงาน อายุงาน หรือฝ่ายไหนเป็นพิเศษ 

 “คนที่ออกคือส่วนงานที่มีความซ้ำซ้อนกัน 

ส่วน 2 รายชื่อของอดีตผู้ประกาศข่าว พิธีกรดัง ซึ่งเป็นงานประจำ ต้องยอมรับว่าหลายปีที่ผ่านมา ช่อง 3 ยังคงจ้างบุคลากรบางราย เพื่อรักษาสายสัมพันธ์ที่ดีหรือ Connection ไว้ อย่างไรก็ตาม การลดพนักงานครั้งนี้ได้ระบุว่ามีผลทันทีสิ้นเดือนตุลาคม แต่แหล่งข่าวชี้แจงว่า พนักงานส่วนใหญ่ที่ต้องออกจะมีผลสิ้นเดือนธันวาคม 2563 

ทั้งนี้ หากวิเคราะห์สถานการณ์ของธุรกิจสื่อดั้งเดิม(Traditional Media) เดิมเผชิญความท้าทายจากสึนามิดิจิทัล หรือ Digital Disruotion เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โฆษณาทางทีวีลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะถูกออนไลน์แบ่งเค้กมากขึ้น ขณะที่วิกฤติโควิด-19 ระบาด เป็นปัจจัยทุบซ้ำให้ธุรกิจทรุดลงไปอีก เพราะแบรนด์สินค้าเบรกงบโฆษณา แม้ว่าที่ผ่านมาพฤติกรรมผู้บริโภคจะอยู่บ้าน และ ดูทีวีมากขึ้นจนทำให้ เรทติ้งสูงเป็นเงาตามตัว แต่เมื่อแบรนด์ไม่ใช่จ่ายเงิน ธุรกิจทีวีจึงอยู่อย่างยากลำบาก เพราะรายได้จากการขายโฆษณา "ลดลง" ตามไปด้วย 

ล่าสุด มีคําชี้แจงกรณีการเลิกจ้างพนักงาน ดังนี้ บมจ. บีอีชี เวิลด์ ผู้ระกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้มีการประกาศเลิกจ้างพนักงานครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากความจำเป็นที่บริษัทจะต้องปรับลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัทที่มีจำนวนมากลง โดยหนึ่งในการดำเนินงานที่สำคัญที่จะสามารถทำให้ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถ ลดลงได้ บริษัทเล็งเห็นแล้วว่าการปรับขนาดองค์กรให้มีความเหมาะสมสำหรับการประกอบธุรกิจของบริษัท ที่ขณะนี้เหลือเพียงช่อง 33 ดิจิทัล เพียงช่องเดียวเท่านั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในเวลานี้เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถดถอยและปัจจัยแวดล้อม รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งการปรับตัวครั้งนี้ จะทำให้บริษัทสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคต่อไป

ด้วยเหตุผลดังกล่าว บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องปรับลดและเลิกจ้างพนักงานในทุกส่วนลง ซึ่งจะมีผลสิ้นเดือนธันวาคม 2563นี้ อย่างไรก็ตาม ค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากการดำเนินการในครั้งนี้ จะเป็นไปตามกฎหมายและอยู่บนหลักของความกูกต้องและเป็นธรรมทุกประการ 

160406269570