ถอดรหัส 'กำลังซื้อคนไทย' ยังไร้แววฟื้น

ถอดรหัส 'กำลังซื้อคนไทย' ยังไร้แววฟื้น

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค. จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,241 คนทั่วประเทศ โดยประเด็นที่ถามว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยพบว่าส่วนใหญ่ 60.7%1ตอบว่าแย่

“ดัชนี”คือสิ่งชี้วัดว่าสถานการณ์ต่างๆเป็นอย่างไร “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค” ก็เป็นอีกตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนก.ค. 2563 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมแทบทุกรายการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ (reopen) ในระยะที่ 1 ถึง 5 ในเดือนพ.ค.ถึงก.ค.นี้ 

ประกอบกับการที่รัฐบาลออกมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งมาตรการด้านการเงินและการคลัง เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลสูงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคตที่เกิดจากผลกระทบเชิงลบจากโควิด 

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆได้แก่ เกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ก.ค. เท่ากับ 42.6 สูงขึ้นจากมิ.ย. 41.4 โอกาสในการหางาน เท่ากับ 48.4 สูงขึ้นจาก 47.6 และ รายได้ในอนาคต เท่ากับ 59.3 สูงขึ้นจาก 58.6 

จากการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนนี้ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 49.2 เป็น 50.1

159686011680

ดังนั้นคาดว่าผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่ายไปจนถึงอย่างน้อยช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2453 จนกว่าสถานการณ์ โควิดจะคลายตัวลงและมีการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจอย่างกว้างขวาง พร้อมกับรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิดเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ในช่วงระดับต่ำสุดเป็นประวัติศาสตร์นับแต่ทำการสำรวจ 21 ปี 10 เดือนนับตั้งแต่เดือนต.ค.2541 เป็นต้นมา ถือเป็นสถานการณ์ที่ต่ำว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

“ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในไตรมาสที่ 2 แต่ก็ไม่ได้ดีกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด –19 และสถานการณ์ที่จะกลับมาเป็นปกติยังห่างไกลแม้ว่าจะดีขึ้นก็ตาม คาดว่าผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่ายออกไปจนถึงไตรมาสที่ 4 เนื่องจากมีความกังวลว่าตัวเองจะมีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่และไม่มั่นใจเศรษฐกิจจะฟื้นจริงหรือไม่ “

แม้ว่าศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วจะเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่จากปัญหาค่าครองชีพของประชาชนที่สูง ที่เป็นผลจากที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้ไม่เงินพอที่จะซื้อสิ่งของหรือใช้จ่ายต่างๆ ถือว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย ทั้งการชะลอซื้อบ้าน ซื้อรถ ซึ่งส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังอุตสาหกรรมรถยนต์และการก่อสร้าง

 นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญส่วนหนึ่งคืือ ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง ก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องเกือบปีกว่าๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเนื่องจากประชาชนกังวลกับสถานการณ์การทางเมือง โดยเฉพาะเรื่องของการปรับครม. จะทำให้สถานการณ์การเมืองนิ่งหรือไม่ แม้จะเป็นการปรับในส่วนของพรรคแกนนำรัฐบาลก็ตาม ซึ่งจุดสำคัญคือ การประสานงานการทำงานในพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะแน่นแฟ้นหรือไม่  และการแสดงความเห็นต่อรัฐบาล

 โดยการชุมนุมทางการเมืองจากกลุ่มบุคคลต่างที่ออกมาประท้วง ซึ่งขณะนี้มีการประท้วงจากกลุ่มต่างๆโดยเฉพาะนิสิตนักศึกษา ที่เข้ามาชุมนุมทางการเมือง ซึ่งสัปดาห์หน้าจะเปิดเทอมเชื่อว่ากิจกรรมการทางเมืองจะมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคยิ่งกังวลกับสถานการณ์ทางการเมืองผสมผสานกับสถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดทราบว่าในสัปดาห์หน้าทางนักศึกษาม.หอการค้าก็จะออกมาชุมนุมทางการเมืองซึ่งตนได้มีการกำชับให้การชุมนุมภายในกรอบกฎหมายและอยู่ในมาตราการการเว้นระยะห่าง

159686018636

ส่วนความกังวลปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสงครามการค้าในระดับโลก ที่ความขัดแย้งเริ่มกลับมาปะทุอีกครั้งระหว่างสหรัฐ และจีนซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกและอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต

SET Index Indexในเดือนก.ค. ปรับตัวลดลง 10.510.5จุด ,เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับ 31.15 บาทต่อดอลลาร์

นอกจากนี้ ศูนย์พยากรณ์ได้ทำการสำรวจทัศนะและพฤติกรรมของประชาชนเกี่ยวกับวันแม่ ซึ่งสามารถสะท้อนสุขภาพทางการเงินประชาชนทั่วไปได้ซึ่งจากการสำรวจประชาชน 1,324 ตัวอย่าง พบว่า มีการใช้จ่ายเงิน9,984 ล้านบาท ลดลง 28 % ซึ่งตัวเลขการใช้จ่ายเงินที่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สำรวจมา 12 ปี ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีการจับจ่ายลดลงเพราะต้องประหยัดเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี การระบาดของโควิด-19 ทำให้มีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ภาระหนี้สิน ความมั่นคงในอาชีพ ความมั่นคงทางรายได้โดยเฉพาะการจ้างงาน ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นมีการกู้เงินนอกระบบมากขึ้น โดยเฉพาะโรงรับจำนำ การกู้เงินจากญาติพี่น้องมากขึ้น