'ก้าวไกล' จี้เยียวยา 'คนกลางคืน' เร่งด่วน - ปลดล็อกเสรี 

'ก้าวไกล' จี้เยียวยา 'คนกลางคืน' เร่งด่วน - ปลดล็อกเสรี 

“ก้าวไกล” จี้เยียวยา "คนกลางคืน" เร่งด่วน - เร่งปลดล็อกเสรี ชี้สถานการณ์คนตกงานสูงกว่าหลังสงครามโลก

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 ที่อาคารรัฐสภา นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร พร้อมด้วย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ พรรคก้าวไกล แถลงถึงกรณีที่รัฐบาลมีมาตรการปลดล็อกธุรกิจภาคกลางคืน เเต่พบว่ายังมีข้อกำหนดเเละมาตรการที่มีข้อจำกัดต่อการประกอบอาชีพของประชาชนหลายประการ

โดยนายเท่าพิภพ กล่าวว่าในฐานะที่ตนเคยเป็นผู้ประกอบการสถานบริการกลางคืนคนหนึ่ง ตนพบว่าการออกมาตรการผ่อนปรนให้สถานบริการกลางคืนสามารถประกอบธุรกิจได้โดยรัฐบาล ยังคงมีมาตรบางข้อที่อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการใช้ชีวิตของประชาชน อาทิ การห้ามเสิร์ฟเบียร์แบบขวด ให้เสิร์ฟได้เฉพาะเเบบเเก้ว มาตรการเช่นนี้ไม่สมเหตุสมผลและไม่ได้เป็นการผ่อนปรนต่อผู้ประกอบการจริงๆ แต่กลับเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลให้ต่อการประกอบอาชีพในภาคธุรกิจกลางคืนยังคงประสบกับความยากลำบาก

คำถามก็คือเหตุใดรัฐบาลจึงไม่สามารถดำเนินการผ่อนปรนภายใต้ข้อจำกัดที่ไม่สมเหตุสมผลเช่นนี้ มาตรการที่จำเป็นในการควบคุมการแพร่ระบาดนั้นพอเข้าใจได้ แต่การมีข้อจำกัดหมายอย่างที่กล่าวมากำลังทำให้เกิดผลกระทบกระจายเป็นวงกว้าง ทั้งต่อผู้ประกอบการและต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน

“มาตรการผ่อนคลายที่อนุญาตให้ผับบาร์เปิดได้แล้วยังไม่เต็มตัว ยังมีมาตรการแปลกๆอยู่หลายอย่าง วันนี้ตนจึงขอเป็นตัวแทนมาตั้งคำถามให้เจ้าของร้าน เราต้องการคำตอบและการปลดล็อกแบบสมบูรณ์แล้ว” นายเท่าภิภภพกล่าว

ด้านปกรณ์วุฒิ กล่าวว่าสืบเนื่องจากที่ตนที่ได้เเถลงข่าวถึงมาตรการในการเยียวยาผู้ประกอบการกลางคืน นั้น ในปัจจุบันตนอยากทราบว่าสถานประกอบการสามารถเล่นดนตรีสดได้หรือไม่ และจะสามารถเปิดเเบบเต็มรูปเเบบได้เมื่อไหร่ ในการนี้ตนขอเรียกร้องรัฐบาลให้ดำเนินการเยียวยาผู้ประกอบการณ์ภาคสถานธุรกิจกลางคืน โดยเฉพาะนักดนตรีอย่างเร่งด่วน โดยใช้กระบวนการรวบรวมรายชื่อจากกระทรวงเเรงงาน เพื่อแก้ไขอย่างตรงจุด ซึ่งตนคิดว่าน่าจะเห็นผลกว่ามาตรการเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล ที่เต็มไปด้วยความล้มเหลวในการบริราชการ

“อยากให้รัฐเข้าใจผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืน เขามีครอบครัวที่ต้องดูเเล ปากท้องของพวกเขาคือสิ่งสำคัญ รัฐต้องเร่งผ่อนปรนเเละหามาตรการเยียวยาประชาชนกลุ่มนี้อย่างเร็วที่สุด เพราะเขาคือ ประชาชน ควรได้สิทธิ์ที่้เท่าเทียม เพราะพวกเขาไม่มีความมั่นคงเหมือนอาชีพอื่นๆ” นายปกรณ์วุฒิกล่าว

ด้านธัญวัจน์ กล่าวว่า ตนอยากให้รัฐพัฒนาคุณค่าเเละศักยภาพของศิลปินอิสระ ซึ่งอาชีพศิลปะคือ พรสวรรค์ของผู้รังสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ สิ่งที่รัฐต้องทำความเข้าใจเเละไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือสภาวะการตกงานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมากกว่าหลังช่วงสงครามครั้งที่ 2 สภาพการณ์ในขณะนี้บีบให้ทุกสถานประกอบการต้องปลดคนลดต้นทุนเพื่อสอดรับการซัพพลายเชนของโลก

ทั้งนี้ ตนอยากให้รัฐบาลคำนึงถึงศักยภาพ เเละคุณค่าของศิลปินอิสระ เพื่อพัฒนาสอดรับเเนวทางการปรับตัวภายใต้วิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) และตนเชื่อว่า หุ่นยนต์หรือ AI ก็ไม่สามารถมีศักยภาพได้เท่าเทียมกับมันสมองเเละสองมือของมนุษย์