มุมมองรัฐศาสตร์ 'ข้อเรียกร้อง'จุดอ่อนม็อบ  สถานการณ์ยังหาทางออกร่วมกันได้ 

มุมมองรัฐศาสตร์ 'ข้อเรียกร้อง'จุดอ่อนม็อบ  สถานการณ์ยังหาทางออกร่วมกันได้ 

ทัศนะ3นักวิชาการ ต่อ3ข้อเสนอม็อบคณะราษฎร และการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาล บทสรุปในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรต้องติดตาม

 มุมมองนักวิชาการต่อข้อเรียกร้องกลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร63 

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ประเมินว่า การประกาศ ...ฉุกเฉินฯ ของรัฐบาลจะควบคุมสถานการณ์การชุมนุมได้ระดับหนึ่ง แต่จะยังไม่ยุติเสียทีเดียว เนื่องจากการชุมนุมคณะนี้ไม่มีโครงสร้างแกนนำที่ชัดเจน และใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสาร นัดหมาย รวมถึงปลุกระดม คาดว่าจะมีการใช้มวลชนดาวกระจายไปตามสถานที่ต่างๆ ในช่วงแรก ซึ่งก็ต้องรอดูว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน

ในฐานะที่เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง อาจารย์ปณิธาน คาดการณ์ว่า หลังจากนี้รัฐบาลน่าจะใช้มาตรการตามกฎหมายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีประกาศและคำสั่งตาม ...ฉุกเฉินฯ ออกมารองรับเพราะลักษณะของการชุมนุมเช่นนี้ ทำให้การดำเนินการทางกฎหมายต้องรัดกุม เนื่องจากผู้ชุมนุมไม่ได้มีการจัดตั้งในรูปแบบเดิม ไม่มีการส่งกำลังบำรุงที่เป็นระบบเหมือนม็อบอื่นๆ จึงคาดว่าไม่สามารถชุมนุมปักหลักที่ใดที่หนึ่งได้นาน วิธีการจึงเน้นใช้โซเชียลมีเดียนัดหมาย และจะเคลื่อนย้ายมวลชนไปเรื่อยๆ

ฉะนั้นจึงต้องรอดูว่าการนัดชุมนุมในช่วงแรกๆ จะมีมวลชนร่วมมากแค่ไหน แนวโน้มเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่าเมื่อรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นขึ้นแล้ว มวลชนยอมปฏิบัติตามในระดับใด เชื่อว่าหากไม่มีการขนมวลชนจากต่างจังหวัดมาเติม รัฐบาลน่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ในที่สุด เนื่องจากกระแสสังคมส่วนใหญ่ไม่ได้ตอบรับ โดยเฉพาะเมื่อเกิดภาพที่เกี่ยวข้องกับขบวนเสด็จฯ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำของผู้ชุมนุมบางส่วนที่สร้างความวุ่นวายเกินความจำเป็น

รศ.ดร.ปณิธาน ยังบอกด้วยว่า การชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 2563 มุ่งประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์มากเกินไป ทำให้มีแนวร่วมไม่มากนัก แม้จะพยายามปรับแผนไปชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ก็ยังพูดประเด็นที่เกี่ยวกับสถาบันเป็นหลักของชาติ ไม่ยอมเคลื่อนไปสู่ประเด็นทางการเมืองจริงๆ แม้จะย้ายไปชุมนุมที่ศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลแล้ว ซึ่งเนื้อหาการชุมนุมแบบนี้ทำให้เกิดปัญหา และสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายการกระทำที่ผิดฎหมาย

นอกจากการประกาศใช้ ...ฉุกเฉินฯแล้ว ยังมีกระเแสตั้งคำถามเกี่ยวกับการระดมกำลังตำรวจจำนวนมากเพื่อควบคุมสถานการณ์การชุมนุมด้วย แม้ว่าจะมีการสลายการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและจับกุมแกนนำบางส่วนไปแล้ว

