ไขข้อสงสัย สลายม็อบ 'แยกปทุมวัน' ทำไมต้อง 'น้ำสีฟ้า' !?

ไขข้อสงสัย สลายม็อบ 'แยกปทุมวัน' ทำไมต้อง 'น้ำสีฟ้า' !?

"กอร.ฉ." แจงเหตุใช้ "น้ำสีฟ้า" เข้าสลายม็อบแยกปทุมวัน เพจดังเปิดที่มา "ส่วนผสม" สารเคมีติดทน-อยู่นาน

กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร..) ชี้แจงว่า เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุม ได้ฝ่าฝืน ...บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน ได้มีการใช้น้ำฉีด และใช้แก๊สน้ำตา ประเภทสารเคมีผสมน้ำ ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากล

ทั้งนี้ ที่ปรากฏเห็นเป็นน้ำสีต่าง จากรถฉีดน้ำ คือ การนำสี ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มาผสมกับน้ำ โดยสีต่าง ที่ใช้ผสมลงไปในน้ำ เป็นเพียงสีธรรมดาเท่านั้น เป็นการใช้จิตวิทยาให้ผู้ชุมนุมเกิดความกลัว

และสีดังกล่าว ล้างออกยาก ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถแยกผู้ชุมนุม ออกจากประชาชนทั่วไปได้ ในหลายประเทศ ก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน

ส่วนกรณีที่มีการใช้สารเคมีผสมน้ำฉีดพ่นกระจายเป็นวงกว้างนั้น สารเคมีดังกล่าว คือ "แก๊สน้ำตา" ประเภทหนึ่ง โดยสารที่สัมผัส ผู้สัมผัสจะไม่ได้รับอันตราย มีเพียงอาการแสบตาชั่วครู่ และแสบระคายเคืองผิวหนังเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ไม่มีการผสมสารเคมีประเภทกรด

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดให้สารเคมีดังกล่าว เป็นอุปกรณ์ประจำกองร้อยควบคุมฝูงชน ซึ่งการจัดซื้อ จะต้องเป็นสารเคมีที่มีมาตรฐานสากล ผ่านการทดสอบ ได้รับการยอมรับ ในเรื่องการควบคุมฝูงชน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้ จะต้องผ่านการฝึกอบรมตามที่กำหนดไว้

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า สำหรับ วิธีล้างออกให้ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดออก โดยถูไปทางเดียวกัน ห้ามถูวน

160285820162

ขณะที่เฟซบุ๊กเพจเคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัวเคยอธิบายถึงที่มาที่ไป ของน้ำสีฟ้านี้ไว้ เมื่อครั้งเกิดการชุมนุมที่ฮ่องกง และตำรวจปราบจลาจลก็ได้ใช้น้ำสีฟ้า ฉีดสลายการชุมนุมเช่นกัน โดยระบุว่า สีย้อมสีน้ำเงินละลายน้ำ แล้วฉีดใส่ผู้ชุมนุมประท้วง เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนของผู้ชุมนุมได้ แบบที่เรียกว่าเป็นหลักฐานติดตัวอย่างน้อย 3-7 วันได้เลย

สีที่ละลายน้ำที่เป็นสีน้ำเงิน (Blue) แต่คราบสีที่ติดบนผิวหนัง ที่เป็นสีฟ้าอมเขียว (Greenish blue) บนร่างกายของผู้ชุมนุมนั้น คาดว่าสีที่ว่านั้นน่าจะคือเมธิลลีนบลู” (Methylene Blue) หรือไม่ก็สีในกลุ่มของ Azure A, B, C หรืออาจจะเป็นสีของ “Thionine” (Lauth’s violet) ก็ได้

สีทั้งหมดในซีรีส์นี้ต่างก็เป็นสีย้อม ที่มีโครงสร้างส่วนให้สี (Chromophore) เป็นไธอะซีน” (Thiazines) ที่มีประจุบวก (cationic dyes) ที่สามารถติดบนวัสดุโปรตีน (Protein material) ทั้งผิวหนังคน เชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงเส้นใยไหม และขนสัตว์ได้ดี แม้ที่อุณหภูมิห้อง

แล้วสีในกลุ่มนี้จะขัดไม่ออกเลยหรือ ?

สีกลุ่มนี้มีสภาพประจุบวกที่แรงมากๆ สามารถติดบนวัสดุที่มีประจุลบ ทั้งๆ ที่มีคราบไขมัน รวมไปถึงเกิดพันธะไอออนิกกับหมู่คาร์บอกซิเลต” (Carboxylate : -COO⁻) ของโปรตีนได้ดีมาก จึงทำให้การชำระล้าง ด้วยสารซักล้างธรรมดานั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

เว้นแต่ว่าจะขัดคราบขี้ไคล หรือหนังกำพร้าออกจนหมด ซึ่งก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย (ถ้าใครเคยทำ Gram staining หรือ biological staining ด้วยสีเหล่านี้ จะซาบซึ้งถึงความยากลำบากในการขัดออกมากๆเลยนะครับ)

แม้ว่าสีเหล่านี้จะสามารถถูกรีดักชั่น (Reduction) ด้วยกลูโคส ในสภาวะเบสแก่ ซึ่งจะทำให้สีจางหายไปได้ แต่เมื่อทิ้งไว้สักพักในบรรยากาศที่มีออกซิเจนนั้น สีก็จะกลับกลายมายิ้มโชว์ความฟ้าอย่างชัดเจนอยู่ดี (ลอง search keyword “Blue bottle experiment” ดูนะครับ)

และสีกลุ่มนี้จะทนต่อสารฟอกขาวออกซิไดซ์ (oxidative bleaching agents) เช่น สารฟอกขาวคลอรีน และสารฟอกขาวเปอร์ออกไซด์ได้ดีมากๆ เลยนะครับ คือ ได้แต่รอให้เวลาผ่านไป จนเกิดการผลัดเซลล์ผิวหนังนั่นแหละครับ ท่านผู้ชม!!

160285821965

หลายๆคนก็คงสงสัยต่อว่า อ้าว แล้วสีกลุ่มนี้เมื่อรั่วไหลลงสู่สิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดมลภาวะหรือไม่

สีในกลุ่มนี้มีความคงทนต่อแสง (Light fastness) ที่ต่ำมากๆ เรียกว่าเพียงแค่ 1 เดือนเมื่อเจอแดดค่อนข้างจัดๆ  สีก็หายไปเยอะมาก(จึงไม่นิยมนำมาทำเป็นสีย้อมผ้า เว้นแต่จะนำมาย้อมบนเส้นใยอะคริลิกที่จะอยู่นานสุดนะครับ) และยิ่งในสภาวะที่ละลายน้ำนั้น สีจะสลายตัวได้เร็วมากๆ และสามารถถูกดูดซับ ด้วยวัสดุดูดซับ (absorbent) ได้ง่ายมากๆ ด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม สีในกลุ่มนี้จะสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิดมากๆ ก็อาจจะทำให้สมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในท้องถิ่นธรรมชาตินั้นเปลี่ยนแปลงไปได้นะครับ และด้วยสีในกลุ่มนี้มีสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงนิยมใช้ในการรักษาปลาจากโรคที่เกิดจากพยาธิอิ๊ค” (Ichthyopthirius sp.)” ได้ดีเลยเชียว!!