แนวทางรักษาคนติด 'ไวรัสโคโรนา' ฉบับล่าสุด

แนวทางรักษาคนติด 'ไวรัสโคโรนา' ฉบับล่าสุด

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019หรือโควิด-19(COVID-19) มีการออกแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยฉบับล่าสุด เพราะโรคนี้ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ เมื่อมีองค์ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น ก็จะต้องปรับปรุงเพื่อให้การรักษาผู้ป


การเข้ารับการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโรคโควิด-19ของผู้ป่วยนั้น จะต้องเริ่มจากการได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ที่ทำให้เกิดโรค โดยใช้ผลการตรวจเสมหะที่เก็บจากทางเดินหายใจและส่งตรวจในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร(ห้องแล็บ)เป็นสิ่งยืนยัน หากผลเป็นบวกแปลว่าติดเชื้อ ก็จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในขั้นตอนของการตรวจแล็บ หากไม่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ผู้ที่ต้องการตรวจจะต้องจ่ายค่าตรวจแล็บเอง แต่ถ้าเข้าเกณฑ์ 4 กรณี จะได้รับการตรวจฟรีไม่ว่าผลจะออกมาติดหรือไม่ติดเชื้อ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายเกี่ยวกับแนวทางการรักษาใหม่ว่า การรักษาคนติดไวรัสโคโรนาจะแบ่งกลุ่มตามอาการเป็น 4 กรณี คือ 1.ผู้ป่วยไม่มีอาการ แนะนำให้นอนโรงพยาบาลหรือในสถานที่รัฐจัดให้ 2-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อน พิจารณาให้ไปพักต่อที่โรงพยาบาลเฉพาะหรือฮอสพิเทลหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วย หลังจากนั้นให้พักฟื้น และสวมหน้ากาอนามัย ระมัดระวังสุขอนามัยจนครบ 1 เดือนนับจากวันที่เริ่มป่วย โดยให้ดูแลรักษาตามอาการ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายเองได้ รวมทั้งอาจได้รัยผลข้างเคียงจากยา

158642277730
2.ผู้ป่วยภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ แนะนำให้นอนโรงพยาบาล 2-7 วัน ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ยา 2 ชนิด นาน 5 วัน คือ ยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับ ยาต้านไวรัสเอชไอวี เมื่ออาการดีขึ้นและผลถ่ายภาพรังสีปอดยังคงปกติ พิจารณาพิจารณาให้ไปพักต่อที่โรงพยาบาลเฉพาะหรือฮอสพิเทลหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วย หลังจากนั้นให้พักฟื้น และสวมหน้ากาอนามัย ระมัดระวังสุขอนามัยจนครบ 1 เดือนนับจากวันที่เริ่มป่วย

3.ผู้ป่วยภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคปลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม้ได้ ภาวะอ้วน ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร แนะนำให้ใช้ยาอย่างน้อย 2 ชนิด นาน 5 วัน คือยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี และอาจพิจารณาให้ยาชนิดที่ 3 ร่วมด้วย หากภาพถ่ายรังสีปอดแย่ลง ให้พิจารณาเพิ่มฟาร์วิพาราเวียร์เป็นเวลา 5-10วันขึ้นกับอาการ 


และ4.ผู้ป่วยปอดอักเสบ หรือถ้าเอกซเรย์ปอดปกติ แต่มีอาการหรืออาการแสดงเข้าได้กับปอดอักเสบและระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วน้อยกว่า 95 % แนะนำให้ใช้ยาอย่างน้อย 3 ชนิด นาน 10 วัน คือ ฟาวิพิราเวียร์เป็นเวลา 5-10 วันขึ้นกับอาการทางคลินิก ร่วมกับยาต้านมาลาเรีย ร่วมกับ ยาต้านไวรัสเอชไอวี อาจพิจารณาให้ยาชนิดที่ 4 ร่วมด้วย และพิจารณาใช้อุปกรณ์อื่นๆตามความจำเป็น