  • มาตรการรัฐปัจจัยเสี่ยงจุดพลิกผัน” 

ประเด็นนี้ แหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยงานความมั่นคง อธิบายว่า หากมาตรการของภาครัฐไม่เข้มแข็งเพียงพอ กลุ่มผู้ชุมนุมอาจนัดรวมตัวกันแบบต่างคนต่างมาคราวละมากๆ โดยใช้ฮ่องกงโมเดล คือการปิดสถานที่ ปิดถนน ปิดเส้นทางคมนาคม และเผาทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้องที่ตนต้องการ เช่น การปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับ เป็นต้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ก็ควรต้องยอมรับการถูกดำเนินคดี

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ แม้จะใช้มาตรการเข้มข้น แต่จะไม่มีการจับกุมแบบเหวี่ยงแห เพราะจะมุ่งเฉพาะแกนนำที่มีพฤติการณ์ปลุกระดม หรือใช้เฟกนิวส์ ให้ข้อมูลเท็จเพื่อปั่นสถานการณ์เท่านั้น

อีกประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายจับตาเป็นพิเศษก็คือท่อน้ำเลี้ยงของผู้ชุมนุม หลังจากผู้สนับสนุนหลัก ถอนการสนับสนุนไปพอสมควรในการชุมนุมรอบล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 14 ..63 ที่ผ่านมา  จากการตรวจสอบของฝ่ายตำรวจพบว่า ท่อน้ำเลี้ยงสำคัญยังมาจากกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังอย่างสับๆ ซึ่งตอนแรกประเมินว่าเมื่อท่อน้ำเลี้ยงเหลือน้อยลง จะทำให้การชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ..มีปัญหา ไม่สามารถชุมนุมยืดเยื้อได้

แต่เมื่อสถานการณ์พลิกผัน มีการสลายการชุมนุมเมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 15 .. ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนยุทธวิธีมาใช้การนัดแฟลชม็อบ และชุมนุมแบบระยะสั้นแทน เมื่อชุมนุมเสร็จก็กลับบ้าน จากนั้นวันถัดไปก็นัดใหม่ การชุมนุมรูปแบบนี้มีต้นทุนต่ำกว่าการชุมนุมยืดเยื้อ ฉะนั้นการที่ท่อน้ำเลี้ยงของม็อบลดลงไปบางส่วน จึงไม่ส่งผลกระทบกับสถานการณ์การชุมนุม ค่าใช้จ่ายหลักของการชุมนุมรูปแบบนี้จึงมีเพียงค่าจ้างกลุ่มการ์ดกับค่าเช่าเครื่องเสียงเท่านั้น

นอกจากนั้น ยังมีการประเมินว่า หากม็อบนัดชุมนุมต่อเนื่องรายวัน และมีแนวโน้มพลิกมาเป็นฝ่ายได้เปรียบรัฐบาล เมื่อนั้นก็จะสามารถเรียกท่อน้ำเลี้ยง เก่าๆ ที่เคยถอนตัวไปให้กลับมาสนับสนุนใหม่ได้เช่นกัน

ดร.เจษฎ์ : สถานการณ์ยังหาทางออกร่วมกันได้

ดร.เจษฎ์ โทณวณิก นักวิชาการด้านกฎหมาย และอดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ประเมินสถานการณ์การชุมนุมของคณะราษฎร 63 ที่กำลังเกิดม็อบดาวกระจายไปทั่วว่า สถานการณ์จะบานปลายหรือไม่ขึ้นอยู่กับทั้ง 2 ฝ่าย หากฝ่ายความมั่นคงยังรักษาระดับการใช้มาตรการตามการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร ในระดับที่ไม่มีการก้าวล่วงต่อบทบัญญัติกฎหมายอื่น และการชุมนุมยังเป็นไปโดยไม่ฝ่าฝืนตัวบทกฎหมายไปมากกว่านี้

ในส่วนของความมั่นคงเองคิดว่าคงไม่มีอะไรรุนแรงเพิ่มขึ้น หากไม่มีการสลายการชุมนุมเหมือนคืนวันที่ 15 .สรุปก็คือถ้ายังชุมนุมไปเรื่อยๆ และการดำเนินการในฝ่ายความมั่นคงไม่ได้กดดันมากขึ้น ขณะที่ในส่วนของผู้ชุมนุมก็ไม่เร่งเร้าปฏิกิริยา ทุบตี ด่าทอ หรือล่วงล้ำจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ สถานการณ์ก็ยังอยู่ในระดับที่หาทางออกร่วมกันได้

ส่วนกลไกรัฐสภา จะต้องเร่งกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือไม่อย่างไร ก็ต้องว่ากันไป แต่ในส่วนของพรรครัฐบาลบางพรรคมีท่าทีต้องการปรับเปลี่ยนแก้ไขรัฐธรรมนูญฉะนั้นหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วยกร่างใหม่ จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็จะเป็นทางออกได้ แต่หากรัฐบาลกระชับพื้นที่ บีบทำให้เกิดการเร่งเร้าของกลุ่มผู้ชุมนุม หากกลุ่มผู้ชุมนุมเองไม่ลดทอน ยังคงเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบัน และลุกลามบานปลาย จนมีการกำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องดำรงพระองค์เช่นนั้นเช่นนี้ หรือล้มล้างสถาบัน ก็จะทำให้พูดคุยกันยาก

สถานการณ์จะลดทอนหรือเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับทั้ง 2 ฝ่ายจะเติมเชื้อไฟลงไปหรือไม่ หากช่วยกันชักฟืนออกจากไฟ สักวันไฟก็ดับได้อดีตที่ปรึกษา กรธ. กล่าว

เมื่อถามถึงโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงนำไปสู่การรัฐประหาร ดร.เจษฎ์ มองว่า การรัฐประหารไม่มีความจำเป็นเนื่องจากสาเหตุที่นำไปสู่รัฐประหารมาจากฝ่ายความมั่นคงหรือฝ่ายทหารคุยกับรัฐบาลไม่รู้เรื่อง หรือฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ มีเหตุการณ์รุนแรงจนเกินการควบคุม และรัฐสภาไม่สามารถทำหน้าที่ได้ มีความขัดแย้งกับรัฐบาล จนประเทศไม่สามารถเดินหน้าได้ ถ้ามีเงื่อนไขแบบนี้ จึงจะเกิดการรัฐประหารเนื่องจากฝ่ายทหารเองต้องใช้กฎอัยการศึกเพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

แต่ขณะนี้รัฐบาลยังมีเครื่องมืออีกจำนวนมาก และคิดว่าคงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการสลายฝูงชนจนมีการบาดเจ็บ แต่สุดท้ายหากจำเป็นจริงๆ เพราะมีการทำลายข้าวของหรือทรัพย์สินสาธารณะ ก็อาจมีการเข้าสลายฝูงชนบ้าง แต่ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณอะไรบ่งชี้ไปในทางนั้น

ในมุมมองของ ดร.เจษฎ์ เห็นว่า หากผู้ชุมนุมไม่ลดทอนเรื่องการปฏิรูปสถาบัน คงคุยกันไม่รู้เรื่อง และฝั่งผู้ชุมนุมเองต้องคุยกันให้ชัดว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร เพราะถ้าหากสาเหตุที่แท้จริงคือรัฐธรรมนูญหรือรัฐบาล การปฏิรูปสถาบันก็เป็นคนละประเด็น รวมไปถึงการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญก็ไม่มีประโยชน์

