Medical Tourism ฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังโควิด -19

Medical Tourism  ฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังโควิด -19

ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ในเอเชียโดย Global COVID-19 Index (GCI) ในการฟื้นตัวจากโควิด-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว เป็นโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการตลาดด้านความปลอดภัย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ช่วง New Normal ยังมุ่งทำตลาดแบบเจาะจงกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม Health and Wellness ซึ่งจะเน้นเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ และมุ่งไปสู่การท่องเที่ยว 3 แบบ คือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวร่วมกับการรักษา หรือ Medical Tourism และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร/อาหาร โดยจะชูจุดขายเรื่องความปลอดภัย เรื่องเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและอาหาร เรื่องความสวยงามของธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู และน้ำใจความเอื้ออาทรของคนไทยในการช่วยเหลือเกื้อกูล เพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการทำดิจิทัลแพลตฟอร์มให้เกิดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวร่วมกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

“คมกริช ด้วงเงิน” ผู้อำนวยการกองสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในเสวนา “กรณีศึกษาโควิด-19 กับศักยภาพธุรกิจภาคบริการของประเทศไทยสู่อนาคตโลก” เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนที่จะร่วมฟื้นฟูและสร้างรายได้ให้กับประเทศเพื่อผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ในโอกาสครบรอบ 40 ปี ของรพ.บำรุงราษฎร์ว่า “ททท. พยายามผลักดันนโยบายส่งเสริมประเทศไทย ภายใต้แนวคิด Amazing Thailand สร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เพื่อให้เป็นจุดหมายการท่องเที่ยว และเป็นการประชาสัมพันธ์ ที่ผ่านมา เราดำเนินการส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

159920832953

รวมถึงผลักดันมาตรฐานความปลอดภัย ทั้งนี้ ในส่วนของ Medical Tourism โรงแรม และโรงพยาบาล ที่ได้รับรางวัล ขอให้รักษามาตรฐาน ขณะเดียวกัน ด้านสุขภาพของไทย เป็นอันดับต้นๆ ของโลก การเปิดให้คนบางประเทศเข้ามารักษาในไทย จะเป็นโอกาสดี ทำให้ Medical Tourism สามารถขับเคลื่อนได้ Safety และ Security ต้องไปคู่กัน

ขณะที่ ธนา เธียรอัจฉริยะ” รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด และรักษาการ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าธนาคารพยายามช่วยลูกค้าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่ว่าจะ ร้านอาหาร โรงแรม ทำหน้าที่ประคอง หวังว่าเมื่อนักท่องเที่ยวกลับมา โรงแรม ร้านค้า จะยังอยู่ได้

159920832061

สถานการณ์ โควิด-19 เป็นโอกาสที่ดี ที่ประเทศไทยมีเรื่องของ Wellness ไม่ว่าจะเป็นการรักษา สมาธิ ฯลฯ มีทรัพยากรธรรมชาติ และยังสามารถใช้ชีวิตได้ปกติมากกว่าประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกัน ในระยะยาว อยากจะให้รัฐบาลวางแผนกำหนดนโยบายการใช้งบประมาณจำนวน สี่แสนล้าน ควรต้องใช้ถูกต้อง นำมาสร้างยุทธศาสตร์ชาติเรื่อง Wellness ที่เป็นโอกาสโอกาสของประเทศไทย เพราะ สุขภาพคือ ความมั่นคั่ง คู่กับเงิน ที่ต้องหยิบตรงนี้มาเป็นศูนย์กลางทางการเงินได้อย่างไร”

อย่างไรก็ตามสถานการณ์ โควิด-19 เป็นตัวเร่งดิจิทัลแบงกิ้ง ส่งผลให้ธนาคารต้องปรับแผนดิจิทัลแบงกิ้งที่เคยวางไว้ที่จะทำในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ มาเป็นต้องทำให้ได้ภายใน 1-2 เดือน เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการไปสาขา และต้องย้ายการทำธุรกรรมต่าง ๆ มาอยู่บนโทรศัพท์มือถือทั้งหมด ในช่วงโควิด SCB ได้พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม “Robinhood” (โรบินฮู้ด) ขึ้นมาใหม่ ในเวลาเพียง 3 เดือน เป็นแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่ไม่เก็บค่าจีพี ไม่มีชาร์จเพิ่ม เพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย ซึ่งค่าจีพีนับเป็น Pain Point หลักของผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กในปัจจุบัน

159920832799

ในส่วนของ ภาคธุรกิจค้าปลีก ดร.ปิยะพงษ์ ธัญญศรีสังข์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายบริหาร บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ในเครือกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล กล่าวว่าเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ห้างเซ็นทรัลฯ ได้จับมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบริการ ‘Central at Bumrungrad’ ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านบริการ ‘Chat & Shop’ และ ‘Call & Shop’ ตอบโจทย์ผู้มาพักโรงพยาบาลที่มองหาของใช้ส่วนตัวหรือของเยี่ยมผู้ป่วย พร้อมส่งฟรีถึงโรงพยาบาลทุกออเดอร์ไม่มีขั้นต่ำ และจัดส่งภายในวันเดียวกันเมื่อยืนยันออเดอร์ก่อนเวลา 18.00 น. เสมือนยกห้างเซ็นทรัลมาไว้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ขณะเดียวกันมีมาตรการเข้มงวด ทำให้ห้างมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะตรวจวัดอุณภูมิ พนักงาน หากมีการสัมผัสสินค้า จะต้องนำไปทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เพื่อให้มั่นใจ และ ปรับบิสเนสโมเดลทำอย่างไรให้ภายในประเทศกระตุ้นการใช้จ่าย ทำให้ประชาชนคนไทย ไม่กลัว ทำให้เศรษฐกิจเดินได้ด้วย ถึงจุดที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับทั่วโลก ในสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

