เปิดแผน 4 ระดับ สำรองเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19

เปิดแผน 4 ระดับ สำรองเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19

เปิดแผนเตรียมพร้อมเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 สธ.มั่นใจสำรองเพียงพอกทม-ต่างจังหวัด พื้นที่กทม.เปิดเตียงรองรับแล้ว 200 เตียง อนาคตหากผู้ป่วยมากขึ้นเตรียมเปิดกึ่งๆ โรงพยาบาลสนาม โดยใช้โรงพยาบาลประมาณ 5-6 แห่ง

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 17 มีนาคม 2563 ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การเตรียมพร้อมสถานพยาบาลรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในส่วนของการรองรับผู้ป่วยพื้นที่กทม. กระทรวงได้ร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดกทม. โรงเรียนแพทย์ต่างๆ สถาบันบำราศนราดูร ซึ่งมีปริมาณเตียงรองรับประมาณ 200 เตียง ประกอบด้วยห้องแยกโรคความดันลบ ห้องความดันลบประยุกต์ และห้องแยก ยังสามารถรองรับคนไข้ได้อยู่ ขณะเดียวกันเตรียมเปิดกึ่งๆ โรงพยาบาลสนาม โดยใช้โรงพยาบาลประมาณ 5-6 แห่ง

อาทิ 1.โรงพยาบาลบางขุนเทียน ซึ่งเปิดได้ทันทีประมาณ 30 เตียง มีบุคลากรพร้อม แต่หากเปิดเต็มศักยภาพ 200 เตียง ก็ต้องหาเจ้าหน้าที่ไปเพิ่ม


2.โรงพยาบาลศรีธัญญา ประมาณ 200 เตียง 3.โรงพยาบาลทหารอากาศทุ่งสีกัน ระยะแรก อาจจะรับ 20-30 เตียง แต่อาจจะเพิ่มได้ประมาณ 150 เตียง 4. โรงพยาบาลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ ผู้ป่วยไปแล้วประมาณ 10 กว่าเตียง แต่มีโครงการเพิ่มเตียงได้ 5.ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ศาลายา และโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ เป็นโรงพยาบาลว่างมีเตียงรองรับ และโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ที่ยกให้ทั้งตึกประมาณ 100 เตียง พร้อมแพทย์ พยาบาลโรคติดเชื้อมาร่วมดูแล ดังนั้น ตอนนี้เตียในงสถานพยาบาลมีการเตรียมการรองรับไว้กว่า 1 พันเตียง แต่ไม่ได้จะเปิดทีเดียวทั้งหมด อยู่ที่ว่ามีจำนวนคนไข้มากน้อยแค่ไหน
158443073967


นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการเสริม หากคนไข้มีจำนวนมากราววันละ 400-500 ราย ซึ่งวคนไข้ส่วนใหญ่ประมาณ 80% อาการไม่รุนแรง แต่ยังมีผลเชื้อเป็นบวกอยู่ ซึ่งบางคนอาจอยู่นานถึง 20 วัน แต่อาการไม่จำเป็นต้องรับการรักษาอยู่โรงพยาบาล ได้มีการหารือร่วมกัน โดยจะให้ผู้ป่วยทุกรายนอนสังเกตอาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 วัน หากทีมแพทย์ประเมินอาการแล้ว พบว่าอาการดีขึ้น ไม่เลวลง และไม่มีไข้ ไม่มีปอดบวม ก็จะให้พักฟื้นในหอพักหรือโรงแรมทั้งตึก เพื่อจะได้เตรียมเตียงในโรงพยาบาลไว้รองรับคนไข้ใหม่ เหล่านี้คือแผนสำรอง ยังไม่ได้ดำเนินการ

ตอนนี้ที่ประมาณการผู้ป่วยอาการหนัก ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนั้น เพียงพอ ตอนนี้กำลังทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ว่าหากคนไข้อยู่ในระยะที่มากจริงๆ ต้องการใช้เท่าไหร่ แต่ตอนนี้ไปอีก 1-3 เดือนคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะคนไข้ที่ต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 5% ของผู้ติดเชื้อ และหากสถานการณ์ในกรุงเทพหนักก็จะมีการระดมแพทย์ พยาบาลในต่างจังหวัดทั้งในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสังกัดกรมการแพทย์เข้ามาช่วย แต่ที่ทำแล้วคือการประสานแพทย์ พยาบาลที่เกษียณอายุแล้วให้มาช่วยเหลือ โดยในส่วนที่มาช่วยดูวอร์ดโคโรนา หรือคนไข้ที่ย้ายไปยังโรงแรม ซึ่งอาการไม่หนักนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์โรคติดเชื้อ แต่หากเป็นคนไข้หนักต้องการหมอเฉพาะทาง” นายแพทย์สมศักดิ์กล่าว


นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการรับมือในต่างจังหวัด ก็เตรียมแบบเดียวกับที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีการทำตามแผนเป็นระยะๆ ก่อนหน้านี้ได้เริ่มลดจำนวนผู้ป่วยที่จะมาโรงพยาบาล โดยการให้ยากลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปรับประทานนานขึ้น เช่น จากเคยให้ยา 1 เดือน ก็ให้ไป 3 เดือน และทำคลินิกไข้หวัด แยกออกจากคนไข้กลุ่มอื่น ทำการสำรวจห้องแยกโรค และให้เตรียมเปิดอาคารดูแลคนไข้โควิด-19 ซึ่งทั้ง 12 เขตสุขภาพสำรวจแล้วพบว่ามีเตียงกว่า 5,000 เตียงทั่วประเทศ