ทูตพาณิชย์เตือนสหรัฐตัดสิทธิจีเอสพีไทย31ธ.ค.นี้

ทูตพาณิชย์เตือนสหรัฐตัดสิทธิจีเอสพีไทย31ธ.ค.นี้

ทูตพาณิชย์ เผย สินค้าซอส-เครื่องปรุงรสได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสหรัฐแนะผู้ส่งออกเร่งทำตลาด

 นางสาวนิธิมา ศิริโภคากิจ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี  ประเทศสหรัฐอเมริกา  เปิดเผยว่า   จากกระแสความนิยมบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพในตลาดสหรัฐฯ ทำให้ ผู้ประกอบการสินค้าเครื่องปรุงรสในตลาดหันไปพัฒนาสินค้าทั้งด้านรสชาติและอรรถประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มยอดการจำหน่ายสินค้า โดยผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีกลยุทธ์ การทำตลาดที่แตกต่างกัน เช่น การเพิ่มผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ในน้ำจิ้มหรือซอส การเพิ่มสารอาหารที่มี สรรพคุณต่อสุขภาพ และการปรับสูตรการผลิตสินค้าให้ตรงตามแนวโน้มด้านสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่ม ผู้บริโภคในปัจจุบัน เป็นต้น  

 จากข้อมูลการสำรวจด้านอาหารและสุขภาพของคณะกรรมการมูลนิธิด้านข้อมูลอาหาร ระหว่างประเทศ (The International Food Information Council Foundation หรือ IFIC) พบว่า ผู้บริโภค ชาวอเมริกันบางส่วนยังมีเป้าหมายที่จะบริโภคผักและผลไม้เพิ่มเป็นอาหารมากขึ้นด้วย อีกทั้งเมื่อสอบถามถึง แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค ชาวอเมริกันที่เปลี่ยนไป ได้แก่ แนวโน้มการลดปริมาณบริโภคน้ำตาล แนวโน้มการลดปริมาณการบริโภคแป้ง และ คาร์โบไฮเดรต และแนวโน้มการบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการในตลาดเองก็ได้พยายามที่จะ ตอบสนองแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคดังกล่าว

             

“ความนิยมดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตเช่น บริษัท Kraft Heinz Co. ผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสินค้าซอสรายใหญ่ในสหรัฐฯ ได้เปิดตัว สินค้าซอสมเขือเทศใหม่ชนิดใหม่ที่มีส่วนผสมของผักต่าง ๆ 25%  ได้แก่ แครอท และบัตเตอร์นัทสควอช  อีกทั้ง ยังลดปริมาณน้ำตาลลงอีก 25% และยังมีผู้ประกอบการในตลาดหลายรายได้เปิดตัวสินค้ารายการใหม่ที่มี ส่วนผสมของผักและผลไม้ เช่น น้ำจิ้มจากดอกกะหล่ำของบริษัท Agrania Foods  ซึ่งข้อมูลจากบริษัทฯ ยังระบุว่า เป็นสินค้า เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ลดน้ำหนักแบบคีโต (Keto) เนื่องจากมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า 2 กรัมต่อส่วนบริโภค”

นางสาวนิธิมา กล่าวอีกว่า จำนวนประชากรในสหรัฐฯ ในปัจจุบันที่มีจำนวนมากกว่า 300 ล้านคนใน ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอาหารภายในประเทศนั้นกลับมีจำนวนไม่มากนัก จึงทำให้ไม่สามารถผลิตอาหาร ได้เพียงพอคนสำหรับประชากรในประเทศ ทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารหลายรายการ รวมถึงไทยด้วยที่ สหรัฐฯ ถือเป็นประเทศคู่ค้ารายสำคัญในกลุ่มสินค้าอาหารของไทย โดยในแต่ละปีไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่ม อาหารและเครื่องดื่มไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่าเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ โดยพบว่า กลุ่มสินค้าเครื่องปรุงรสของสหรัฐฯ มีขนาดตลาด ทั้งสิ้น 2.64 หมื่นล้านดอลลาร์นปี 2562 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าเครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหาร  36.76%  ซอสสำหรับวางบนโต๊ะอาหาร 33.65%  น้ำจิ้ม 15.91%  อาหารหมัก  9.91%  ซอสมะเขือเทศและซอสอื่น ๆ 2.34%  โดยคาดว่า ตลาดสินค้าดังกล่าวจะมีแนวโน้มขยายตัวเป็นมูลค่าตลาดทั้งสิ้น 3.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

นอกจากนี้การแพร่ระบาดของ เชื้อโควิด – 19 ทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันบางส่วนหันไปปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้านมากขึ้นทำให้ตลาดกลุ่มสินค้าดังกล่าวขยายตัวขึ้น  ในส่วนของการนำเข้าจากไทยพบว่า ในช่วงระหว่างเดือนม.ค. – ก.ค. 2563  มีมูลค่าการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น 5.04% มูลค่า 53.74 ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าน้ำจิ้มขยายตัว 10% และซอสปรุงรส 20%  

 แม้ว่าปัจจุบันสินค้ากลุ่มเครื่องปรุงรสไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวใน ตลาดสหรัฐฯ อยู่แล้วก็ตาม ผู้ประกอบการไทยในตลาดควรที่จะศึกษาแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในตลาด อย่างสม่ำเสมอเพื่อเตรียมความพร้อมปรับตัวตามแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปและรักษาฐาน ตลาดส่งออกสินค้าไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของ ผู้บริโภค เช่น การลดปริมาณ น้ำตาลในสินค้ากลุ่มน้ำจิ้ม และซอสต่าง ๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ อาหารไทยเองเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในสหรัฐฯ มาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้ง กระแสความนิยมอาหารรสเผ็ดและอาหารต่างชาติที่กำลังเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ยังเป็น โอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาและขยายตลาดในกลุ่มสินค้าเครื่องปรุงรสในสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่ม เครื่องปรุงรสพร้อมใช้งาน เช่น น้ำแกงสำเร็จรูปพร้อมปรุงบรรจุขวดหรือกระป๋องเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ผู้บริโภครุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มหันมาปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้านด้วย นอกจากนี้ จากกระแสความนิยมสินค้าหมัก ดองที่มีแบคทีเรียมีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหาร ซึ่งไทยเองมีสินค้าผักและผลไม้หมักดอง หลากหลายชนิด เช่น หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง และผักดอง เป็นต้น ดังนั้น หากผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้า ผักและผลไม้หมักดองเหล่านั้นให้มีรูปลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ที่น่ารับประทานก็อาจจะสามารถขยายตลาดในสหรัฐฯ ได้ในอนาคต 

อย่างไรก็ตาม สินค้าเครื่องปรุงรสส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ภายใต้โครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป ( จีเอสพี)  ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 31 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ โดยคาดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะเริ่มกระบวนการพิจารณาต่ออายุโครงการดังกล่าวอย่างเร็ว ที่สุดหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้ และน่าจะใช้เวลาอย่างเร็วที่สุดราว 6 เดือน – 1 ปี ซึ่ง ปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้ในระยะสั้น