ฮาวทูทิ้ง ‘หน้ากากอนามัย’ ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นภาระ

ฮาวทูทิ้ง ‘หน้ากากอนามัย’ ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นภาระ

เรียนรู้ฮาวทูทิ้ง "หน้ากากอนามัย" เมื่อใช้แล้วจะต้องเก็บทิ้งอย่างไร เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อใหม่ในกองขยะ

ในสภาวะที่เกิดโรคระบาด และมีการแพร่กระจายออกเป็นวงกว้าง หรือสถานการณ์ที่กระทบต่อสุขภาพของคน เช่น ปัญหาฝุ่นละออง หรือหมอกควันจากการลักลอบเผาป่า เป็นต้น ทำให้ความต้องการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ในแต่ละวันมีขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจำนวนมาก

แต่สิ่งสำคัญ คือ เราจะทิ้งขยะเหล่านี้อย่างไรให้ถูกต้อง และไม่กลายเป็นต้นตอใหม่ของการแพร่กระจายเชื้อโรคกรุงเทพธรุกิจออนไลน์จึงได้รวบรวมฮาวทูทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของประเทศ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสะสมและเป็นต้นตอของการแพร่เชื้อ เนื่องจากขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัย ถือเป็นขยะติดเชื้อ 

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดนิยามมูลฝอยติดเชื้อ ว่าคือ มูลฝอยที่สงสัยว่าปนเปื้อนสิ่งที่ก่อให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา ที่มีความเข้มข้นหรือปริมาณเพียงพอที่สาเหตุให้เกิดโรคได้ ซึ่งรวมถึงสิ่งของที่ปนเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกาย ที่ปนเปื้อนเสื้อผ้า ผ้าพันแผล ฟองน้ำ ถุงมือ ผ้าปิดปาก เสื้อคุม ผ้าม่าน และของใช้อื่นๆ ซึ่งจะต้องมีการกำจัดเป็นกรณีพิเศษ

158382470679

ในส่วนของผู้ใช้อย่างเรา จึงควรรู้วิธีการทิ้งที่ถูกต้อง โดยข้อมูลจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ได้อธิบาย "วิธีการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง" ไว้ 6 ขั้นตอน ดังนี้

1.ถอดหน้ากากออก โดยไม่สัมผัสด้านในของหน้ากาก

2.พับหน้ากาก เก็บให้ส่วนที่สัมผัสร่างกายอยู่ด้านใน

3.ม้วนสายรัดหรือสายที่คล้องหู แล้วพันโดยรอบหน้ากาก

4.ใส่ถุงและมัดปากถุงให้แน่น

5.ทิ้งลงถังขยะที่แยกจากขยะทั่วไป

6.ควรล้างมือให้สะอาด

การกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว หากเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้ทิ้งในถังขยะติดเชื้อที่มีสัญลักษณ์ และอีกส่วนหนึ่งคือประชาชนทั่วไป ให้ทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด ที่สำคัญต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง

เช่นเดียวกัน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากรอธิบดีกรมอนามัย ได้แนะขั้นตอนในการกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว หากเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้ทิ้งในถังขยะติดเชื้อที่มีสัญลักษณ์ และอีกส่วนหนึ่งคือประชาชนทั่วไป ให้ทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด ที่สำคัญต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง

รวมถึงแนะวิธีการล้างมือที่ถูกต้องให้ 7 ขั้นตอน คือ 1.ฝ่ามือถูกัน 2.ฝ่ามือถูหลังมือ และนิ้วถูซอกนิ้ว 3.ฝ่ามือถูฝ่ามือและถูกซอกนิ้ว 4.หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ 5.ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ 6.ปลายนิ้วมือถูฝ่ามือ และ 7.ถูรอบข้อมือ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทั้งนี้หากใครที่ไม่สะดวกล้างมือ ก็สามารถใช้เจลล้างมือแทนได้

และยิ่งในช่วงวิกฤติไวรัสโคโรน่านี้ การป้องกันตัวเองเบื้องต้นที่หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ คือ การสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกจากบ้าน ไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน และไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ หรือควรใช้เพียงวันต่อวันเท่านั้น ทำให้แต่ละวันเราผลิตขยะติดเชื้อเหล่านั้นกันอย่างต่ำคนละ 1 ชิ้น แน่นอนว่าเมื่อรวมจำนวนผู้สวมใส่หน้ากากอนามัย ทำให้ทั่วโลกมีขยะนี้มากขึ้น รวมถึงประเทศไทยด้วย

สะท้อนจากช่วงที่ผ่านมา OceansAsia ได้รายผลสำรวจปัญหาขยะทะเลและไมโครพลาสติก บริเวณหมู่เกาะโซโค ฮ่องกง เนื่องจากพบว่ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และน่ากังวลว่าจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล

ด้านวราวุธ ศิลปอาชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ออกมาย้ำให้ประชาชนทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ในที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อป้องกันปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทั้งรูปแบบทั่วไป และแบบ N95 มีองค์ประกอบที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายบาก เช่น ผ้า คาร์บอน รวมถึง พอลิโพรไพลีน โดยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ในไทยเอง ก็มีกฎหมายในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ประกาศใช้อยู่แล้ว คือ กฎกระทรวง ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ .​.2545 มีการนิยามความหมาย การอธิบายวิธีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ มีข้อกำหนดการขนมูลฝอยติดเชื้อ รวมถึงมีการระบุถึงการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อว่ามีอยู่ 4 วิธี คือ เผาในเตาเผา ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ ทำลายเชื้อด้วยความร้อน และวิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

แน่นอนว่าไทยเรามีตัวบทกฎหมายที่ครอบคลุมตั้งแต่นิยามไปจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้อง แต่สิ่งสำคัญคือ ประชาชนทั่วไปที่จะต้องเรียนรู้วิธีการทิ้งขยะติดเชื้อเหล่านี้ให้เหมาะสมด้วย เพราะถือเป็นต้นทางของการก่อเกิดขยะ และเป็นส่วนหนึ่งในการหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโรค

ที่มา : bangkokbiznewsoicprbangkokskko