159920832513

ส่วนในอนาคตหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ห้างเซ็นทรัล ต้องปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับยุค new normal ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงมาตรการด้าน Tracking เพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพของพนักงาน และลูกค้าที่มาใช้บริการในห้างเซ็นทรัล ในด้านเทคโนโลยี ได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีทุกช่องทาง และรองรับความรวดเร็วของการซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออมนิแชนเนล

ได้แก่ ช้อปผ่านเว็บไซต์ www.central.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง, บริการ ‘Central Chat & Shop’ ช้อปผ่านไลน์ @centralofficial, บริการ ‘Central Call & Shop’ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบริการ Drive Thru สามารถเลือกรับสินค้าและชำระเงินที่ห้างได้โดยไม่ต้องลงมาจากรถยนต์ ซึ่งจะสามารถทำให้ประเทศไทยเดินไปสู่เป้าหมายของการเป็น ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยได้ในที่สุด

  • ชูค่ารักษาหนุน Medical Hub โลก

159920832062

นภัส เปาโรหิตย์ Chief Marketing Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาสที่ประเทศได้สร้างชื่อเสียงด้าน Medical Tourism เพื่อก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เพราะมีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพของโรงพยาบาล ความชำนาญการของแพทย์ไทย รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ประหยัดกว่าสหรัฐอเมริกา ประมาณ 40-75% หรือสิงคโปร์ ประมาณ 30% หากเทียบกับในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งโครงสร้างค่ารักษาพยาบาลถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการแข่งขันสู่ Medical Hub ในระดับโลก

ขณะเดียวกันได้พัฒนายกระดับการให้บริการต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับ new normal และพฤติกรรมของผู้มาใช้บริการที่เปลี่ยนไปอย่างครอบคลุมในทุกๆ มิติ เช่น การแยกพื้นที่บริการเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ, บริการ teleconsultation, บริการ Homecare Services  เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยและครอบครัวถึงบ้าน และบริการ “60 Second Service” เพื่อให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น ฉีดวัคซีน และรับยาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เข้าถึงง่าย และปลอดภัยสูงสุด เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย เพื่อก้าวสู่โลกแห่งอนาคตในวิถี New Normal

159920832339

“ประเทศไทยผ่านหลายวิกฤตมาได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำกุ้ง สึนามิ ที่ภูเก็ต น้ำท่วมใหญ่ และการระบาดของโควิด-19 มีผู้ป่วยทั้งหมดเพียง 3,417 ราย รักษาหาย 3,274 ราย และ เสียชีวิต 58 ราย และไทยได้รับการจัดดันดับ ด้านความมั่นคงของสาธารณสุขอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ในเอเชีย โควิดมองว่าเป็นวิกฤตก็คือวิกฤต แต่หากมองว่าเป็นโอกาส ก็คือโอกาส สิ่งที่ต้องทำ คือ เปลี่ยนบริการทางการแพทย์เน้นเรื่อง Value และการเชิงป้องกัน และพาร์เนอร์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ” นภัส กล่าว

ทั้งนี้บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของโลกที่ได้การประกาศรับรองจาก Global Healthcare Accreditation (GHA) COVID-19 ซึ่งเป็นการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และตั้งเป้าสู่การบริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลก โดยยกระดับสู่การรักษาขั้นจตุตถภูมิ (Quaternary Care) ซึ่งจะอยู่บนยอดปิระมิดสูงสุดในการรักษาพยาบาล เป็นการให้การบริบาลทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนอย่างมากด้วยนวัตกรรมขั้นสูง

การรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Medicine) แบบองค์รวม ซึ่งเป็นเทรนด์ของการดูแลสุขภาพ ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึกถึงระดับพันธุกรรม ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคต รวมถึงวางแผนการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) ปัจจุบันมีบุคลากรสหวิชาชีพกว่า 4,800 คน มีผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มาใช้บริการเป็นจำนวนกว่า 1.1 ล้านรายในแต่ละปี รายได้รวมปีละ 2 หมื่นล้านบาท

159920832685

ด้าน เภสัชกรหญิงอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร (CEO) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระบุว่า ในวันที่ 10 กย.นี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  จะเปิดตัว Medical Tourism  and Wellness เพื่อก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ที่อ.บางกระเจ้า จ.สมุทรปราการ โดยเป็นความร่วมมือกับบริษัทมั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาขน)  และบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  ในการให้บริการเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีแผนจะเปิดให้บริการ 66 วิลล่าในระยะแรกจะเปิด 33  วิลล่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี อาทิ กัมพูชา เมียนมา และบังคลาเทศ