วิปฝ่ายค้าน ถามทำไม 'ศาล-องค์กรอิสระ-รัฐสภา' ไม่ถูกหั่นงบ

วิปฝ่ายค้าน ถามทำไม 'ศาล-องค์กรอิสระ-รัฐสภา' ไม่ถูกหั่นงบ

วิปฝ่ายค้านถามดังๆ ทำไม "ศาล-องค์กรอิสระ-รัฐสภา" ไม่ถูกหั่นงบก่อนกฤษฎีกา แจงคำตอบ แบบนี้

เมื่อวันที่ 1 มิ..63  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิป ฝ่ายค้านได้นัดหารือพรรคร่วมที่รัฐสภา เพื่อพิจารณาและเตรียมความพร้อมก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 4 มิถุนายนเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (...) โอนงบประมาณรายจ่าย ..2563 ..... วงเงิน 8.8 หมื่นล้านบาท  โดยมีนายสุทิน คลังแสง ..มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานวิป ฝ่ายค้าน เป็นประธานการประชุม 

ทั้งนี้ ในการพิจารณาเตรียมความพร้อมดังกล่าวได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสำนักงานกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงต่อประเด็นคำถาม โดยเฉพาะข้อติดใจ ต่อกรณีที่องค์กรอิสระ  ศาล รวมถึงรัฐสภา ไม่ถูกหั่นงบประมาณรายจ่าย ปี 2563  โดยผู้ชี้แจงจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้แจงความในสาระสำคัญ ว่า องค์กรอิสระที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว ถือว่าเป็นหน่วยงานอิสระที่สำนักงบประมาณ ไม่สามารถลดงบประมาณที่ได้รับจัดสรรระหว่างปีงบประมาณได้ เพราะมิติความเป็นองค์กรอิสระ  เช่นเดียวกับ เงินนอกงบประมาณ ที่ไม่อยู่ในงบประมาณ จึงไม่สามารถเรียกคืนได้เช่นกัน ยกเว้นแต่งบประมาณที่ขอจัดสรรไม่ถูกนำไปใช้จ่ายหรือเบิกแล้วไม่ได้ใช้จริง

อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่จะให้หน่วยงานส่งคืนเงินได้นอกจากสิ้นปีงบประมาณ คือ ทำเรื่องว่าเป็นเงินเบิกเกินและส่งคืนได้

ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ฐานะวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่าวิปฝ่ายค้านจะ สรุปถึงเวลาที่จัดสรรให้กับพรรคฝ่ายค้านให้แล้วเสร็จ ภายในวันนี้ ( 1 มิถุนายน) สำหรับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.โอนงบประมาณฯนั้น ตามที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ กำหนด คือพิจารณา วันที่ 4 มิถุนายน หากไม่แล้วเสร็จจะต่อเนื่องวันที่ 5 มิถุนายน โดยการพิจารณาของสภาฯ จะรับหลักการ และตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ โดยใช้เวลาพิจารณา 7 วัน ส่วนก่อนหน้านี้ที่วิป ฝ่ายรัฐบาลต้องการเร่งพิจารณาและให้ตั้งกมธ. เต็มสภาฯ นั้น ได้หารือและทำความเข้าใจแล้วว่า หากพรรคฝ่ายค้านไม่ยกมือให้กรณีเร่งรัด ด้วยตั้งกรรมาธิการเต็มสภาฯ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะโฆษกวิปรัฐบาล กล่าวยอมรับว่าวิปรัฐบาลมีข้อสรุปต่อการอภิปราย ร่างพ.ร.บ.โอนงบประมาณฯ ต่อการจัดสรรเวลา คือให้เวลาพิจารณารวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง แบ่งเป็นของส.ส.ฝ่ายค้าน 6 ชั่วโมง และส.ส.รัฐบาลรวมกับ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชี้แจง 4 ชั่วโมง และจะเริ่มพิจารณา วันที่ 4 มิถุนายน เวลา 09.30 - 20.00 น. และจะพิจารณารับหลักการในวันเดียวกัน จากนั้นให้ตั้งกมธ.วิสามัญ มีกรอบพิจารณา 7 วัน จากนั้นจะนำให้สภาฯ พิจารณาวาระสองและวาระสาม วันที่ 11 มิถุนายน 

ทั้งนี้ ในผลการหารือเบื้องต้น ต้องนำเข้าสู่การประชุมร่วมกันระหว่าง วิป รัฐบาล , วิป ฝ่ายค้าน และนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 4 มิถุนายน ช่วงเช้าอีกครั้ง เพราะมีประเด็นที่ต้องหารือและให้เป็นข้อยุติร่วมกัน ทั้งเวลาการพิจารณา , การตั้งกมธ.ฯ รวมถึงวิธีการพิจารณาในกมธ. ที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหลักการ ว่าด้วยการโอนงบประมาณ วงเงิน 8.8 หมื่นล้านบาท ได้ แต่ในสาระและรายละเอียดที่หน่วยงานให้งบประมาณคืนนั้นจะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยหรือไม่ ต้องหารือในวิธีปฏิบัติอีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา.