"กลยุทธ์การลง"ทุนรายสัปดาห์ (22 มิ.ย.63)

"กลยุทธ์การลง"ทุนรายสัปดาห์ (22 มิ.ย.63)

22-26 มิถุนายน: ยังคงอยู่ในช่วงปรับฐาน / แกว่งตัวลง

มุมมอง SET สัปดาห์นี้: หลังจากที่ตลาดหุ้นพักฐานในสัปดาห์ที่แล้ว เราคาดว่าดัชนี SET น่าจะย่อลงในสัปดาห์นี้ เนื่องจากปัจจัยภายนอกพลิกมาเป็นด้านลบมากขึ้น ในขณะที่เริ่มเกิดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายเงินปันผลของธนาคารไทย ซึ่งจะกดดันดัชนีโดยรวมให้ลดลง โดยในส่วนของปัจจัยภายนอกนั้น สถานการณ์การติดเชื้อ Covid-19 ดูรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อวันเสาร์ จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันของทั้งโลกทำสถิติสูงสุดใหม่อีก ซึ่งนำโดยสหรัฐและบราซิล ทั้งนี้ การที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ ก็อาจจะทำให้ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับปัจจัยภายใน เราคาดว่าหุ้นกลุ่มธนาคารจะเผชิญแรงขายในระยะสั้นหลังจากที่ธปท. สั่งให้ธนาคารต่าง ๆ ระงับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และแผนซื้อหุ้นคืนในช่วงที่ทำการทดสอบ stress test ว่าธนาคารมีความพร้อมรับมือสถานการณ์ในอีกสองสามเดือนข้างหน้าแค่ไหน ดังนั้น เราจึงยังคงมองว่า SET น่าจะเกิด correction ขึ้นอีก ซึ่งเมื่ออิงจากแบบจำลองเชิงปริมาณของเราซึ่งทำการวิเคราะห์สภาพคล่องในตลาดโลก และ forward P/E ของหุ้นไทย เรามองว่ามีโอกาสที่ตลาดจะเกิด correction ไปจน forward P/E 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 16.5x ดังนั้น เพื่อความระมัดระวังในช่วงที่เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดรอบสอง เราจึงให้ discount 5% กับประมาณการ EPS ปี 2564 ของเราที่ 85.00 บาท และใช้สัดส่วน P/E ที่ 16.5x ซึ่งทำให้เราประเมินว่า correction รอบนี้จะทำให้ตลาดแกว่งตัวลงไปได้ถึง 1,330 จุด

ธีมการลงทุน ปัจจัย และกระแสข่าวที่กระทบกับตลาด:

(-) ยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ยังคงเร่งตัวขึ้น ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานว่ายอดผู้ติดเชื้อรายวันของสหรัฐพุ่งทะลุ 30,000 รายเป็นครั้งแรกในรอบเจ็ดสัปดาห์ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการระบาดทั่วโลกรอบสอง และน่าจะทำให้หุ้นสหรัฐผันผวนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาวะตลาดในระยะสั้นน่าจะยังคงฟื้นตัวได้ดีตราบที่สหรัฐยังไม่กลับมาใช้มาตรการ lockdown อีกรอบ แต่ถ้าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นไม่หยุดก็อาจจะเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปิดเมืองอีกรอบ

(0) สัปดาห์แห่งการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ ทั้งจาก IMF และ ธปท. ในวันที่ 24 มิถุนายน IMF จะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด ซึ่งน่าจะมีการปรับลดประมาณการ GDP โลกปี2563 ลงจากเดิมที่ -3.0% ซึ่งประมาณการใหม่อาจจะมองว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวถึง -5% ถึง -6%
และในวันพุธเช่นกัน กนง. ของไทยก็คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกจากปัจจุบันที่ 0.50% และคาดว่าจะปรับลดประมาณการ GDP ปี 2563 ลงจากเดิมที่ -5.4% อย่างไรก็ตาม เรามองว่าราคาหุ้นในตลาดน่าจะสะท้อนความคาดหมายว่าเศรษฐกิจโลกจะโตกว่าประมาณการของ IMF และเศรษฐกิจไทยจะโตต่ำกว่าประมาณการของ กนง. ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การปรับประมาณการรอบนี้จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบกับตลาดมากนัก

(-) มีการเปลี่ยนกลุ่มเล่นจากการที่กลุ่มธนาคารถูกสั่งให้งดจ่ายปันผลระหว่างกาล เรามองว่าภาวะตลาดของหุ้นกลุ่มธนาคารของไทยเป็นลบจากการที่ ธปท. สั่งให้ธนาคารต่าง ๆ งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และนักลงทุนน่าจะเปลี่ยนไปถือหุ้น defensive แทน โดยเรามองว่านักลงทุนอาจจะโยกไปลงใน
หุ้นปันผลอย่างเช่น สื่อสาร และสาธารณูปโภคแทน ทั้งนี้ เนื่องจากมูลค่าตลาด (market cap) ของหุ้นกลุ่มธนาคารค่อนข้างใหญ่ เราจึงมองว่าผลกระทบสุทธิแล้วต่อดัชนี SET จะเป็นลบเล็กน้อย

ธีมหุ้นที่เราสนใจ:

การกลับมาเปิดเศรษฐกิจไทยอีกครั้งยังคงไปได้สวย ถึงแม้ว่าสถานการณ์การะแพร่ระบาดของ Covid-19 ในระดับโลยยังคงเลวร้ายขึ้น แต่ประเทศไทยก็ยังคุมสถานการณ์การติดเชื้อได้ดี และน่าจะยังเดินหน้าเปิดเศรษฐกิจต่อไปได้ เรามองว่าหุ้นกลุ่มที่จะได้อานิสงส์ในระยะสั้นจากประเด็นนี้ ได้แก่ BEM*, CPALL* ในขณะที่กลุ่มที่จะได้ประโยชน์ในระยะยาวจะเป็นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม (AMATA*) และโรงพยาบาล (BDMS*, EKH*)