‘ช้อปปี้’ ชี้ โควิด-19 บีบแบรนด์ทุ่มกลยุทธ์บุก 'ออนไลน์'

‘ช้อปปี้’ ชี้ โควิด-19 บีบแบรนด์ทุ่มกลยุทธ์บุก 'ออนไลน์'

ช้อปปี้ ประเทศไทย ระบุว่า ไตรมาสแรกของปีนี้ ร้านค้าและผู้ประกอบการต่างเร่งพัฒนาศักยภาพและปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มกำลัง โดยมีอีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางหลักที่จะช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโต

ขณะที่ เพื่อตอบสนองต่อแบรนด์ ผู้ขาย และผู้ประกอบการรายย่อยฯ ที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจในอีคอมเมิร์ซให้เติบโตได้ในช่องทางออนไลน์ ช้อปปี้ ได้เปิดคอร์สเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถในการขายสินค้าออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง ผ่านช่องทางการสอน ช้อปปี้ อีเลิร์นนิ่ง ช่องยูทูบ ช้อปปี้ ยูนิเวอร์ซิตี้ และ Shopee University Webinar เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการยกระดับทักษะด้านอีคอมเมิร์ซ

ไลฟ์สตรีม เทรนด์ขายมาแรง 

สุชญา กล่าวด้วยว่า อีกเทรนด์ที่สำคัญ คือ การไลฟ์สตรีม ซึ่งกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการช้อปปิ้งออนไลน์ ด้วยความสามารถของฟีเจอร์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถสนทนาโต้ตอบกันได้โดยตรงแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ตาม 

"การไลฟ์สตรีม เริ่มเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อนช่วงโควิด-19 และเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นไปอีกในช่วงโควิด-19 ที่ผู้คนเริ่มอยู่บ้านเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม เราพบว่าแบรนด์และผู้ขายใช้ไลฟ์สตรีมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์เชื่อมต่อกับผู้ซื้อโดยตรง และด้วยคุณประโยชน์นี้เอง การทำไลฟ์สตรีมจะยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์ โควิดจากแบรนด์และผู้ขายต่อไป ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะเข้าสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมต่อผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน โดยในช่วงที่ผ่านมาเราพบว่าคนไทยมีการปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ผ่านฟีเจอร์ต่างๆของช้อปปี้ ในปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด" 

ปัจจุบันช้อปปี้ ไลฟ์ แชทมีมากกว่า 2 ล้านข้อความ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ถูกส่งผ่านระหว่างกันในแต่ละวันเพื่อสนทนาโต้ตอบระหว่างกันในการช้อปปิ้งออนไลน์บนช้อปปี้ ขณะที่ช้อปปี้ พบว่า มีการเล่นเกมบนแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ราว 500 ล้านครั้ง ใน 3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อชิงรางวัล และสิทธิประโยชน์ต่างๆ 

นักช้อปเลือกชำระเงินแบบไร้เงินสด

สุชญา ยังได้กล่าวถึง พฤติกรรมการชอปปิงผ่านอีมาร์เก็ตเพลสช่วงโควิด-19 ว่า พฤติกรรมการชอปปิ้งออนไลน์ของนักช้อปชาวไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ด้วยผู้ใช้งานส่วนใหญ่มองหาความสะดวกสบายจากการใช้อีคอมเมิร์ซในช่วงสถานการณ์ครั้งนี้ พบว่า ผู้ใช้เริ่มให้ความสนใจเลือกใช้ช่องทางการชำระเงินแบบไร้เงินสดเพราะความสะดวกสบาย รวดเร็ว และช่วยลดการสัมผัสโดยตรง ผู้ใช้ช้อปปี้เลือกชำระเงิน ผ่านทางแอร์เพย์ วอลเล็ตเพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา

ขณะที่ ผู้ใช้งานหลากหลายกลุ่มหันมาชอปปิ้งออนไลน์มากขึ้น จากความร่วมมือของคนในสังคมที่อยู่บ้าน และเว้นระยะห่างทางสังคม พบว่า มีผู้ใช้งานหลากหลายกลุ่มอายุ ทั้งเพศชายและหญิง หันมาชอปออนไลน์ แม้กรุงเทพฯ ยังคงเป็นจังหวัดที่มีการชอปปิ้งออนไลน์สูงที่สุด แต่ก็พบว่า ยังมีผู้ใช้งานในหลายจังหวัด มีการชอปปิงออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

“ช่วงที่ผ่านมา เราพบว่ามีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ทั้งในหมวดหมู่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องใช้ในบ้าน สินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และสินค้าเกี่ยวกับยานยนต์ โดยสินค้ายอดนิยมที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นประกอบด้วย เจลล้างมือ ไม้ถูพื้น หูฟัง ผ้าอ้อมสำหรับเด็ก และนมพร้อมดื่ม” สุชญา กล่าว