ศบค.เล็งขยับเปิดเรียนก่อนกำหนดในบางโรงเรียน

ศบค.เล็งขยับเปิดเรียนก่อนกำหนดในบางโรงเรียน

ศบค.เผยหลังผ่อนปรนมาตรการระยะ 2 ไทยมีผู้ป่วยโควิด-19เพิ่ม 51 ราย ส่วนใหญ่คนกลับจากต่างประเทศ เฉพาะเจอในชุมชน 3 ราย ยังไม่อนุญาตร.ร.นานาชาติเปิดเทอมก่อน เล็งร.ร.เด็กโตขยับเปิดเทอมเร็วขึ้นได้ หากมีความพร้อม เน้นผ่อนคลายร.ร.ห่างไกล-เจอผู้ป่วยไม่มาก

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 11 ราย ทั้งหมดเดินทางกลับมาจากประเทศคูเวต และเข้ากักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้(State Quarantine) ภาพรวมประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม 3,076 ราย รักษาหายแล้ว 2,945 ราย ยังรักษาในรพ.74 ราย และเสียชีวิตสะสม 57 ราย ทั้งนี้ มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรอยู่ที่ 4.32(ไม่รวมคนที่เข้ากักตัวในสถานที่ที่รัญจัดให้) สำหรับในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยรายใหม่ 51 ราย เป็นผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศและเข้าพักในสถานที่ที่รัฐจัดให้ 42 ราย ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 6 ราย และผู้ป่วยที่ไปในสถานที่ชุมนุมชน 3 ราย


นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการนั้น นายกฯได้ย้ำถึงการขยายพรก.ฉุกเฉินว่ามีเหตุผลเพื่อให้การบริหารศบค.เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ และอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงเจตนาของการขยายพรก.นี้ แต่หากสถานการณ์ดีขึ้นและมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆจนถึงระยะ4แล้ว ก็จะมีการพิจารณายกเลิกพรก.ฉุกเฉินต่อไป โดยให้มีการพิจารณานำกฎหมายอื่นๆมารองรับทดแทน เพื่อให้ควบคุมสถานการณ์ได้ เช่น พรบ.โรคติดต่อ และให้ทุกฝ่ายเชื่อมต่องานหากไม่มีพรก.ฉุกเฉินแล้ว


นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของวาระที่สำคัญคือการเสนอมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 3 นั้น มีประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการเนื่องจากเป็นกิจการ กิจกรรมที่มีความเสี่ยงปานกลางออกไปทางสูง ได้แก่ มาตรการคัดกรองไข้ อาการไอ เหนื่อยหอบ จาม หรือเป็นหลัด สำหรับพนักงานบริการ และผู้ใช้บริการและรายงานหน่วยงานรับผิดชอบกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ทุกกิจการและกิจกรรมจัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้า-ออกสถานที่และเพิ่มมาตรการใช้แพลตฟอร์มไทยชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทน และให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรม เช่น ลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ ระบบการเรียนการสอย การจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อใหบริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว นำไปสู่การป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ


นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมศบค.มีการพิจารณาวาระที่มีการเสนอให้มีการเปิดเรียนซึ่งเดิมเป็นวันที่ 1 ก.ค 2563 โดยยังให้คงวันดังกล่าวไว้เช่นเดิม แต่มีการหารือในประเด็นที่จะเลื่อนให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ ในบางส่วนบางโรงเรียน เช่น โรงเรียนห่างไกลพื้นที่ต่างจังหวัด และอัตราการเกิดโรคไม่ได้มาก และเป็นกเรียนที่ห้องเรียนมีจำนวนคนไม่มาก สมควรที่จะเปิดได้ก่อนหรือไม่ เช่นเดียวกับโรงเรียนเอกชน ที่มีห้องเรียนน้อย จำนวนนักเรียนต่อห้องไม่มากทั้งในเมืองและต่างจังหวัด ซึ่งในข้อสรุป คือยังยึดวันเปิดเทอมเป็นวันที่ 1 ก.ค. 2563เช่นเดิม แต่ถ้ามีความพร้อมเกิดขึ้นก่อนอาจจะสามารถขยับเร็วขั้นได้
ทั้งนี้ทั้งโดยหลักการกว้างๆที่ผอ.ศบค.ให้ไว้ อาทิ 1.ขนาดโรงเรียน สถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ห่างไกล ไม่ได้มีอัตราการติดเชื้อสูง อยู่ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้นักเรียนได้รับการเรียน 2. หากเป็นพื้นที่ในเมืองต้องเดืนทาจรจาจร สลับเหลื่อมเวเลาเรียน 3 วันต่อสัปดาห์ ถ้าสามารถทำได้ จะทำให้ไม่แออัดกันมากขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนด้วย โดยเน้นเฉพาะกลุ่มเด็กโต เนื่องจากเด็กเล็กหากมาเรียน อาจจะมีความเสี่ยงเพราะอยู่ใกล้ชิดกัน นอนกลางวัน และเล่นกัน จึงยังไม่ได้หารือร่วมกัน


ส่วนโรงเรียนนานาชาติที่มีข้อร้องมาว่า การเรียนที่จะต้องมีการเปิดเทอมขึ้นเร็ว เพราะให้ทันของกระแสโลก และการเรียนที่เป็นมาตรฐานของต่างประเทศนั้น ยังไม่มีข้อตกลง ว่าจะเป็นข้อสรุปอย่างไร โดยทั้งหมดได้มอบให้รมว.ศธ.ไปศึกษารายละเอียดและหาข้อสรุปของแต่ละเรื่องมานำเสนออีกครั้งในการประชุมศบค.ครั้งต่อไป และจะชี้แจงความชัดเจนต่อประชาชนอีกครั้ง