'วิชัย' แจงอนุญาตส่งออกหน้ากาก 1.03 ล้านชิ้น เหตุใช้ในประเทศไม่ได้

'วิชัย' แจงอนุญาตส่งออกหน้ากาก 1.03 ล้านชิ้น เหตุใช้ในประเทศไม่ได้

อธิบดีกรมการค้าภายใน ชี้แจงกรณีอนุญาตบริษัทเอ็มเนอรัลด์ฯ ส่งออกหน้ากาก มี.ค. 1.03 ล้านชิ้น เหตุเป็นหน้ากากทางการแพทย์และใช้ในประเทศไม่ได้ เพราะได้รับสิทธิบีโอไอให้ตั้งโรงงานผลิตเพื่อส่งออก ยืนยันไม่อนุญาตให้หน้ากากที่ใช้ในประเทศส่งออก

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงกรณีการอนุญาตให้บริษัทเอ็มเนอรัลด์ นอนวูเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ส่งออกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จำนวน 1,035,200 ชิ้นหรือ 6,232 ตัน โดยอนุญาตเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2563 โดยโรงงานดังกล่าวได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งตั้งโรงงารผบิตหน้ากากเพื่อการส่งออก ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ในประเทศได้ อีกทั้งยังเป็นหน้าการเพื่อการแพทย์ โดยโรงงานดังกล่าวมาขออนุญาตส่งออก ดังนั้นกรมในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) จึงอนุญาตให้ส่งออก เพราะไม่สามารถปฏิเสธได้ ซึ่งเป็นรอบการส่งออกของเดือนมี.ค. เพิ่มเติมจากเดือนก.พ.ที่อนุญาตให้ส่งออกรวม 12.7 ล้านชิ้น

ทั้งนี้ กรมขอยืนยันว่าไม่ได้มีการอนุมัติให้มีการส่งออกหน้ากากอนามัยที่ใช้ในประเทศอย่างแน่นอน โดยขณะนี้มีกำลังการผลิตจาก 11 โรงงาน รวม 1.2-1.3 ล้านชิ้น เพื่อนำมากระจายในประเทศให้มีใช้เพียงพอ ส่วนหน้ากากอนามัยที่ได้รับอนุญาตส่งออก ซึ่งได้รับการผ่อนผันจะมีเงื่อนไขพิเศษ หรือชนิดที่ไม่ได้ใช้ในประเทศไทยเช่น เช่น หน้ากากที่ใช้ทางการแพทย์เฉพาะทาง หน้ากากที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหน้ากากที่สวมคลุมทั้งหัว รวมถึงหน้ากากที่ติดปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่ไทยเป็นผู้รับจ้างผลิต เป็นต้น

ส่วนบริษัทเอ็มเนอรัลด์ นอนวูเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ได้รับการส่วออกในเดือนมี.ค. ก่อนหน้านี้ก็ได้รับอนุญาตส่งออกช่วงเดือนก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 12.7 ล้านชิ้น โดยมีโรงงานที่ผลิตหน้ากากเพื่อการส่งออกได้รับสิทธิจากบีโอไอทั้งหมด 3 โรงงานที่ตั้งอยู่ในไทย

“ผมไม่อยากให้นำประเด็นดังกล่าวมาโจมตีทางการเมือง ซึ่งยืนยันว่าจะดูแลและกรจายหน้ากากไม่ให้ในประเทศกระทบ ดังนั้นตามที่มีการเผยแพร่ภาพใบอนุญาตให้ส่งออกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในสื่อโซเชียลมีเดียนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขการส่งออกที่กำหนด ซึ่งการที่จะระงับการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าว ไม่มีเหตุผลที่จะนำมาอ้างต่อผู้ขอส่งออก และอาจจะต้องรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้น และขอยืนยันว่าไม่อนุญาตให้ส่งออกหน้ากากอนามัยที่ใช้ในประเทศอย่างแน่นอน”