50 ปีแห่งการทำงานทางไกล 'Work From Home' สอนอะไรเราบ้าง

50 ปีแห่งการทำงานทางไกล 'Work From Home' สอนอะไรเราบ้าง

ในขณะที่คนทำงานทั่วโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การทำงานที่บ้านเต็มเวลา มันทำให้เราหวนนึกถึงประเด็นที่ว่า เทคโนโลยีไม่เคยเป็นข้อจำกัดในการทำงานลักษณะนี้ของเรา

หากคุณเพิ่งเคยทำงานที่บ้านเป็นครั้งแรก คุณอาจนั่งถามตัวเองว่าทำไมเราไม่ทำแบบนี้ตั้งนานแล้วนะ 

ประโยชน์ของการทำงานทางไกล คอลัมน์เวิร์คไลฟ์ของบีบีซี ระบุว่า จริงๆ แล้วเคยถกกันมาเป็น 50 ปีแล้ว นักคิดทางสังคมเคยคาดการณ์เอาไว้ว่า งานจะเคลื่อนเข้าหาคน มากกว่าคนจะออกไปหางาน

ในปี 1969, อลัน คีรอส นักวิทยาศาสตร์ที่สำนักทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ได้เขียนลงหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารใหม่ๆ จะเปลี่ยนชีวิตและการทำงานของผู้คน เขาเรียกมันว่า "โดมิเนติคส์" หรือการรวมกันของที่พำนัก การเชื่อมต่อกัน และเครื่องใช้ไฟฟ้า, คำที่ฟังดูไม่คุ้นหู แต่เป็นแนวคิดที่เป็นที่จดจำ

ในช่วงปี 2516 ตอนวิกฤติน้ำมันโอเปก (OPEC) และราคาน้ำมันพุ่งทะยาน กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้นำโดย แจ๊ค นีลลีส ทำการศึกษาครั้งสำคัญที่นีลลีส เรียกว่า "การทำงานจากที่บ้าน" (telecommuting)

ทีมของนีลลีสทำการศึกษาเรื่องนี้กับพนักงานกว่า 2,000 คนในบริษัทประกันแห่งหนึ่งที่ลอสแองเจลลิส พนักงานแต่ละคนจะเดินทาง 34.4 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 2.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (เรตในปี 2517)

การศึกษาของทีมซึ่งตีพิมพ์ในปี 2519 สรุปว่า เทคโนโลยีจะช่วยบริษัทประหยัดลงในการให้พนักงานทำงานที่บ้านได้ และมันทำให้นีลลีสเข้าใจในประเด็นที่ว่า เทคโนโลยีไม่ได้เป็นข้อจำกัดแต่อย่างใดเลยในการทำงานที่บ้าน

  

  • การทำงานระยะไกล

โอเคว่า เทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งในเรื่องนี้ ซึ่งตอนนั้นคือช่วงเวลาที่เทคโนโลยีในการสื่อสารหมายถึงแค่ โทรศัพท์ หรือแฟ็กซ์ และมีบ้านไม่กี่หลังตอนนั้นที่มีคอมพิวเตอร์ ยังไม่ต้องนับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

นีลลีสแสดงแนวคิดผ่านไดอะแกรม ซึ่งคล้ายๆ กับโครงสร้างการทำงานของอินเทอร์เน็ต ซึ่งคนออกแบบให้น้ำหนักไปที่ระบบที่ทนทาน ที่เห็นได้ค่อนข้างชัด คือ การสร้างระบบสื่อสารที่สามารถรับมือกับการโจมตีโดยนิวเคลียร์

การทำงานจากที่บ้านเป็นไปได้มากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลวางขายในท้องตลาดในช่วงปลายศตวรรษที่ 1970 อาทิ แอปเปิ้ล ได้ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple IIในปี 2520 เป็นต้น

ในปี 2530 นักพยากรณ์อนาคต อัลวิน ทอฟเลอร์ ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง "Future Shock" ได้คาดการณ์ไว้ในหนังสืออีกเล่ม "คลื่นโลกที่สาม" (The Third Wave) ว่า บ้านหรือที่พำนักจะกลายมาเป็นความสำคัญในยุคของข้อมูลข่าวสาร โดยจะกลายมาเป็นศูนย์กลางของสังคมแห่งอนาคต ซึ่งจะหน่วยทางสังคมที่จะช่วยยกระดับมากกว่าที่จะลดทอนฟังก์ชั่นด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสาธารณสุข

  • การมาถึงของอินเทอร์เน็ต

ทอฟเลอร์ อาจจะ "ถูก" ที่มองเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี แต่มันอาจจะต้องใช้เวลาซักระยะที่การทำงานจากที่บ้านจะกลายมาเป็นอะไรที่ง่าย แต่ด้วยการเติบโตของอินเทอร์เน็ต นักการจัดการ ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ รู้สึกมั่นใจว่าการออกไปทำงานจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยในปี 2530

มาถึงตอนนี้ มันกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ราคาถูก และทำได้เร็วกว่าที่ศตวรรษที่ 19 จะทำได้ ซึ่งหมายรวมถึง การเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารมายังที่ที่คนทำงานอยู่ เครื่องไม้เครื่องมือที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้อยู่นี่แล้วคือ โทรศัพท์ วิดีโอคอล อีเมล์ เครื่องแฟกซ์ คอมพิวเตอร์ โมเดม และอะไรอีกมากมาย

  

  • วิสัยทัศน์ VS ความเป็นจริง

แม้จะมีเทคโนโลยี แต่การทำงานจากที่บ้านยังเติบโตช้าอยู่

การสำรวจล่าสุดของ IBM ในปี 2557 พบว่า มีเพียง 9% ของพนักงานที่ทำงานระยะไกล ในขณะที่มากกว่าครึ่งทำงานเต็มเวลา ข้อมูลจากออสเตรเลียและสหรัฐฯ ก็ยังมีสัดส่วนที่น้อยกว่า 20% เมื่อจบปี 2562

ทางออสเตรเลีย สถิติสะท้อนว่า หนึ่งในสามของคนทำงาน เปลี่ยนมาทำงานจากที่บ้าน แต่ตัวเลขนี้นับรวมคนที่ทำงานไม่เสร็จเลยเอามาทำต่อที่บ้านด้วย 

ปัญหาอุปสรรคสรรคสำคัญที่จะขยับให้มีการทำงานจากที่บ้านให้มากขึ้น ก็อย่างที่นีลลีสก็รู้ หนึ่งในนั้น นั่นคือ วัฒนธรรมองค์กร

การวางโครงสร้างการทำงานในออฟฟิศของเรามักจะล้าหลังเทคโนโลยีอยู่เสมอ หลายๆ องค์กรยังติดอยู่กับการจัดการคนทำงาน ถ้าคนที่จัดการทรัพยากรบุคคลไม่เห็นพรักงานทำงาน ก็มักคิดว่าพวกเขาไม่ทำงาน

แต่อีกประเด็นที่แก้ยากกว่า คือเรื่องการที่ "คนชอบอยู่ด้วยกัน" มากกว่า

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ซึ่งจริงๆ แล้ว การทำงานทางไกลเป็นการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันมากกว่า เพราะมันไปท้าทายจิตวิทยาและเชิงสังคมในการทำงานคนเดียวที่บ้าน

แม้แต่บริษัทที่ทำด้านเทคโนโลยีก็ยังติดกับการมีสำนักงานใหญ่ อย่างในปี 2013 ประธานบริหารของ Yahoo มาริสสา เมเยอร์ ก็ยังไม่สนับสนุนให้คนทำงานจากที่บ้าน เพราะเธอเชื่อว่าพนักงานจะมีความคิดสร้างสรรค์และร่วมมือกันมากกว่าหากทำงานเจอหน้ากัน

หรือ สตีฟ จ๊อบส์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งแอปเปิ้ลก็ค่อนข้างติดกับการมีพื้นที่ทงานจับต้องได้จริงๆ ที่ที่ทำให้คนทำงานได้เจอกัน มีรายงานว่าแม้แต่การออกแบบออฟฟิศ รวมทั้งห้องน้ำก็ใส่ใจในรายละเอียด เผื่อพวกเขาจะได้เจอกันบ้าง

 

  • แล้วอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ยังคงมีความท้าทายรออยู่ดี คอลัมน์เวิร์คไลฟ์ของบีบีซี ระบุ

แต่สถานการณ์ปัจจุบันอาจช่วยแก้ปัญหาในส่วนวัฒนธรรมองค์กร การทำงานที่บ้านมันง่าย และเป็นความเป็นจริงที่ต้องเผชิญกันแล้ว ธุรกิจดูเหมือนจะไม่มีทางเลือกนอกจากทำให้มันเวิร์ค อย่างน้อยๆ ก็ 6 เดือน

มุมทางสังคมยังเป็นประเด็นที่จัดการยากกว่า อย่างที่ทอฟเลอร์กล่าว มันอาจเป็นการประเมินการเจอหน้าเจอตากันในการทำธุรกิจต่ำไป รวมไปถึง "อวจนภาษา" ประกอบ

บางที อนาคตอาจคล้ายกับแนวคิดของ "นีลลีส" คือ พัฒนาการของการทำงานที่บ้าน คงไม่ได้ทำเพื่อจะเอาชนะข้อจำกัดของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องการตอบโทย์ทางสังคมของคนทำงานมากกว่า