คุยกับ ‘CEO 5lab’ ผู้พัฒนา ‘Covidtracker’ แอพติดตามสถานการณ์ไวรัส ‘COVID-19’ ในไทย

คุยกับ ‘CEO 5lab’ ผู้พัฒนา ‘Covidtracker’ แอพติดตามสถานการณ์ไวรัส ‘COVID-19’ ในไทย

จากความตื่นรู้ของคนกลุ่มเล็ก สู่แอพติดตามสถานการณ์ไวรัส “Covidtracker” ที่ใช้เวลาพัฒนาเพียงคืนเดียว ใช้ฐานข้อมูลเช็กความปลอดภัยรอบตัว และถูกแชร์ในโซเชียลอย่างรวดเร็ว

หลังจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส “COVID-19” ที่ยังเป็นวาระสำคัญไปทั่้วโลก ก็ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนโดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองที่แออัด ส่งผลให้มีการสร้างฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการระบาดเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “Covidtracker” เว็บไซต์แอพพลิเคชันที่คอยรายงานข่าวสารที่ตรวจสอบแล้วเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าในประเทศไทย นำเสนอข้อมูลตามจุดเกิดเหตุบนแผนที่

“นิธิ ประสานพานิช” CEO บริษัท 5lab บริษัทที่พัฒนาเว็บไซต์แอพ Covidtracker ให้สัมภาษณ์ว่า เดิมทีไอเดียนี้เกิดขึ้นมาจากการพูดคุยกันในกลุ่มพนักงาน เกี่ยวกับความหวาดระแวงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์การระบาดของเชื้อ “โควิด-19”  จึงทำให้พัฒนาฐานข้อมูลเล็กๆ เพื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับข่าวการระบาด โดยช่วงนี้ยังถือว่าเป็นช่วงแรกของการพัฒนา และกำลังอยู่ในช่วงปรึกษากับทีมว่าจะเพิ่มหรือขยายความสามารถของเว็บไซต์ออกไปอย่างไร

นิธิเล่าว่า แอพพลิเคชันนี้ถูกทำมาเพื่อให้เป็นเหมือน Location base data มากกว่า Big Data  เพราะ Big Data จะต้องมีข้อมูลจำนวนมาก มีการเก็บสถิติเป็นหลายหมื่น หลายพันล้านข้อมูล ซึ่ง Covidtracker ยังถือว่าเป็นข้อมูลในระดับพันแอละระดับร้อย ซึ่งจัคล้ายคลึงกับ Location base data มากกว่า เพราะเป็นข้อมูลที่อิงกับสถานที่ ณ จุดจุดที่ต้องการ ซึ่งต้องการจะนำเสนอข้อมูลที่อิงกับสถานการณ์ปัจจุบันขณะนั้นให้คนรอบๆ ตัวทราบว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในส่วนของแอพพลิเคชั่นนี้ก็คือการยืนยันข่าวจริง การพิสูจน์หลักฐานของข่าวที่ได้รับการยืนยันจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว

 โดย Big Data ก็คือการดึงข้อมูลเป็นและเก็บสถิติเป็นล้านๆ ชิ้นจากผู้ใช้โดยใชโปรแกรม แต่ในขณะนี้ Covidtracker ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลหลักร้อย และรวบรวม-ตรวจสอบกันทีละชิ้นโดยพนักงานบริษัท ซึ่งต่างจาก Big Data ที่ต้องมาจากภาครัฐเปิดเผยข้อมูลและใช้คนเข้าไปเขียนโปรแกรม ซึ่งจำนวนข้อมูลจากข่าวที่มีจำนวนน้อยกับฐานข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยโดยรัฐบาล จึงทำให้บริษัทเลือกใช้วิธีการเก็บและตรวจเช็คข้อมูลตามแบบ “ทำมือ” ไปก่อน

เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลจากข่าว สร้างเป็นฐานข้อมูลเล็กๆ จากไอเดียของพนักงานในบริษัท ที่แต่เดิมแล้วเป็นบริษัทให้บริการซอฟต์แวร์ให้ลูกค้า เขียนโปรแกรมทั่วๆ ไป แต่เมื่อมีการประชุม งานนี้ก็เลยพัฒนาขึ้นมาจากผลกระทบในชีวิตที่เกิดขึ้น เพราะการระบาดของไวรัสที่ยังไม่มีตัวเก็บข้อมูลหรือการแถลงผลที่ถูกต้องชัดเจน จึงทำให้ทีมตัดสินใจสร้างเว็บไซต์แอพพลิเคชั่นขึ้นมา นิธิเล่าว่าเพราะมันเร็วมากและยังเป็นระยะตั้งต้น จึงยังไม่ได้แม้แต่จะคาดหวังผลสำเร็จ แต่เมื่อไฟติดเร็วมาก จึงทำให้ทีมต้องเร่งประชุมปรึกษา ว่าจะพัฒนาอย่างไรต่อ 

ในขณะที่ Data ที่ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ มีความสำคัญกับชีวิตคนในปัจจุบัน มันส่งผลดีกับการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลของคนจำนวนมาก เพราะการมีข้อมูลและหลักฐาน จะทำให้คนไม่ตัดสินเรื่องต่างๆ ด้วยอารมณ์หรือการคาดคะเน ลดแรงเสียดทานของการเดาสุ่มและความผิดพลาด 


“ข้อมูลของรัฐบาลมันก็จะถูกได้รับการเข้าถึงได้ทั่วถึงมากกว่านี้ มากกว่าการแค่ออกมาแถลงทั่วๆ ไป มันต้องการเชื่อมข้อมูลที่ออกมาโดยการใช้โปรแกรม การแถลงข่าวด้วยปากมันเข้าถึงได้ยาก เพราะว่าทุกวันนี้ โลกอัพเดตด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นทุกการอัพเดตมันควรทำเป็นข้อมูลแบบเปิด เป็นชุดเดียวกัน ควรจะจัดเก็บในรูปแบบที่เป็นระบบ แล้วก็สามารถเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อได้”  - นิธิ ประสานพานิช

และด้วยความที่ยังจัดทำเว็บไซต์แอพพลิเคชั่นขึ้นมาได้ไม่ถึง 24 ชั่วโมง ซีอีโอของ Covidtracker จึงยังไม่ได้คาดหวังผลหรือการประสบความสำเร็จ แต่เขากลับคิดว่าภาครัฐควรที่จะมีข้อมูลเปิดเผยออกมาให้มากขึ้น และควรเตรียมตัวรับมือกับการระบาดให้รัดกุมมากกว่าที่เป็นอยู่ เขามองว่าอาจทำได้ด้วยด้วยวิธีการเปิดเผยข้อมูลเป็นลักษณะไฟล์ที่สามารถดึงออกมาได้แทนการแถลงข่าวด้วยกระดาษหรือตาราง Excel เพราะจะสะดวกต่อโปรแกรมเมอร์ที่จะเข้าไปดึงข้อมูลออกมาเผยแพร่ เรียกว่า Programmer friendly หรือ developer friendly

โดยคำว่า Developer friendly คือ การที่เจ้าของข้อมูลต่างๆ ทำหน้าที่ปรับรูปแบบของการเข้าถึงนั้นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยการเข้าถึงข้อมูลนั้นมีความสำคัญมาก และการทำข้อมูลให้เป็น Developer friendly ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในโลกยุคใหม่

นอกจากนี้ CEO ของผู้จัดทำเว็บไซต์แอพ Covidtracker ยังกล่าวอีกว่า ในช่วงนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเพิ่มเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้รองรับการใช้งานจากผู้ใช้ที่เริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้การเข้าใช้อาจประสบปัญหาเว็บล่มหรือเข้าใช้งานไม่ได้บ้าง แต่ถ้าแก้ไขเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถใช้งานได้ปกติ โดยการเพิ่มเซิร์ฟเวอร์จะขยายเพิ่มขึ้นในช่วงเย็นของวันนี้เป็นต้นไป 

  • เครื่องหมายในเว็บไซต์

เมื่อเราเปิดเว็บไซต์ covidtracker.5lab.co เข้าไปเราจะพบเครื่องหมายต่าง ตามชื่อสถานที่ โดยแบ่งออกเป็น 9 สัญลักษณ์ ประกอบไปด้วย

158416405083

  • Hospitalized จุดสีแดง หมายถึง ตรวจสอบแล้วพบว่ามีผู้ติดเชื้อจริง และสถานะรักษาอยู่ในโรงพยาบาล พร้อมระบุว่าเป็นเคสที่เท่าไหร่ที่พบ
  • Suspected จุดสีเหลือง สถานะคือ พื้นที่ที่ต้องสงสัยว่ามีผู้ติดเชื้อ และรอการตรวจสอบ
  • Recovered สัญลักษณ์คนสีเขียว สถานะคือ บุคคลที่หายจากการติดเชื้อแล้ว
  • Unknown สัญลักษณ์คนสีเทา สถานะคือ ยังไม่มีข้อมูลปรากฏที่แน่ชัด
  • Decreased สัญลักษณ์คนสีดำ สถานะคือ ผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตแล้ว
  • Fake news แสดงสถานะข่าวปลอม ในกรณีที่พื้นที่นั้น แจ้งว่ามีผู้ติดเชื้อ แต่ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เป็นความจริง
  • Transferred แสดงสถานะว่า กำลังอยู่ในการโอนย้ายผู้ติดเชื้อ
  • Area (Unspecified Location) แสดงพื้นที่โดยกว้าง ไม่ได้ระบุเจาะจง
  • Sanitized✨แสดงพื้นที่ปราศจากเชื้อโรค

158416410068