Medical and Wellness Tourism แนวโน้มเติบโตในยุค New Normal

Medical and Wellness Tourism แนวโน้มเติบโตในยุค New Normal

การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ เป็นตลาดที่สำคัญของโลก ข้อมูลจากการประชุมสมัชชา BCG ระบุว่า Global Tourism Industry ทั่วโลกในปี 2555 มีมูลค่า 96 ลลบ. เป็นสัดส่วน Medical Tourism 1.6% หรือ 1.5 ลลบ. และ Wellness Tourism 14% หรือ 13.2 ลลบ.

ขณะที่ในปี 2560 มูลค่าตลาด Tourism Industry อยู่ที่ 125 ล้านล้านบาท เติบโต 4.6% จากปี 2555 โดยสัดส่วนเฉพาะ Wellness Tourism คิดเป็น 17% หรือ 20.4 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้คนหันมาสนใจ Wellness มากขึ้น เนื่องจาก ความสนใจดูแลสุขภาพ (Proactive มากกว่า Reactive) ถัดมา Aging Population ความต้องการมีอายุยืนยาวมากขึ้น และ Modern Lifestyle ทำให้คนมีความเครียดมากขึ้น ต้องการหาทางออก

ประเทศไทย บริการด้าน Medical and Wellness Tourism เป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูล ในปี 2560 – 2562 พบว่า Medical Tourism มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากถึง 3.6 ล้านคนต่อครั้ง มีรายได้จากการท่องเที่ยว 41,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 9,195 คน

ขณะที่ Wellness Tourism มีจำนวนนักท่องเที่ยว 12.5 ล้านคนต่อครั้ง รายได้จากการท่องเที่ยว 409,200 ล้านบาท และ เกิดการจ้างงานกว่า 530,000 คน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายของคนไข้ต่างชาติในการรักษาพยาบาลที่คำนวนเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่จดดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่านั้น ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายที่สะพัดไปยังธุรกิจอื่นๆ

160329301743

“ผศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์” ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน กล่าวในงานเปิดหลักสูตร Wellness & Healthcare Business for Executives (WHB) ที่ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา ว่า ธุรกิจบริการสุขภาพด้าน Wellness เป็นประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการตอบโจทย์ของการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

Medical and Wellness ผูกโยงกับเรื่องของการท่องเที่ยว ทำให้เกิดรายได้ทั้งภายในประเทศและจากลูกค้าต่างชาติ แม้การท่องเที่ยว และบริการทางการแพทย์ ในปี 2563 จะชะลอตัว แต่ความต้องการไม่ได้หมดไป เพราะคนเริ่มดูแลสุขภาพมากขึ้น หากเปิดประเทศได้ นักท่องเที่ยวที่จะมาเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ มีรายได้ที่ค่อนข้างมากในการจับจ่ายใช้สอย คาดว่าปี 2564 – 2565 ตลาดจะฟื้นและโตกว่าเดิม

“สิ่งที่ดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามารับบริการในประเทศไทย เนื่องจากบริการสุขภาพของไทยดี มีแพทย์เก่ง และค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป ถือว่าถูกกว่ามาก และคนไทยมีอัธยาศัยดีซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ขณะเดียวกัน หากเทียบธุรกิจบริการสุขภาพของไทย กับประเทศในอาเซียน ไทยถือว่าอยู่ในอันดับต้นๆ แม้ทางสิงคโปร์ มาเลเซีย ดูจะมีความก้าวหน้ากว่า แต่ไทยถือเป็นจุดหมายปลายทางที่คนอยากจะมา ทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย ความสามารถด้านการแพทย์ และความปลอดภัย” ผศ.ดร.นพ.ภูดิท กล่าว

ขณะเดียวกันรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาวงการแพทย์ของไทยให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาด้านสุขภาพ โดยต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในด้านสุขภาพด้วยการเติมเต็มขั้นพื้นฐานของสุขภาพ ดูแลยกระดับมาตรฐานการดูแลด้านสุขภาพต่างๆ และดูแลสุขภาพในเชิงของการท่องเที่ยว ต่อยอดในการสร้างอาชีพ

160329301655

“ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ” รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ในปี 2547 มีการจัดทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) เป็นศูนย์กลางบริการด้านเวลเนส (Wellness Hub) ที่เป็นการบริการอย่างครบวงจร โดยมีร้านสปา ร้านนวด ราว 10,500 แห่ง ที่ขึ้นทะเบียนกับ สบส. และที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนอีกจำนวนมาก ผู้ให้บริการที่เป็นพนักงานนวดราว 2 แสนคน

2) เป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยและเป็นจุดหนึ่งที่หลายประเทศเข้ามาใช้บริการ ซึ่งปัจจุบัน มีโรงพยาบาลเอกชนราว 400 แห่ง คลินิกเอกชนราว 30,000 แห่ง 3) เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) ที่เกี่ยวกับสุขภาพ และ 4) เป็นศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์คุณภาพ (Product Hub) ปีที่ผ่านมาสร้างเม็ดเงินราว 5 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขายในประเทศ

“ในปี 2556 ไทยมีผู้ใช้บริการชาวต่างชาติ เข้ามาใช้บริการด้าน Medical Service Hub มากที่สุดในโลก ประมาณ 1.2 ล้านครั้ง ส่วนในปี 2561 ขยับมาเป็น 3.42 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ด้าน Wellness เมื่อปี 2559 มีผู้ใช้บริการราว 20.5 ล้านครั้ง พอปี 2560 คาดว่าจะขึ้นเป็น 30 ล้านครั้ง จากสถานประกอบการ 10,500 แห่ง"

“ดังนั้น กลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คือ “คน” ที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน จุดเด่นของประเทศไทย คือ การบริการ ทำให้ได้เปรียบ ขณะที่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ต้องอาศัยการบูรณาการทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน เป็นสิ่งที่สำคัญ รวมถึงภาควิชาการ ที่ร่วมขับเคลื่อน เพื่อให้เราเป็นผู้นำด้านคุณภาพอย่างแท้จริง” รองอธิบดี สบส. กล่าว

160329308830

  • WHB ครั้งแรกในประเทศไทย

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และองค์กรชั้นนำระดับนานาชาติ เปิดหลักสูตร Wellness & Healthcare Business for Executives (WHB) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย มุ่งยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมทางการแพทย์ Wellness&Healthcare ของไทยสู่ระดับโลก ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมทางการแพทย์และธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับ Wellness และ Healthcare ของประเทศไทยสู่ระดับโลก 

160329301629

หลักสูตรดังกล่าว เปิดรับสมัครวันนี้ - 30 พฤศจิกายน 2563 ในรูปแบบเสวนาวิชาการกลุ่มย่อย ภายหลังเวลาเรียนเปิดให้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้เข้าอบรม มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้บริหารธุรกิจด้าน Wellness และ Healthcare ให้พร้อมในการเป็นศูนย์กลางการบริการทางแพทย์ของโลก และโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจ Wellness, Wellness Tourism & Retirement Hub, Digital Health & Telemedicine รวมถึงอุตสาหกรรมการแพทย์ในยุคหลังโควิด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://whb.info