บจ.ไทยยุครัดเข็มขัด งัดแผนรับ-รุกสู้วิกฤติ

บจ.ไทยยุครัดเข็มขัด   งัดแผนรับ-รุกสู้วิกฤติ

ทุกช่วงที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเป็นตัวทดสอบความสามารถและภาวะผู้นำของบรรดาธุรกิจเอกชนว่าจะตั้งแผนรับหรือสลับแผนรุกอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 

 ยิ่งในห้วงเวลานี้ไม่เคยมีบทเรียนในประวัติศาสตร์ให้นำมาใช้เป็นต้นแบบได้ จึงกลายเป็นที่จับตาว่าธุรกิจจะดำเนินอย่างไรในภาวะนี้

ด้วยต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมชีวิตปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) เพื่อให้รายได้สามารถทรงตัวหรือไม่ลดลงมากกว่านี้ี้ และยังระมัดระวังฐานะการเงินไม่ให้สภาพคล่องเกิดการสะดุด เพราะจะเกิดปัญหาทั้งการดำเนินธุรกิจ การชำระหนี้ และกระทบเครดิตบริษัทตามมาในอนาคต

ภาพที่เห็นได้ชัดในช่วงนี้หลังภาครัฐประกาศผ่อนล็อกดาวน์จนธุรกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินกิจการได้ตามปกติได้ ทำให้มีการประกาศงดจ่ายเงินปันผลงวดสิ้ปี 2562 การหั่นงบลงทุนที่ตั้งไว้ในปีนี้ลงไม่ต่ำกว่า 20-25 % งดการเข้าซื้อกิจาร (M&A) เพื่อตุนสภาพคล่องได้รองรับความเสี่ยงในอนาคต

รวมทั้งการบริหารหนี้ของบริษัทที่ถึงครบหนดครบชำระภายในปี 2563-2564 ด้วยการวางแผนระยะยาว  ซึ่งริษัทที่เจอผลกระทบหนักและต้องตั้งรับและรุกชัดเจน บริษัมไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ที่ประกาศและยอมรับว่าต้องปรับการบริหารจัดการสภาพคล่องในมือชุดใหญ่

ด้วยไมเนอร์ฯ เป็นผู้ประกอบการโรงแรมและเป็นผู้เล่นในระดับอินเตอร์เนชั่นแนลเป็นด้วยการมีโรงแรมภายใต้การลงทุนเป็นเจ้าของและบริหาร 158 แห่งใน 26 ประเทศ และยังมีธุรกิจร้านอาหารเพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งมีฐานรายได้ธุรกิจโรงแรม 55 % ธุรกิจอาหาร 38% และธุรกิจไลฟ์สไตล์ ประมาณ 7 % ซึ่งทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารจึงถูกกระทบพร้อมๆกันจากล็อกดาวน์ที่ผ่านมา

ด้านผู้บริหารจึงประกาศปรับแผนการดำเนินธุรกิจมาเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย การรักษาฐานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง และการปรับแผนของกลุ่มธุรกิจทั้ง 3 ของบริษัทให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งได้มีการลดค่าใช้จ่าย ลดเงินเดือนพนักงาน พักการปรับขึ้นเงินเดือน และให้พนักงานหยุดงานชั่วคราวโดยไม่รับเงินเดือน

จากเงื่อนไขด้านหนี้สินบริษัทมีที่ต้องชำระภายใน 1 ปี 26,720 ล้านบาท เฉพาะส่วนของหุ้นกู้ที่เตรียมจะครบกำหนดช่วง 3 ปี รวม 18,998 ล้านบาท ซึ่งในปี 2563 อยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ปี 2564 อยู่ที่ 4,599 ล้านบาท และปี 2565 อยู่ที่ 1,0399 ล้านบาท

ปัจจุบันไมเนอร์ฯมีเงินสดในมือ 27,000 ล้านบาท ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ 22,000 ล้านบาท จึงประกาศเพิ่มสภาพคล่องด้วยการเพิ่มทุนรอบใหม่ 1,037 ล้านหุ้นและขอวงเงินออกหุ้นกู้อนาคต 25,000 ล้านบาท

การเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) 716 ล้านหุ้น ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ ครั้งที่ 7 (MINT-W7) ที่จะมีการแปลงสภาพในช่วง 3 ปี 313 ล้านหุ้น รวมถึงจะการออกหุ้นกู้คล้ายทุน (Perpetual bond) เสนอขายกับนักลงทุน วงเงิน 10,000 ล้านบาท

 ขณะเดียวกันได้มีการเจรจากับเจ้าหนี้ในการขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ซึ่งทำให้บริษัทได้ตั้งเงื่อนไขเพื่อสร้างความมั่นใจกับเจ้าหนี้ ได้แก่ การลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งจะต้องไม่ทำ M&A มากกว่า 3% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด และไม่ก่อหนี้เพิ่มมากว่า 1.5 แสนล้านบาท/ไตรมาส 

ส่วนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระคืนในช่วงครึ่งปีหลัง จำนวน 3,600 ล้านบาท บริษัทได้มีการเจรจากับธนาคารพาณิชย์ในการให้วงเงินสินเชื่อเพื่อนำมาชำระคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด

การแก้ไขปัญหาดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทมีกระสุนพอสู้กับวิกฤติใหญ่ทางเศรษฐกิจในรอบนี้ แต่ย่อมมีผลกระทบต่อมุมมองการลงทุนซึ่งการขาดสภาพคล่องและออกมาแก้ไขปัญหาหนี้ส่อให้เห็นแนวโน้มการขาดทุนครั้งใหญ่ คาดว่าเกิดขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2563 และจะยังไม่ฟื้นตัวจนถึงปลายปี

ยิ่งธุรกิจโรงแรมที่มีทั้งในประเทศและต่างประเทศยังไม่เห็นแนวโน้มฟื้นตัวในปีนี้ เพราะหลายประเทศรวมทั้งไทยยังเฝ้าระวังการระบาดไวรัสระรอก 2 ที่อาจจะเกิดขึ้น ส่งผลต่อการเดินทางต่างประเทศลดลง การท่องเที่ยวติดลบชัดเจนบางมุมมองแง่ลบน่าจะลากยาวไปถึงปี 2565 และมีผลทำให้ราคาหุ้นถูกปรับประมาณการ

อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นภายใต้ภาวะดังกล่าวไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะรอบนี้ทุกธุรกิจได้รับผลลบถ้วนหน้าไม่เว้นแม้แต่ผู้บริโภค ซึ่งการออกมาตั้งรับและจัดการไม่ให้เกิดปัญหาเลวร้ายสุดในอนาคตน่าจะสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจที่ดีไปด้วย