158642292239


“ผู้ป่วยทุกรายจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล กรณีไม่มีอาการ จะไม่ให้ยาต้านไวรัส แต่จะให้การรักษาตามอาการ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการจะให้ยาต้านมาลาเรียลาต้านไวรัสเอชไอวี ส่วนผู้ที่มีอาการปอดอักเสบ จะให้ยาต้านมาลาเรีย ยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาฟาวิพืราเวียร์ทุกรายไม่ว่าจะปอดอักเสบมากหรือน้อย เชื่อว่าจะช่วยลดผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงได้ดีขึ้น”นายแพทย์สมศักดิ์กล่าว 

การรักษาโควิด-19ในผู้ป่วยเด็ก แยกเป็น 3 กลุ่ม นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า ไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยแบ่งเป็นกลุ่มมีอาการน้อย ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่มีโรคร่วมสำคัญ และภาพถ่านรังสีปอดปกติ กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง โรคร่วมสำคัญ โดยปัจจัยเสี่ยงคืออายุน้อยกว่า 5 ปี และภาวะอื่นๆเหมือนเกณฑ์ในผู้ใหญ่ และกลุ่มมีปอดอักเสบหรือผู้ป่วยมีอการหรืออาการแสดง เข้าได้กับปอดบวมโดยไม่พบรอยโรคแต่มีระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95 % 

“อยากขอให้ประชาชนช่วยให้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เพราะจะช่วยให้ได้รับการรักษารวดเร็ว บางกรณีที่ผู้ป่วยไม่บอกข้อมูลทั้งหมด ทำให้แพทย์ไม่ได้สงสัย เมื่อมาตรวจพบภายหลัง ทำให้เสียโอกาสทั้งตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ด้วย”นายแพทย์สมศักดิ์กล่าว

158648204413

การพิจารณาให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เมื่อมีเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นและผลถ่ายภาพรังสีปอดไม่แย่ลง อุณหภูมิไม่เกิน 37.8 องศาเซลเซียส ต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง มีอัตราการหายใจไม่เกิน 20ครั้งต่อนาที และมีค่าออกซิเจนที่ปลายนิ้ว 95%ขึ้นไปขณะพัก พิจารณาให้ไปพักต่อที่โรงพยาบาลเฉพาะหรือฮอสพิเทลหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วย โดยให้สวมหน้ากากอนามัย และออกจากโรงพยาบาลได้ โดยไม่ต้องเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งซ้ำก่อนให้ออกจากโรงพยาบาล


ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษานั้น หากเป็นการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินเป็นการใช้สิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพภาครัฐของผู้ป่วย ส่วนการรับบริการในโรงพยาบาลเอกชน หากผู้ป่วยมีประกันสุขภาพส่วนบุคคลที่ทำกับภาคเอกชนให้ใช้สิทธิ์นั้นก่อน กรณีไม่มีประกันสุขภาพเอกชน ให้ใช้ตามสิทธิ์ประกันสุขภาพภาครัฐของแต่ละบุคคล

      อย่างไรก็ตาม ในการให้บริการของโรงพยาบาลท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 จำเป็นต้องมีการปรับเนื่องจากในภาวะปกติจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก โดยเฉพาะเป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคเรื้อรังประจำตัวจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับเชื้อ จึงมีการออกแนวทางในการลดความแออัดในโรงพยาบาล เพื่อลดการแพร่และรับเชื้อก่อโรคโควิด-19 นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า ในกลุ่มผู้ป่วยอาการดี จะมีการส่งยาทางไปรษณีย์ หรือรับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้าน หรือเลื่อนนัดออกไป เช่น นัด 1 เดือน เป็นนัด2-3 เดือน เป็นต้น และให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์  กลุ่มคุมได้ไม่ค่อยดี มีการเทเลคอนเฟอร์เรนซ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ เช่น ไลน์ คอล หรือนัดตรวจตามปกติแต่เป็นในช่วงที่ผู้ใช้บริการไม่มากนัก และกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถรับบริการได้ตามปกติ