ขณะนี้เองต่างฝ่ายต่างต้องทำหน้าที่ สภาต้องแก้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องแก้เรื่องการบริหารราชการแผ่นดินหยุดเรื่องคุกคามประชาชน และให้พื้นที่ผู้ชุมนุมในการแสดงออก ลดใช้วาทกรรมบางอย่าง เช่นไม่ลาออก ขณะที่ผู้ชุมนุมเองก็ต้องคิดว่าฝ่ายตนทำมากไปหรือไม่ สิ่งที่คิดหรือทำเกิดประโยชน์หรือผลกระทบอย่างไรต่อบ้านเมืองบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ความพอใจของตนเอง ถ้าถอยกันคนละก้าวแบบนี้จึงจะพอคุยกันได้

ผมมองว่าสถานการณ์การชุมนุมคงไม่จบในเดือน .. อยู่ที่ว่าสภาและรัฐบาลดำเนินการไปได้ขนาดไหนในงานของตนเอง ข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันเป็นไปไม่ได้เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในประเทศไม่เห็นด้วย และที่ผ่านมาผู้ชุมนุมบางส่วนจาบจ้วงล่วงเกิน ทำอะไรมากเกินไป เพราะการปฏิรูปสถาบันกับการด่าทอสถาบันเป็นคนละเรื่อง และการปฏิรูปสถาบันกับการล้มล้างสถาบันก็เป็นคนละเรื่อง ต้องแยกให้ออกก่อน เนื่องจากวิถีทางปัจจุบันคือด่าทอและจะล้มล้างสถาบัน ไม่ใช่ปฏิรูปสถาบันดร.เจษฎ์ กล่าวในที่สุด

ดร.สุจิตกฎหมายพิเศษต้องคำนึงระยะบังคับใช้ 

  ดร.สุจิต บุญบงการ อธิการวิทยาลัยรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และโลกาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเมินว่าข้อเรียกร้อง 3 ประเด็นของม็อบปลดแอกนั้นว่า โอกาสสำเร็จค่อนข้างยาก เพราะบางประเด็นคนไม่เห็นด้วยเช่น การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกทั้งข้อเรียกร้องนั้นไม่สมเหตุผลกัน คือ ให้นายกฯ ลาออก ขณะเดียวกันต้องเร่งแก้รัฐธรรมนูญโดยสภาฯ หากให้นายกฯ ลาออกตอนนี้ การแก้รัฐธรรมนูญยังทำไม่ได้ ดังนั้นต้องใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิม กลไกเลือกนายกฯ แบบเดิม เลือกนายกฯคนใหม่ในรัฐสภาอยู่ดี ดังนั้นสิ่งที่ผู้เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงควรตระหนักให้ดี คือ การนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่หักด้ามพร้าด้วยเข่า

ส่วนการแก้ไขสถานการณ์ชุมนุมของรัฐบาล ที่ใช้พ...ฉุกเฉินในภาวะร้ายแรงนั้นดร.สุจิตมองว่า มีความจำเป็น เพราะพบว่ามีการประท้วง ใช้วาจาจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง และมีการกระทบประมุขของรัฐ ขณะที่การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่นั้น ควรใช้วิธีที่ละมุมละม่อน และเหมาะสม แต่การประกาศใช้ ...ฉุกเฉินในสถานการณ์ร้ายแรงพิเศษ รัฐบาลต้องคำนึงถึงระยะเวลาการบังคับใช้ให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านอื่นๆ

ผมเชื่อว่ารัฐบาลต้องคำนึงถึงการใช้กฎหมายพิเศษให้ดี เพราะหากประกาศใช้นาน จะทำให้เสียภาพพจน์ของรัฐบาล และไม่เป็นผลดี ส่วนข้อเสนอที่หลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลควรใช้การพูดคุยประกอบกับการใช้กฎหมายนั้นหากฝ่ายผู้ชุมนุมและรัฐบาลเห็นร่วมกันก็ถือว่าดี แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าจะเป็นประโยชน์หรือไม่ เพราะการเจรจาจะนำไปสู่อะไร ในเมื่อนายกฯ ประกาศแล้วว่าไม่ลาออกตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม