รู้จัก 'ทะเบียนเกษตรกร' นวัตกรรมเพื่อ 'เกษตรกร' สู้ โคโรน่าไวรัส

รู้จัก 'ทะเบียนเกษตรกร' นวัตกรรมเพื่อ 'เกษตรกร' สู้ โคโรน่าไวรัส

นวัตกรรม "ทะเบียนเกษตร" เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ "เกษตรกร" รับความช่วยเหลือจากผลกระทบของ "โคโรน่าไวรัส" ได้ดียิ่งขึ้น

ผลกระทบจาก โคโรน่าไวรัส หรือ โควิด-19 ที่มีต่อทุกภาคส่วนนำไปสู่มาตรการช่วยเหลือต่างๆ ซึ่ง เกษตรกร ถือว่าเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยความคืบหน้าล่าสุด สำหรับการช่วยเหลือในภาคของเกษตรกรนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทำการประสานกับกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างเร่งด่วนเพื่อให้เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการของรัฐบาล

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการเคาะงบเบื้องต้น 15,000 บาทให้กับหัวหน้าครอบครัวเกษตรกร 9 ล้านครัวเรือน จะยึดโยงข้อมูลที่ เกษตรกร ขึ้น ทะเบียนเกษตรกร กับกรมวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนหน้านี้ และตรวจสอบกับฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส. โดยการจ่ายเงินให้กลุ่มเกษตรกรจะจ่ายเพียงรอบเดียว 15,000 บาท ต่างจากการจ่ายเยียวยา 5 พันบาทให้อาชีพอิสระที่จ่ายเป็นรายเดือนไป 3เดือนก่อนจะขยายออกไปภายหลัง

โดยเฉพาะการให้ปรับปรุง ทะเบียนเกษตรกร ให้ครอบคลุมมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่ม เกษตรกร ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐจะไม่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงการคลัง ทั้งกลุ่มประมง กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มนาเกลือ รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรชาวนา ชาวไร่ข้าวโพด ชาวไร่มันสำปะหลัง ชาวสวนปาล์ม และชาวสวนยางพาราที่รายชื่อตกหล่นไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรในโครงการประกันรายได้เกษตรกรเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

158677691895

สำหรับแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรนั้น จะแบ่ง เกษตรกร เป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย เกษตรกรที่มี ทะเบียนเกษตรกร ในฐานข้อมูลอยู่แล้ว ให้โอนเข้าบัญชีเกษตรกรได้ทันที ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่มีชื่อต้องขึ้นทะเบียนใหม่

ขณะเดียวกัน ทางกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ปรับปรุงแอพพลิเคชัน สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล หรือ Farmbook ในช่วงที่ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 2562/63 และติดตามผลการโอนเงินที่รับจากโครงการประกันรายได้ ปัจจุบัน Farmbook มีเกษตรกรเข้ามาปรับปรุงทะเบียนกว่า 6 ล้านครัวเรือน

  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 'เกษตรกร' ต้องรู้! อธิบายแอพ 'Farmbook' อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ

DOAE FARMBOOK APPLICATION หรือ สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล เป็นแอพลิเคชั่นสำหรับ เกษตรกร ที่จะส่งเสริม ช่วยเหลือ เกษตรกรไทยในด้านต่างๆ โดยไม่ต้องไปขึ้น ทะเบียนเกษตรกร ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ

เมื่อดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น ทะเบียนเกษตรกร ลงมายังหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน เกษตรกรจะพบกับหน้าเริ่มต้น ให้กรอกชื่อผู้ใช้ หรือ รหัสผ่าน ด้วยหมายเลขโทรศัพท์ หรือหมายเลขเกษตรกร 12 หลัก ที่ได้จากการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หลังจากลงทะเบียนเข้าใช้ระบบมาแล้วจะพบหน้าเมนูหลัก ประกอบด้วย แจ้งปลูก หรือปรับปรุงฐานข้อมูลเกษตรกรตามที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรเอาไว้

เมนูดังกล่าวใน ทะเบียนเกษตรกร นั้น จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ เกษตรกร แจ้งชนิดพืชที่ปลูก วันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว ข้อมูลแปลง กิจกรรมเกษตรของครัวเรือน จะแสดงสถานะการแจ้งปลูก และสถานะของแปลง ข้อมูลสมาชิก หัวหน้า และสมาชิกของครัวเรือน จะแสดงรายชื่อสมาชิกในครัวเรือน ติดตามสิทธิ์ การเข้าร่วมโครงการ และรับสิทธิประโยชน์

158677684356

โดย เกษตรกร ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและที่ต้องการปรับปรุง ทะเบียนเกษตรกร สามารถใช้งานแอพพลิเคชัน Farmbook ผ่านโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนเพื่อแจ้งข้อมูล 4 ประเภทคือ

1. การแจ้งปรับปรุงข้อมูลกิจกรรมการเพาะปลูก เฉพาะแปลงเดิมที่ได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ในปีการผลิตที่ผ่านมาคือ ข้อมูลเอกสารสิทธิ์ เช่น เนื้อที่ ที่ตั้ง พิกัด กิจกรรมการเกษตร ประกอบด้วย ชนิด พันธุ์พืช วันที่ปลูก วันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เนื้อที่ปลูก ปีเพาะปลูก และประเภทการทำการเกษตรกรรมยั่งยืน

2. การติดตามผลการแจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร แสดงรายละเอียดแปลงที่มีการแจ้งปลูก เพื่อติดตามสถานะการแจ้งปลูก ทั้งนี้ แปลงที่แจ้งปลูกผ่านแอพพลิเคชัน สามารถลบ แก้ไข กรณีแจ้งปลูกผิด แต่สถานะการแจ้งปลูกต้องยังไม่จัดชุด ส่วนแปลงที่แจ้งปลูกผ่านเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งลบ แก้ไขที่สำนักงานเกษตรอำเภอเท่านั้น

158677685958

3. การติดตามผลการเข้าร่วมโครงการภาครัฐด้านการเกษตร โดยแสดงรายการโครงการที่เข้าร่วมและผลการโอนเงินตามเงื่อนไขโครงการ

4. การคาดการณ์ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยแสดงรายละเอียด ช่วงวันที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คาดการณ์ผลผลิต คาดการณ์กำไร และราคาขาย

ทั้งหมดเพื่อที่ตัว เกษตรกร เองจะไม่ต้องเดินทางมาทำเรื่องเกี่ยวกับ ทะเบียนเกษตร ถึงสำนักงานเกษตรอำเภอ เป็นการช่วยลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิดความปลอดภัยตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