จากกรณี ‘ไวรัสโคโรน่า’ ย้อนรอย ‘ซาร์ส’ จีนรับมืออย่างไร

จากกรณี ‘ไวรัสโคโรน่า’ ย้อนรอย ‘ซาร์ส’ จีนรับมืออย่างไร

ส่องมาตรการจีนในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ที่สื่อหลายสำนักรายงานมีความคล้ายคลึงกับช่วงที่เกิดการระบาดของโรคซาร์สในอดีต มาดูกันว่ามาตรการเหล่านั้นจะมีอะไรบ้าง และเข้มงวดมากแค่ไหน

หลายสื่อในต่างประเทศรายงานออกมาว่า บรรดาบริษัทด้านธุรกรรมการเงินของประเทศจีนออกมาตรการและกลยุทธ์ในการรับมือไวรัสโคโรน่า ด้วยแนวทางคล้ายกันกับช่วงที่เคยมีการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือที่เรียกกันว่า “โรคซาร์ส” ที่เคยระบาดร้ายแรงเมื่อกว่า 20 ปีก่อนมาแล้ว 

อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายโรงงานและหลายบริษัทที่ยังไม่พร้อมเปิดให้บริการอยู่ดี ประเด็นสำคัญที่น่าจับตามองคือ สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลกระทบมาถึงผู้นำเข้าสินค้าในไทยด้วย จากการปิดตัวของโรงงานจีน รวมถึงหลายแบรนด์ในโลกตะวันตกก็ต้องปิดสาขาและร้านของตนไปชั่วคราวหลังวิกฤติไวรัสโคโรน่า กล่าวได้ว่า เวลานี้ภาคธุรกิจของจีนเสียหายอย่างหนัก ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไทยเองก็เช่นกัน

ส่วนมาตรการอื่นๆ ที่เคยมีการนำมาใช้ในอดีต เช่น การออกเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรค หากมีความจำเป็นต้องเดินทาง ให้ใช้การประชุมวีดิโอทางไกลแทน ในขณะที่ความจำเป็นระดับสูงที่ต้องเดินทางไปนั้น ต้องขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อกลับมาแล้วต้องยอมรับมาตรการสำหรับใช้กับผู้เดินทางกลับมาด้วย

นอกจากนั้น พนักงานของบริษัทที่ออกเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงแล้วมีอาการไข้หวัดบางอย่างต้องรีบไปตรวจอาการทันที และคอยเฝ้าดูอาการในระยะฟักเชื้อ (กรณีตอนซาร์ส อย่างน้อย 7-10 วันในการเฝ้าดูอาการ มีการให้ความรู้ต่อพนักงาน ทั้งความเข้าใจที่ถูกต้อง การปลูกฝังแนวคิดการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือทำความสะอาด การจัดเตรียมแอลกอฮอล์ทำความสะอาดตามจุดต่างๆ จัดเตรียมการคัดกรอง เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิตรงทางเดินเข้าสำนักงาน

ทั้งหมดนี้ มีความจำเป็นต้องนำกลับมาใช้ และน่าจะเข้มข้นกว่าเดิมครับ แต่หากมีความรู้ความเข้าใจที่มากพอเราก็จะไม่ต้องกลัวการติดเชื้อ เพราะมันก็ไม่ได้ติดง่ายขนาดนั้น ขอเพียงหมั่นรักษาสุขภาพ และระวังการเข้าในพื้นที่เสี่ยง หรือถ้าจำเป็นก็ต้องมีเครื่องป้องกัน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือ กระแสเหยียดคนจีน ที่เริ่มมีขึ้นแล้วในทวีปยุโรป ซึ่งมันกระทบไปถึงคนชาติอื่นด้วยที่มีลักษณะคล้ายคนจีน เช่นคนไทย ก็เพิ่งถูกคนอังกฤษในลอนดอนทำร้ายไปก่อนหน้านี้ จากกระแสความกลัวไวรัสโคโรน่าในจีนที่ลุกลามไปทั่วโลก

สุดท้ายแล้ว ถ้าเราสามารถเข้าใจและรับมือได้เหมาะสม ก็อาจจะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดจีนได้ประคองตัว รวมถึงเตรียมวางแผนสำหรับช่วง Rebound ที่คาดว่าจะมาหลังจากเดือนมีนาคมเป็นต้นไปครับ