10 เรื่องต้องรู้! ก่อน 'ค้ำประกัน' ให้คนอื่น

10 เรื่องต้องรู้! ก่อน 'ค้ำประกัน' ให้คนอื่น

อย่าเพิ่งเซ็น 'ค้ำประกัน' ให้คนอื่น ถ้ายังไม่รู้ 10 เรื่องนี้!

การทำสัญญาเงินกู้หรือการขอสินเชื่อตามสถาบันการเงินต่างๆ ผู้ให้กู้ส่วนใหญ่มักต้องการบุคคลที่จะมาค้ำประกันการทำสัญญานั้นๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหากลูกหนี้ผิดนัดชำระค่างวด ผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระหนี้แทน

"ค้ำประกัน" คำธรรมดาๆ จึงพลิกชีวิตหลายใครหลายๆ คนให้กลายเป็นหนี้แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว หรือเสียกัลยานมิตรเพราะเพลี่ยงพล้ำค้ำประกันให้คนรู้จัก หรือญาติพี่น้อง แต่มีการผิดนัดชำระจนต้องแบกรับภาระหนี้แทน

ฉะนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเซ็นค้ำประกันให้ใคร จึงควรความเข้าใจกับสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้ำประกัน 10 ข้อ ที่ควรรู้ก่อนเป็น "ผู้ค้ำประกัน"

1. ควรดูรายละเอียดสัญญาให้แน่ชัดว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินหรือเงินซึ่งสามารถชำระหนี้ได้

2. สัญญาค้ำประกันต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อของคู่สัญญา

3. ควรอ่านสัญญาทุกครั้งก่อนเซ็นค้ำประกัน และห้ามเซ็นสัญญาที่เขียนว่า “ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้”

4. ผู้ค้ำประกันจะรับผิดแทนลูกหนี้ ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามที่ตกลงในสัญญาเท่านั้น

5. หากเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้เท่าไร ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันก็ลดลงเท่านั้นเช่นกัน

 

6. หากข้อตกลงในสัญญาเป็นภาระให้กับผู้ค้ำประกันเกินสมควร ข้อตกลงนั้นจะเป็นโมฆะ

7. ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบ เมื่อยื่นขอชำระหนี้ตามกำหนดเวลา แต่เจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับการชำระหนี้นั้น

8. ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบ หากเจ้าหนี้ยอมขยายเวลาผ่อนหนี้แก่ลูกหนี้

9. ผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าทวงถาม หากเจ้าหนี้ไม่แจ้งเป็นหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ ภายใน 60 วัน นับแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้

10. หลังชำระหนี้แทนลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ตามวงเงินที่ชำระแทน พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่นๆ

ดังนั้นก่อนที่จะ "เซ็นค้ำประกันสัญญา" ใดๆ ให้กับผู้อื่น จึงควรที่จะคิดให้ดีก่อนตัดสินใจ ควรทำความเข้าใจถึงสิทธิ์ และผลผูกพันในการเซ็นสัญญาค้ำประกันให้กับผู้อื่น

159512912767

ที่มา: Anti-Fake News Center Thailand